WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

CBเสาวณย ไทยรงโรจนม.หอการค้า เผย ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค มิ.ย.อยู่ที่ 74.9 ต่ำสุดรอบ 5 เดือน เล็งเพิ่มเป้าจีดีพีปี 60 จากเดิมคาดโต 3.6% ช่วงส.ค.นี้

     ม.หอการค้าเผยดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย. 60 อยู่ที่ 74.9 ลดลงจากพ.ค.ที่ 76 ต่ำสุดในรอบ 5 เดือน แต่ภาพรวม Q2/60 ยังเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 76 ด้านดัชนีเชื่อมั่นศก.โดยรวมอยู่ที่ 63.3 ลดลงจาก 64.3 ชี้ยังกังวลศก.ฟื้นช้า - สินค้าเกษตรตกต่ำ แต่ยังได้ส่งออก - น้ำมันลงหนุน ด้านสภาหอการค้าฯ มองจีดีพีปีนี้ขยายตัวในกรอบ 3.5-4% ส่วนส่งออกคาดโตใกล้เป้าหมาย 5% ชี้ท่องเที่ยว - รถไฟความเร็วสูง - EEC เป็นแรงหนุน เล็งเพิ่มเป้าจีดีพี- ส่งออกทั้งปี ในเดือนส.ค.นี้ จากเดิม 3.6% และ 2.4-3% ตามลำดับ 

     นางเสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนมิถุนายน 2560 อยู่ที่ 74.9 ลดลงจากเดือนพฤษภาคมที่อยู่ที่ 76 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน ขณะที่ไตรมาส 2 ดัชนีอยู่ที่ 76 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกที่อยู่ที่ 75.7

      ด้านดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 63.3 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 64.3 ด้านไตรมาส 2 อยู่ที่ 64.3 จากไตรมาสแรกที่ 64.2

      สำหรับ สาเหตุที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 เนื่องจากผู้บริโภคกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ประกอบกับราคาพืชผลทางการเกษตรยังทรงตัวในระดับต่ำ ทั้ง ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ส่งผลให้กำลังซื้อทั่วไปในหลายจังหวัดทั่วประเทศขยายตัวในระดับต่ำ ดังนั้น รัฐบาลควรเร่งกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ และเร่งรัดการลงทุนของภาครัฐให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม เพื่อเพิ่มกำลังซื้อของประชาชนทั่วประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและการใช้จ่ายของภาคประชาชนปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง 

      นางเสาวนีย์ กล่าวว่า ปัจจัยที่เป็นปัจจัยบวกต่อดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนที่ผ่านมา ประกอบด้วย การส่งออกของไทยในเดือนพฤษภาคมที่เพิ่มขึ้น 12.70% ขยายตัวสูงสุดในรอบ 52 เดือน ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้น 18.35% ด้านราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับลดลง ขณะที่เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย โดยอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 33.99 บาทต่อดอลลาร์ จากเดือนพฤษภาคมที่อยู่ที่ 34.45 บาทต่อดอลลาร์

      ด้านปัจจัยลบ ประกอบด้วย ราคาพืชผลการเกษตรที่อยู่ในระดับต่ำ และหลายรายการปรับลดลงในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ทำให้กำลังซื้อทั่วไปในหลายจังหวัดทั่วประเทศอยู่ในระดับต่ำ ด้านผู้บริโภคยังกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง และมองว่า รายได้ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพที่ปรับเพิ่มขึ้น 

      ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมที่ปรับลดลงต่อเนื่องเช่นเดียวกันนั้น เนื่องจาก ผู้บริโภคมองว่า เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวไม่ชัดเจน 

      ขณะที่นายธนวรรธน์ พลวิชัย รองอธิการบดีอาวุโสและงานวิจัย ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า สำหรับมุมมองเศรษฐกิจในปีนี้ ม.หอการค้ายังไม่ได้เปลี่ยนมุมมอง และเชื่อว่า เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ จากการลงทุนภาครัฐในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ และคาดว่าราคาสินค้าเกษตร ทั้ง ข้าว ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง จะเริ่มปรับตัวดีขึ้น ภายหลังจากรัฐบาลได้เข้าไปดูแลช่วยเหลือ

       นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งปีหลังของปี 2560 ว่า สภาหอการค้าฯคาดว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปีนี้ จะขยายตัวได้ 3.5-4% โดยมั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังจะเติบโตได้ดีกว่าครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ซึ่งมีแรงขับเคลื่อนจากการส่งออกที่ฟื้นตัวชัดเจน และทำให้การส่งออกทั้งปีขยับเข้าใกล้เป้าหมายที่ 5% ซึ่งเป็นไปตามที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยยังได้รับแรงสนับสนุนจากการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวดีด้วย 

     “แนวโน้มเศรษฐกิจภูมิภาคในช่วงครึ่งปีหลัง ดีทุกภูมิภาค จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและบริการ การลงทุนเริ่มดีขึ้น จากการลงทุนภาครัฐที่เริ่มเห็นเม็ดเงินลงทุนชัดเจน ทั้งจาก โครงการรถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ และการเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค การเร่งขับเคลื่อนและสนับสนุนการลงทุนในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ  EEC”นายกลินทร์ กล่าว 

      ส่วนปัจจัยที่ต้องติดตาม เช่น นโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐ ที่อาจเพิ่มความไม่แน่นอนให้กับเศรษฐกิจโลก การปรับเพิ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ เศรษฐกิจจีนที่เริ่มมีแนวโน้มชะลอตัวลง การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ ที่อาจส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน ปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง สถาบันการเงินระมัดระวังในการปล่อยกู้มากขึ้น ผลกระทบจากมาตรการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว 

       ทั้งนี้ สภาหอการค้าฯ สนับสนุนและเห็นด้วยกับรัฐบาลที่ออก พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าว เพื่อจัดระเบียบแรงงานให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและถูกต้อง แต่ทั้งนี้ ในกฎหมายดังกล่าวอาจรุนแรงในเรื่องการใช้ โดยเฉพาะค่าปรับและการมีผลบังคับใช้ทันที นอกจากนี้ สภาหอการค้าฯ ต้องการให้รัฐบาลจัดตั้งศูนย์บุคลากรทักษะฝีมือสูง เพื่อเป็นหน่วยงานกลางเพื่อสร้างกลไกให้กับผู้ประกอบการ ทั้งไทยและต่างประเทศทีดำเนินธุรกิจในเมืองไทย สามารถเข้าถึงบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อดำเนินกิจกรรที่เกี่ยวข้องกับ R&D และนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผลักดันการจัดตั้งศูนย์ One Stop Service สำหรับการออกวีซ่าและใบอนุญาตทำงานให้กับนักลงทุนและนักวิจัยจากต่างประเทศ 

       ด้านนายธนวรรธน์ กล่าวเพิ่มเติมถึงการปรับประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจในปีนี้ว่า ในเดือนสิงหาคมนี้ ม.หอการค้าจะปรับประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยปีนี้ใหม่ จากปัจจุบัน คาดการณ์ที่ 3.6% เนื่องจากเศรษฐกิจไทยเริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัวชัดเจนในช่วงครึ่งปีหลัง ขณะที่การส่งออกขยายตัวดี เห็นได้จากการส่งออกในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาเติบโตถึง 7.2% ซึ่งทางม.หอการค้าจะต้องปรับประมาณการใหม่ เนื่องจากปัจจุบันมองการส่งออกเติบโตทั้งปีเพียง 2.4-3% เท่านั้น

 สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!