WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

TOTมนตชย หนสงTOT ฝันรายได้ค่าโครงข่ายมือถือ'มนชัย'ขายฝันปลอบใจคน'ทีโอที' อ้างทำรายได้ปีละกว่า 2.2 หมื่นล.

       แนวหน้า : นายมนต์ชัย หนูสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ในฐานะรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวกับพนักงาน ทีโอที ราว 800 คน เมื่อวันที่ 5 ต.ค.2558 ว่า ทีโอที ยังยืนยันในคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ที่ให้สัมปทานกับ เอไอเอส และสิ้นสุดสัญญาสัมปทานไปแล้วเมื่อวันที่ 30 ก.ย.2558 ที่ผ่านมา โดย ทีโอทียังคงมีสิทธิในการใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวต่อ

     นอกจากนี้ จะไม่ยอมรับประกาศของ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.2556 (ประกาศมาตรการเยียวยาฯ) ที่ระบุว่า ให้ผู้ให้บริการต้องให้บริการกับลูกค้าต่อไปจนกว่าจะมีการประมูลและได้ผู้ให้บริการรายใหม่

    ทั้งนี้ เมื่อสิ้นสัมปทานแล้ว เอไอเอส จะต้องโอนทรัพย์สินให้แก่ ทีโอที ตามสัญญา(Build Transfer Operate) BTO  ทำให้ ทีโอที เป็นผู้ให้บริการที่มีโทรคมนาคมมากที่สุดถึง 18,700 แห่ง จะมีรายได้โดยที่ไม่ต้องดำเนินการใดๆ เนื่องมาจากจะมีรายได้จากการให้บริการลูกค้าระบบ 2G บนคลื่น 900 MHz ที่มีจำนวน 2.4 ล้านราย และจะทำให้มีรายได้ปีละราว 4,800 ล้านบาท และค่าบริการเชื่อมต่อโครงข่าย (โรมมิ่ง) ของลูกค้าเอไอเอสที่โอนย้ายไปอยู่บนโครงข่ายระบบ 3G บนคลื่น 2.1 GHz  ปีละ 18,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ทีโอที มีรายได้ปีละกว่า 22,000 ล้านบาท

     เราจะเอาเงินตรงนี้ไปปรับปรุงโครงข่าย และให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ราคาถูก เพราะเรามีต้นทุนต่ำ ซึ่งเราพร้อมให้บริการมือถือราคาต่ำ ที่ยังมีกลุ่มลูกค้าผู้ที่ไม่ได้ใช้การสื่อสารข้อมูล (ดาต้า) เป็นหลัก และใน 2-3 ปี เราก็จะเริ่มอัพเกรดโครงข่าย ที่มีพื้นที่ให้บริการทั่วประเทศ แต่ทีโอทีมีจุดอ่อนในเรื่องของการทำการตลาด เชื่อว่าถ้าได้คลื่น  900 MHz มา ผมจะไปจุดธูปหน้าพระพรหม โดยจะนำคลื่นมาทำเพื่อประโยชน์ของชาติ และยังมีความสามารถในการแข่งขัน และจะไม่ทำให้เหมือน 3G บนคลื่น 2.1 GHz”

'มนชัย'ขายฝันปลอบใจคน'ทีโอที' อ้างทำรายได้ปีละกว่า 2.2 หมื่นล.

    แนวหน้า : นายมนต์ชัย หนูสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ในฐานะรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวกับพนักงาน ทีโอที ราว 800 คน  เกี่ยวกับสถานการณ์ของทีโอที เรื่องสิทธิการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) และแนวทางทางรักษารสิทธิของ ทีโอที และปัญหาการแก้ไขสัญญาร่วมการงาน บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส แนวทางการรักษาประโยชน์ ทีโอที กรณีการโอนย้ายเลขหมายไม่ถูกต้องตามประกาศ กสทช. รวมถึงการดำเนินการหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน เอไอเอส

    ทั้งนี้ ทีโอที ยังยืนยันในคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ที่ได้สิ้นสุดสัญญาสัมปทานไปแล้วเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2558 ว่า ทีโอที ยังคงมีสิทธิในการใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวต่อ แต่ประกาศ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.2556 (ประกาศมาตรการเยียวยาฯ) ที่ระบุว่า ให้ผู้ให้บริการต้องให้บริการกับลูกค้าต่อไปจนกว่าจะมีการประมูลและได้ผู้ให้บริการรายใหม่ ซึ่งประกาศฯ ดังกล่าวทีโอที ไม่ยอมรับประกาศฯ นี้

   อย่างไรก็ตาม เมื่อสิ้นสัมปทาน เอไอเอ จะต้องโอนทรัพย์สินให้แก่ ทีโอที ตามสัญญา(Build Transfer Operate) BTO ซึ่งปัจจุบันเอไอเอส ยังมีลูกค้าที่ค้างอยู่ในระบบจำนวน 2.4 ล้านเลขหมาย และทีโอทีจะต้องนำโครงข่าย 900 MHz ที่ได้จากเอไอเอส และโครงข่ายระบบ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) ที่มีเสาโทรคมนาคมจำนวน 5,320 แห่ง และเสาโทรคมนาคมโครงข่ายระบบ 2G บนคลื่น 900 MHz จำนวน 10,000 แห่ง โดยทีโอทีจะได้เสาโทรคมนาคมแถมมาจากเอไอเอส บนคลื่น 900 MHz  ในระบบ 3G บนคลื่น 900 MHz อีก จำนวน 3,700 แห่ง ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำให้ทีโอที เป็นผู้ให้บริการที่มีโทรคมนาคมมากที่สุดถึง 18,700 แห่ง

   ขณะเดียวกัน ทีโอที จะมีรายได้โดยที่ไม่ต้องดำเนินการใดๆ เนื่องมาจากจะมีรายได้จากการให้บริการลูกค้าระบบ 2G บนคลื่น 900 MHz ที่มีจำนวน 2.4 ล้านราย และจะทำให้มีรายได้ปีละราว 4,800 ล้านบาท และค่าบริการเชื่อมต่อโครงข่าย (โรมมิ่ง) ของลูกค้าเอไอเอที่โอนย้ายไปอยู่บนโครงข่ายระบบ 3G บนคลื่น 2.1 GHz  ปีละ 18,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ทีโอที มีรายได้ปีละกว่า 22,000 ล้านบาท

    "เราจะเอาเงินตรงนี้ไปปรับปรุงโครงข่าย และให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ราคาถูก เพราะเรามีต้นทุนต่ำ ซึ่งเราพร้อมให้บริการมือถือราคาต่ำ ที่ยังมีกลุ่มลูกค้าผู้ที่ไม่ได้ใช้การสื่อสารข้อมูล (ดาต้า) เป็นหลัก และใน 2-3 ปีเราก็จะเริ่มอัพเกรดโครงข่าย ที่มีพื้นที่ให้บริการทั่วประเทศ แต่ทีโอทีมีจุดอ่อนในเรื่องของการทำการตลาด เชื่อว่าถ้าได้คลื่น  900 MHz ผมจะไปจุดธูปหน้าพระพรหม โดยจะนำคลื่นมาทำเพื่อประโยชน์ของชาติ และยังมีความสามารถในการแข่งขัน และจะไม่ทำให้เหมือน 3G บนคลื่น 2.1 GHz"

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!