WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ข้าว-ประมง-สิ่งทอ-อัญมณี อาการหนัก ต้นทุนสู้คู่แข่งไม่ได้

   แนวหน้า : 'ข้าว-ประมง-สิ่งทอ-อัญมณี'อาการหนัก ต้นทุนสู้คู่แข่งไม่ได้ ไทยถูกอาเซียนแย่งตลาดจีน

   ม.หอการค้าไทนย เผยผลวิเคราะห์การแข่งขันของสินค้าไทยและอาเซียน ในตลาดจีน ชี้อีก 5 ปีข้างหน้า ส่วนแบ่งการตลาดของไทยจะลดลง เหตุโดนชาติสมาชิกในอาเซียนแย่งส่วนแบ่งตลาดไป โดยเฉพาะกลุ่มประเทศน้องใหม่ ทั้งลาว พม่า กัมพุชา เนื่องจากต้นทุนผลิตต่ำกว่า สินค้าหลายชนิดอาการหนัก ทั้งข้าว  ประมง สิ่งทอ เครื่องแต่งกาย รองเท้า และอัญมณี เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

   นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยบทวิเคราะห์การแข่งขันสินค้าไทยและอาเซียน ในตลาดจีนในอีก 5 ปีข้างหน้า (2558-2562) ภายใต้กรอบกรอบ FTA อาเซียน-จีน ว่า ในปี 2562 มูลค่าตลาดการค้าของจีนจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ จากปัจจุบันที่มีมูลค่า 2.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งอาเซียนมีส่วนแบ่งตลาดในจีน 10% โดยไทยมีส่วนแบ่งตลาด 1.95 % เป็นอันดับ 2 รองจากมาเลเซีย มีสินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม และคาดว่าในปี 2562  ส่วนแบ่งตลาดของอาเซียนในจีนจะเพิ่มขึ้นเป็น 11% และส่วนแบ่งตลาดของไทยจะเพิ่มขึ้น 0.02 % เป็น 1.97% แต่อันดับจะร่วงลงมาอยู่ที่ 4 ของกลุ่มอาเซียน เพราะอินโดนีเซีย และเวียดนาม จะขยับตัวขึ้นมาแทน ขณะเดียวกันคาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ประเทศในกลุ่มอาเซียนอาจจะขาดดุลการค้ากับจีนไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพราะจะนำเข้าสินค้าจากจีนมากขึ้น

   สำหรับ การส่งสินค้าต่างๆ ไปจีน การแข่งขันในอาเซียนจะมีสูงขึ้น โดย 5 ปีข้างหน้า ตลาดข้าวไทยในจีน ประมง สิ่งทอ เครื่องแต่งกาย รองเท้า และอัญมณี จะเสียหายมากขึ้น เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จะได้รับความเสียหาย, กระดาษ จะเสียหายลดลง, พลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ จะได้ประโยชน์ลดลง, ขณะที่ยางและผลิตภัณฑ์ยาง จะได้รับประโยชน์, ส่วนกลุ่มที่จะได้รับประโยชน์มากขึ้น คือ มันสำปะหลัง ผลไม้ และอาหารแปรรูป ดังนั้นจึงทำให้ใน 5 ปีข้างหน้าไทยจะเสียหายจากการแข่งขันสินค้ากับอาเซียนในตลาดจีนรวม 3,629.3 ล้านเหรียญสหรัฐ จากที่ปัจจุบันไทยได้ประโยชน์อยู่ที่ 1,857.7 ล้านเหรียญสหรัฐ

