WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BOIดวงใจ อศวจนตจตรBOI เผย ยอดขอลงทุนปี 60 กว่า 640,000 ล้านบาท เล็งดึงดูดการลงทุนเพิ่ม ทั้งอุตฯ เป้าหมาย อีอีซี

      บีโอไอ เผยยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนปี 2560 เกินเป้าหมาย โดยมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 641,978 ล้านบาท เป็นการลงทุนของกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (เอสเคิร์ฟ) 392,000 ล้านบาท และมีการขอลงทุนในพื้นทีอีอีซีเกือบ 300,000 ล้านบาท สำหรับปี 2561 เน้นชักจูงการลงทุนจากประเทศเป้าหมาย และโรดโชว์ดึงลงทุนใน อีอีซี พร้อมจัดสัมมนาใหญ่

      นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยภายหลังการเดินทางมาตรวจเยี่ยมการทำงานและมอบนโยบาย โดยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อติดตามและประเมินสถานการณ์การลงทุนในปีที่ผ่านมา และแผนการดำเนินงานในปีนี้ ว่า บีโอไอได้รายงานภาวะการลงทุนในปีที่ผ่านมาโดยยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 600,000 ล้านบาท โดยมีโครงการยื่นขอรับส่งเสริมจำนวน 1,456 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 641,978 ล้านบาท ซึ่งเป็นการยื่นขอลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี จำนวน 388 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 296,889 ล้านบาท

       ทั้งนี้ มูลค่าเงินลงทุนทั้งหมด 641,978 ล้านบาท เป็นการยื่นขอรับส่งเสริมของ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (เอสเคิร์ฟ) เป็นมูลค่า 392,141 ล้านบาท แบ่งเป็น 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายเดิม (เฟิร์ส เอสเคิร์ฟ) 241,055 ล้านบาท และ 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (นิว เอสเคิร์ฟ) 151,087 ล้านบาท

       พร้อมกันนี้ บีโอไอยังได้เตรียมนำเสนอแผนการส่งเสริมการลงทุนในปี 2561 ซึ่งจะเน้นการสานต่อนโยบายด้านเศรษฐกิจ "ประเทศไทย 4.0" และผลักดันให้เกิดการลงทุนในพื้นที่อีอีซี

         นางสาวดวงใจ กล่าวว่า บีโอไอยังคงมีแผนเดินสายชักจูงการลงทุนจากต่างประเทศ (โรดโชว์) และได้กำหนดประเทศเป้าหมาย อาทิ ญี่ปุ่น จีน และฮ่องกง เกาหลีใต้ ยุโรป เป็นต้น เพื่อเผยแพร่นโยบายและรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอและรัฐบาล ประกอบด้วยคณะชักจูงการลงทุนที่นำโดยนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรี รวมจำนวนไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง และคณะชักจูงการลงทุนซึ่งนำโดยผู้บริหารบีโอไอ รวมจำนวนกว่า 30 ครั้ง และในปีนี้บีโอไอจะร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อจัดกิจกรรมชักจูงการลงทุนในพื้นที่อีอีซี อีกไม่น้อยกว่า 15 ครั้ง

      สำหรับ กลุ่มประเทศเป้าหมายในการชักจูงการลงทุน จะเป็นกลุ่มที่มีการลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง โดยสถิติขอรับส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) ในปี 2560 พบว่า อันดับหนึ่งคือ โครงการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น มูลค่า 133,002 ล้านบาท อันดับสองคือ สิงคโปร์ มูลค่า 40,366 ล้านบาท อันดับสาม จีน 27,514 ล้านบาท อันดับสี่ สหรัฐอเมริกา 20,022 ล้านบาท และอันดับห้า เนเธอร์แลนด์ 15,842 ล้านบาท

เตรียมจัดงานใหญ่

      นอกจากนี้ บีโอไอยังได้รายงานถึงความพร้อมในการจัดกิจกรรมสัมมนาใหญ่ต่อยอดจากงาน Opportunity Thailand ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากในปีที่แล้ว โดยมีแผนจัดงานดังกล่าวในช่วงไตรมาสแรก ซึ่งนับเป็นโอกาสอันดีที่รัฐบาลไทยจะได้แสดงให้นักธุรกิจและประชาชนทั่วไปได้เห็นถึงความพร้อมของประเทศในการเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจของภูมิภาค รวมทั้งได้ทราบถึงความคืบหน้าและผลจากการดำเนินงานตามนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จของการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวไปสู่ "ประเทศไทย 4.0"

 

บีโอไอ เผยยอดขอลงทุนปี 60 กว่า 6.4 แสนลบ. เปิดแผนปี 61 ตั้งเป้า 7.2 แสนลบ. เล็งดึงดูดการลงทุนเพิ่ม ทั้งอุตฯ เป้าหมาย – อีอีซี

      บีโอไอ เผยยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนปี 2560 เกินเป้าหมาย โดยมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 641,978 ล้านบาท เป็นการลงทุนของกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (เอสเคิร์ฟ) 392,000 ล้านบาท และมีการขอลงทุนในพื้นทีอีอีซีเกือบ 300,000 ล้านบาท สำหรับปี 2561เน้นชักจูงการลงทุนจากประเทศเป้าหมาย และโรดโชว์ดึงลงทุนใน อีอีซี พร้อมจัดสัมมนาใหญ่ พร้อมตั้งเป้ามีนักลงทุนยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุน มูลค่า 720,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12%

    นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยภายหลังการเดินทางมาตรวจเยี่ยมการทำงานและมอบนโยบาย โดยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อติดตามและประเมินสถานการณ์การลงทุนในปีที่ผ่านมา และแผนการดำเนินงานในปีนี้ ว่า บีโอไอได้รายงานภาวะการลงทุนในปีที่ผ่านมาโดยยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 600,000 ล้านบาท โดยมีโครงการยื่นขอรับส่งเสริมจำนวน 1,456 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 641,978 ล้านบาท ซึ่งเป็นการยื่นขอลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี จำนวน 388 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 296,889 ล้านบาท

      ทั้งนี้ มูลค่าเงินลงทุนทั้งหมด 641,978 ล้านบาท เป็นการยื่นขอรับส่งเสริมของ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (เอสเคิร์ฟ) เป็นมูลค่า 392,141 ล้านบาท แบ่งเป็น 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายเดิม (เฟิร์ส เอสเคิร์ฟ) 241,055 ล้านบาท และ 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (นิว เอสเคิร์ฟ) 151,087 ล้านบาท 

      พร้อมกันนี้ บีโอไอยังได้เตรียมนำเสนอแผนการส่งเสริมการลงทุนในปี 2561 ซึ่งจะเน้นการสานต่อนโยบายด้านเศรษฐกิจ 'ประเทศไทย 4.0' และผลักดันให้เกิดการลงทุนในพื้นที่อีอีซี 

      โดยในปี 2561 บีโอไอ ตั้งเป้าว่าจะมีการยื่นคำขอรับส่งเสริมการลงทุน มูลค่า 720,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% เพราะมูลค่าคำขอโดยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้น 10% ในทุกปี โดยบีโอไอ ได้เตรียมเสนอแผนส่งเสริมการลงทุนที่จะเน้นสานต่อนโยบายด้านเศรษฐกิจ ประเทศไทย 4.0 และผลักดันให้เกิดการลงทุนในอีอีซี รวมถึงมีแผนเดินสายเชิญชวนการลงทุนจากต่างประเทศ เช่นญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ และยุโรป นอกจากนี้ บีโอไอ เตรียมจัดงานสัมมนาใหญ่ ต่อยอดจากงาน Opportunity Thailand ในช่วงไตรมาสแรกของปี เพื่อแสดงให้นักธุรกิจเห็นถึงความพร้อมของไทย ในการเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจของภูมิภาค

      นางสาวดวงใจ กล่าวว่า บีโอไอยังคงมีแผนเดินสายชักจูงการลงทุนจากต่างประเทศ (โรดโชว์) และได้กำหนดประเทศเป้าหมาย อาทิ ญี่ปุ่น  จีน และฮ่องกง  เกาหลีใต้ ยุโรป  เป็นต้น เพื่อเผยแพร่นโยบายและรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอและรัฐบาล ประกอบด้วยคณะชักจูงการลงทุนที่นำโดยนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรี  รวมจำนวนไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง และคณะชักจูงการลงทุนซึ่งนำโดยผู้บริหารบีโอไอ รวมจำนวนกว่า  30 ครั้ง และในปีนี้บีโอไอจะร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อจัดกิจกรรมชักจูงการลงทุนในพื้นที่อีอีซี อีกไม่น้อยกว่า 15 ครั้ง

     สำหรับ กลุ่มประเทศเป้าหมายในการชักจูงการลงทุน จะเป็นกลุ่มที่มีการลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง โดยสถิติขอรับส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) ในปี 2560 พบว่า อันดับหนึ่งคือ โครงการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น มูลค่า 133,002 ล้านบาท อันดับสองคือ สิงคโปร์ มูลค่า 40,366 ล้านบาท อันดับสาม จีน 27,514 ล้านบาท อันดับสี่ สหรัฐอเมริกา 20,022 ล้านบาท และอันดับห้า เนเธอร์แลนด์ 15,842 ล้านบาท

      นอกจากนี้ บีโอไอยังได้รายงานถึงความพร้อมในการจัดกิจกรรมสัมมนาใหญ่ต่อยอดจากงาน Opportunity Thailand ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากในปีที่แล้ว โดยมีแผนจัดงานดังกล่าวในช่วงไตรมาสแรก ซึ่งนับเป็นโอกาสอันดีที่รัฐบาลไทยจะได้แสดงให้นักธุรกิจและประชาชนทั่วไปได้เห็นถึงความพร้อมของประเทศในการเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจของภูมิภาค รวมทั้งได้ทราบถึงความคืบหน้าและผลจากการดำเนินงานตามนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จของการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวไปสู่ “ประเทศไทย 4.0”

     ขณะที่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี  ได้กำชับให้บีโอไอ เน้นน้ำหนักการส่งการลงทุนไปในกลุ่มภาคเกษตรให้มากขึ้น รวมถึงให้ดูการลงทุนภาคบริการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว และที่สำคัญให้ เน้นส่งเสริมการลงทุนในบุคคลากร การศึกษามากขึ้น รวมถึงให้เตรียมความพร้อม หาวิธีดึงดูดนักนักทุนอย่างมีศักยภาพ ผ่านงาน Thailand taking off ที่จะจัดขึ้นประมาณวันที่ 19 มีนาคมนี้ ส่วนแผนการกระชับความร่วมมือในด้านอุตสาหกรรม แบบ local to local ซึ่งจะเริ่มที่ ฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น โดยจะเดินทางไปเยือนในต้นเดือนกุมภาพันธ์ นี้

 สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!