WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gอตตม สาวนายนICT มีคำสั่งทีโอทีทวงหนี้จาก AIS ยันแม้หมดอายุสัมปทานก็ไม่มีผล

   แนวหน้า : นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) เปิดเผยในงานสัมมนา “One Stop Shop On Mobile : ค้าขายบนโซเชี่ลเน็ตเวิร์คอย่างไรให้เป็นเศรษฐี” ว่า จากกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้มีมติให้ บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) เร่งรัดขอชดเชยค่าเสียประโยชน์จากคู่สัญญาสัมปทานใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ คือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือ เอไอเอส จากการที่ศาลฎีกาและ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) พิจารณาแล้วเห็นว่าการการแก้ไขสัญญาสัมปทานของเอไอเอสและทีโอที เมื่อปี 2533 มีผลทำให้ภาครัฐเสียประโยชน์ โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 16 กันยายนที่ผ่านมา ทางกระทรวงไอซีที ได้มีการส่งหนังสือคำสั่งให้แก่ ทีโอที ไปดำเนินการกำกับคู่สัญญาสัมปทานในแนวทางใดแนวทางหนึ่ง พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงานอย่างละเอียดกลับมาให้กระทรวงไอซีทีทุกสัปดาห์ ทั้งนี้แม้สัญญาสัมปทานดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 กันยายนนี้ แต่ตามกระบวนการทางกฎหมายยังสามารถดำเนินการได้ต่อ จะไม่กระทบต่อการเร่งรัดชดเชยจากคู่สัญญาสัมปทานแต่อย่างใด

     “ในการดำเนินการกับคู่สัญญาสัมปทาน ทางบอร์ด และ ฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายกฎหมายของทีโอที ต้องไปดูเองว่าจะดำเนินการในแนวทางใด เช่น จะเจรจากัน จะฟ้องศาล หรือถ้าให้ชดเชยความเสียหายทีโอทีต้องไปพิจารณาเองว่าเป็นจำนวนเท่าใด แต่ต้องดำเนินการให้เร็วที่สุด ซึ่งสิทธิ์ขาดทั้งหมดจะเป็นของทีโอที แต่ก็ต้องมีการเสนอแนวทางดำเนินการเป็นวาระแจ้งเพื่อทราบไปยัง ครม. ด้วยเช่นกัน”นายอุตตม กล่าว

    ส่วนกรณีที่ได้มีการหารือกับ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กันยายนที่ผ่านมาว่า ได้มีความเห็นร่วมกันว่า หลังจากนี้จะเตรียมออกคำสั่งให้ ทีโอที และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) นำเสนอแผนฟื้นฟูองค์กรมายังกระทรวงไอซีที ก่อนส่งต่อให้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.) ซึ่งในส่วนของทีโอทียึดหลักการว่าว่าไม่มีคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ให้ใช้งาน หลังจากนี้จะมีแนวทางหารายได้หลักให้แก่องค์กรจากธุรกิจอื่น หรือทรัพย์สินอื่นมีอยู่อย่างไร ขณะที่ กสท. อาจต้องเน้นในเรื่องความคืบหน้าในการตั้งบริษัทร่วมทุน ในการให้บริการเสาโทรคมมนาคม ร่วมกับ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด(มหาชน) หรือดีแทค เป็นหลัก

ICT สั่ง TOT เร่งมาตรการชดเชย หลังภาครัฐเสียเปรียบเอไอเอส

     แนวหน้า : นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) เปิดเผยในงานสัมมนา "One Stop Shop On Mobile : ค้าขายบนโซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างไรให้เป็นเศรษฐี" ว่า จากกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติให้ บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) เร่งรัดขอชดเชยค่าเสียประโยชน์จากคู่สัญญาสัมปทานใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ คือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือ เอไอเอส จากการที่ศาลฎีกาและ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พิจารณาแล้วเห็นว่า การแก้ไขสัญญาสัมปทานของเอไอเอส และทีโอที เมื่อปี 2533 มีผลทำให้ภาครัฐเสียประโยชน์

   โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 16 ก.ย.58 ที่ผ่านมา ทางกระทรวงไอซีที ได้มีการส่งหนังสือคำสั่งให้แก่ ทีโอที ไปดำเนินการกำกับคู่สัญญาสัมปทานในแนวทางใดแนวทางหนึ่ง พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงานอย่างละเอียดกลับมาให้กระทรวงไอซีทีทุกสัปดาห์ ทั้งนี้ แม้สัญญาสัมปทานดังกล่าว จะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 ก.ย.58 นี้ แต่ตามกระบวนการทางกฎหมายยังสามารถดำเนินการได้ต่อ จะไม่กระทบต่อการเร่งรัดชดเชยจากคู่สัญญสัมปทานแต่อย่างใด

    “ในการดำเนินการกับคู่สัญญาสัมปทาน ทางบอร์ด ฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายกฎหมายของทีโอที ต้องไปดูเองว่าจะดำเนินการในแนวทางใด เช่น จะเจรจากัน จะฟ้องศาล หรือถ้าให้ชดเชยความเสียหายทีโอทีต้องไปพิจารณาเองว่าเป็นจำนวนเท่าใด แต่ต้องดำเนินการให้เร็วที่สุด ซึ่งสิทธิ์ขาดทั้งหมดจะเป็นของทีโอที แต่ก็ต้องมีการเสนอแนวทางดำเนินการเป็นวาระแจ้งเพื่อทราบไปยัง ครม. ด้วยเช่นกัน" นายอุตตม กล่าว

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!