    “ในอีก 5 ปีข้างหน้ากลุ่มอาเซียนใหม่ หรือ CLMV จะเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดจีนจากกลุ่มอาเซียนเก่า เพราะกลุ่ม CLMV เริ่มมีศักยภาพทางด้านแรงงาน และคุณภาพทางด้านการผลิตจากประเทศต่างๆ ที่เข้าไปลงทุน ทั้งจากนักในอาเซียน และนอกอาเซียน อย่าง เกาหลี ญี่ปุ่น ที่เข้าไปลงทุน ซึ่งไทยก็เป็นประเทศที่เสียหายมาก โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่มีการใช้แรงงานเป็นหลัก คือ สิ่งทอ เสื้อผ้า และรองเท้า ส่วนตลาดข้าวก็ต้องเสียส่วนแบ่งให้ประเทศ เวียดนาม กัมพูชา และเมียนมาร์”

     อย่างไรก็ตาม ทางศูนย์มีข้อเสนอแนะผู้ประกอบการไทยที่ต้องการไปทำธุรกิจที่จีนว่า ควรต้องศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคและรสนิยมเป็นรายมณฑลและรายสินค้า, ควรตั้งศูนย์กระจายสินค้าไทยตามเมืองสำคัญของจีน, จำเป็นต้องรักษาและให้ความสำคัญกับมาตรฐานสินค้าไทยและตราสินค้าของไทย และต้องปรับปรุงรูปแบบการทำการตลาดเชิงลึก เช่น แผ่นพับประชาสัมพันธ์ การให้ข้อมูลถึงผู้บริโภคจีน ส่วนด้านภาครัฐนั้นควรเข้ามาช่วยเหลือโดยการหาศูนย์รวมการค้าให้ผู้ประกอบการไทยในตลาดจีน เช่น การทำหาตึกให้เป็นศูนย์รวมสินค้าไทยโดยเฉพาะ ขณะเดียวกันรัฐควรเข้าไปประสานงานกับผู้ประกอบการไทยที่เข้าไปตั้งศูนย์กระจายสินค้าในจีนแล้ว เพื่อหาวิธีร่วมมือช่วยเหลือกัน, ภาครัฐต้องเข้าไปศึกษารสนิยมของผู้บริโภคจีน และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนควรต้องเร่งใช้สิทธิประโยชน์ภาษีเป็น 0 ให้มากขึ้น

     นายอัทธ์ ยังกล่าวเพิ่มเติมถึงสถานการณ์ส่งออกว่า ในปี 2557 ตัวเลขส่งออกของไทยไม่น่าจะติดลบ แต่ก็น่าจะต่ำกว่า 1% เนื่องจากในไตรมาสที่ 4/2557 และไตรมาสที่ 1/2558 เป็นช่วงเทศกาล ทั้ง คริสต์มาส ปีใหม่ วาเลนไทน์ ซึ่งน่าจะมีคำสั่งซื้อเข้ามามาก ขณะที่ในปี 2558 ส่งออกน่าจะขยายตัวได้ 4%  แต่ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงจาก ตลาดอียู ยังฟื้นได้ไม่ดี เศรษฐกิจญี่ปุ่น ยังไม่ฟื้นตัว เงินเฟ้อต่ำ และปีหน้าจีนจะเน้นการลงทุนในประเทศมากขึ้น ส่วนจีดีพีปี 2558 คาดว่าจะขยายตัวที่ 4-5% หากส่งออกขยายตัวได้ 4% รัฐมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และมีการปรับเงินเดือนข้าราชการ

หอการค้าไทย คาดสินค้าไทยมีสิทธิโดนเพื่อนบ้านแย่งตลาดจีนหลังเปิด AEC

     นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยบทวิเคราะห์ "การแข่งขันสินค้าไทยและอาเซียนในตลาดจีนอีก 5 ปีข้างหน้า"ว่า ภาพรวมการแข่งขันสินค้าไทยในตลาดจีนอีก 5 ปีข้างหน้า(ปี 58-62) หลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)จะได้รับความเสียหาย เพราะประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มลุ่มน้ำโขงทั้งกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนามจะแย่งตลาด ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยเข้าไปในตลาดจีนหายไป 117,000 ล้านบาท แต่ส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย มาอยู่ที่ 1.97% จากปัจจุบันอยู่ที่ 1.95%

