WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

TOTlogoTOT ถกเลือกพาร์ทเนอร์ฟื้นองค์กร สหภาพฯถอยหาก'เอไอเอส'เข้าวิน

   แนวหน้า  : แหล่งข่าวจากคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า ในวันพรุ่งนี้(20 ต.ค.58) จะมีการพิจารณา เพื่อหาพันธมิตรร่วมทุนเชิงกลยุทธ์ (สตาร์ทิจิก พาร์ทเนอร์) ตามแผนพลิกฟื้นองค์กร และลดปัญหาการขาดทุน ซึ่งทีโอทีได้ให้ดีลอยท์ บริษัทที่ปรึกษา ช่วยในการวิเคราะห์หาพันธมิตรทางธุรกิจจากผู้ประกอบการโทรคมนาคมในประเทศ 5 ราย ที่ยื่นข้อเสนอมา ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส, บริษัท โมบาย แอลทีอี จำกัด, กลุ่มทรูฯ, บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน)

     ทั้งนี้ การพิจารณาหาพันธมิตรนั้น เป็นไปตามกลุ่มธุรกิจออกเป็น 6 กลุ่ม ตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายและการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เพื่อให้เอกชนที่สนใจเสนอเงื่อนไขเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ คือ กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม กลุ่มเสาโทรคมนาคม อินเทอร์เน็ตเกตเวย์กับเคเบิลใต้น้ำ กลุ่มโทรศัพท์มือถือ กลุ่มโทรศัพท์พื้นฐานและบรอดแบนด์ กลุ่มบริการด้านไอทีและบริการคลาวด์

     อย่างไรก็ตาม ทีโอทีเปิดรับทุกข้อเสนอจากเอกชนเพื่อเปิดโอกาสในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจร่วมกัน ส่วนเงื่อนไขการคัดเลือกเอกชนรายใดรายหนึ่ง หรือมากกว่า 1 รายนั้น ขึ้นอยู่กับข้อเสนอว่าจะมีความร่วมมือที่ดีที่สุด และมอบผลประโยชน์ให้ทีโอทีดีที่สุดหรือไม่ หากข้อเสนอใดเข้าข่าย พ.ร.บ.การให้เอกชนลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 ก็เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่ออนุมัติต่อไปทำธุรกิจกับทีโอทีเพื่อพลิกฟื้นองค์กรและลดปัญหาขาดทุน

    "ตอนนี้ ก็มีการพิจารณาข้อเสนอของเอกชนเสร็จเกือบทั้งหมดแล้ว ซึ่งเอไอเอสก็ยื่นข้อเสนอมามากที่สุดในกลุ่มธุรกิจทั้ง 6 กลุ่มและยื่นข้อเสนอด้านการเงินมาให้ถือว่าก็ดีพอสมควร และคุ้มค่าหากเทียบกับรายอื่น แต่ก็ต้องส่งให้บอร์ดพิจารณาอีกที"

     นอกจากนี้ จากการหารือกับตัวแทนสหภาพรัฐวิสาหกิจ(สรท.) ก็มีในประเด็นการเลือกพันธมิตรหากบอร์ดสรุปแล้วว่าจะหนึ่งในพันธมิตรที่เลือกเป็นเอไอเอส ก็มีตัวแทนสรท.เห็นว่าในต้องพิจารณาความอยู่รอดขององค์กร ซึ่งเห็นต่างจากอีกขั้วความเห็นหนึ่งของสรท.ที่ไม่ต้องการให้เลือกเอไอเอสมาเป็นพันธมิตร โดยขั้วที่เห็นต่างมองว่าควรเร่งหาพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อทางรอดของทีโอทีดีกว่ามานั่งขัดค้านไปในทุกเรื่อง เลยอยากจะแนะให้บอร์ทีโอทีเดินหน้าหาพันธมิตรโดยด่วน ก่อนที่ทีโอทีจะประสบวิกฤตด้านการเงินและผลประกอบการที่เข้าสู่ภาวะขาดทุน

        ขณะเดียวกัน การประชุมบอร์ดในวันพรุ่งนี้ วาระเร่งด่วนคือการพิจารณาคัดเลือกพันธมิตรทางธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจในกลุ่มโทรศัพท์เคลื่อนที่และเสาโทรคมนาคมเป็นหลัก เนื่องจาก ทีโอที มีความจำเป็นต้องหารายได้ใหม่ทดแทนหลังจากสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)เมื่อวันที่ 30 ก.ย.58 ซึ่งการคัดเลือกพันธมิตรบอร์ดก็ยังความกังวล เพราะสถานะของทีโอทีที่เป็นอยู่ในขณะนี้ไม่สามารถรอคอยได้อีกต่อไป

     "เราต้องแยกประเด็นการเรียกร้องความเป็นธรรมจากรัฐ ที่จะขอให้คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ยับยั้งการประมูลคลื่น 900 MHzเพื่อขอให้ทีโอทีดำเนินการให้บริการคลื่น 900 ต่อไป ซึ่งหากเราไม่ได้คลื่นมาให้บริการต่อทีโอทีก็ควรมีพันธมิตรเป็นการตอบโจทย์ในอนาคตของทีโอทีที่ต้องหารายได้ เพื่อความมั่นคงและยั่งยืน"

   อย่างไรก็ตาม แม้ทีโอทีจะมีข้อพิพาทเรื่องการแก้ไขสัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่เอไอเอสอยู่ก็ตาม แต่การที่เคยดำเนินธุรกิจร่วมกันมา และเอไอเอสได้เสนอผลตอบแทนในการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่ดีกว่ารายอื่น บอร์ดและผู้บริหารทีโอทีก็ควรยึดผลประโยชน์ของ ทีโอที พนักงาน และประเทศชาติเป็นหลัก ซึ่งในส่วนของกรณีพิพาทต่างๆ นั้นเห็นว่าเป็นคนละประเด็นกันควรแยกออกจากกันให้เป็นไปตามกระบวนการทางกฎหมาย ซึ่งบอร์ดและผู้บริหารทีโอทีควรพิจารณาหาพันธมิตรทางธุรกิจอย่างเร่งด่วน

     แหล่งข่าวทีโอที กล่าวอีกว่า นอกจากเรื่องการคัดเลือกพันธมิตรแล้ว ยังต้องหารือในประเด็นการยื่นฟ้องกสทช.ในการเปิดประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ โดยจะพิจารณาฟ้องในประเด็นพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553

   ด้านนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทค.) ให้ความเห็นว่า การฟ้องร้องต่อศาลปกครองของทีโอทีนั้น ต้องอยู่ที่ว่าเนื้อหาในการฟ้องคืออะไร หากอ้างในเรื่องของสิทธิ์ในการถือครองคลื่น 900 MHz มีความเห็นว่ามีน้ำหนักน้อยไป เพราะกฎหมายของ กสทช.บอกว่า ต้องนำคลื่นมาจัดสรรใหม่ด้วยการประมูล หรือจะมาอ้างว่าแผนแม่บทของกสทช.ผิด ก็ควรมีการท้วงติงไปตั้งแต่ 3 ปี ก่อนที่กสทช.ออกแผนมาแล้ว เพราะเมื่อแผนแม่บทออกมาถือเป็นกฎหมายปกครองที่ต้องปฏิบัติตาม

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!