   สำหรับ สินค้าส่งออกของไทยในตลาดจีนที่นำมาศึกษา 14 รายการ พบว่า กลุ่มเกษตรจะได้รับความเสียหายมากขึ้น โดยเฉพาะข้าวคาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า มูลค่าส่งออกไปจีนลดลง 14,600 ล้านบาท ส่วนแบ่งตลาดลดลงมาอยู่ที่ 20-30% จากปัจจุบัน 90% เพราะถูกเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม พม่า และกัมพูชาแย่งตลาด ทั้งในจีนและอาเซียน เช่นเดียวกับการส่งออกสัตว์น้ำ ที่เวียดนามและอินโดนีเซียจะแย่งตลาด ทำให้มูลค่าการส่งออกสัตว์น้ำของไทยในตลาดจีนอีก 5 ปีข้างหน้าหายไป 3,091 ล้านบาท

   นอกจากนี้ การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นจะได้รับความเสียหายมากขึ้น โดยสิ่งทอจะมีมูลค่าส่งออกลดลง 17,500 ล้านบาท เครื่องแต่งกาย ลดลง 5,002 ล้านบาท รองเท้า ลดลง 4,154 ล้านบาท และอัญมณี ลดลง 25,600 ล้านบาท แต่สินค้าที่จะได้รับผลกระทบในด้านของมูลค่าส่งออกลดลงมากที่สุดคือ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่าส่งออกหายไปถึง 198,000 ล้านบาท เพราะมาเลเซีย ซึ่งเป็นเจ้าตลาดเดิมได้ขยายฐานส่งออกมากขึ้น รวมทั้งเวียดนาม ที่มีต่างชาติไปตั้งฐานการผลิตเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น

   อย่างไรก็ตาม ไทยยังมีสินค้าที่ยังได้ประโยชน์หลังเปิด AEC ได้แก่ มันสำปะหลัง ที่คาดว่าจะมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น 14,500 ล้านบาท ยางและผลิตภัณฑ์ยางคาดจะมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น 18,400 ล้านบาท ผลไม้เพิ่มขึ้น 17,000 ล้านบาท อาหารแปรรูปเพิ่มขึ้น 16,200 ล้านบาท ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้เพิ่มขึ้น 1,541 ล้านบาท และพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติกเพิ่มขึ้น 1,209 ล้านบาท

    "ปัจจุบันไทยมีมูลค่าการส่งออกในตลาดจีนเป็นอันดับ 2 รองจากมาเลเซีย แต่ในอีก 5 ปีข้างหน้า มูลค่าการส่งออกของไทยจะหล่นไปอยู่อันดับ 4 โดยมีอินโดนีเซีย และเวียดนามแซงหน้าขึ้นมา และไม่ใช่แค่ในตลาดจีนเท่านั้นที่สินค้าไทยจะโดนแย่งตลาด ยังรวมไปถึงตลาดอาเซียนด้วย ดังนั้น ทางออกคือเราต้องขายสินค้าที่มีคุณภาพและมีมูลค่าสูงขึ้น ไม่ใช่แข่งขันที่ราคากับประเทศเพื่อนบ้าน CLMV ที่ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าไทย"นายอัทธ์ กล่าว

   ทั้งนี้ ภาครัฐควรช่วยหาสถานที่ หรือประสานงานกับเอกชนที่เข้าไปลงทุนในจีนตั้งศูนย์กระจายสินค้าไทย เพื่อเป็นช่องทางนำสินค้าไทยไปขายในตลาดจีนมากขึ้น รวมทั้งช่วยศึกษาข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคและรสนิยมความต้องการสินค้าของคนจีนตามรายมณฑลและรายสินค้า เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยใช้เป็นข้อมูลในการเจาะตลาด ไม่ใช่ทำแบบเหวี่ยงแห่เหมือนทุกวันนี้ และส่งเสริมให้ใช้สิทธิประโยชน์จากการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ให้มากขึ้น

อินโฟเควสท์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!