WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

CBธนวรรธน พลวชย copyศก.ฟื้นดึงเชื่อมั่นผู้บริโภคพุ่ง ธ.ค.สูงสุดในรอบ 35 เดือนอานิสงส์ส่งออก-ท่องเที่ยวโต

    ไทยโพสต์ ซ : สนามบินน้ำ * ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ธ.ค. ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ทำสถิติสูงสุดในรอบ 35 เดือน หลังคนมั่นใจเศรษฐกิจฟื้นตัว จากส่งออก ท่องเที่ยวดี คาดปีนี้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอีก 5-7 แสนล้าน ดันจีดีพีปีนี้โต 4.2-4.5% และมีโอกาสทะลุไปถึง 5% ได้

      นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้ อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ และธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้า ไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ธ.ค.2560 อยู่ที่ 79.2 เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ย.2560 ที่ 78.0 ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และสูงสุดในรอบ 35 เดือน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันอยู่ที่ 53.6 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคตอยู่ที่ 90.2 สูงสุดในรอบ 55 เดือน ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม อยู่ที่ 66.2 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำอยู่ที่ 74.0 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 97.5 ซึ่งปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 เช่นเดียวกัน

          ทั้งนี้ ปัจจัยบวกที่ส่งผลให้ความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น มาจากการฟื้น ตัวของเศรษฐกิจ ทั้งการส่งออก ที่ขยายตัว การท่องเที่ยวดี มาตร การกระตุ้นการบริโภคและเศรษฐกิจ ได้ผล ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ปรับขึ้น และมีข่าวการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้มีเม็ดเงินอยู่ในมือชนชั้นกลาง ส่งผลให้เกิดความเชื่อมั่นและ กล้าที่จะจับจ่ายมากขึ้น

       แต่ในระดับฐานรากยังเจอปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ โดยเฉพาะยางพารา ปาล์มน้ำมันและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จึงทำ ให้เศรษฐกิจในภาคเหนือ อีสานและใต้ ยังฟื้นตัวไม่โดดเด่น แต่คาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวเด่นขึ้นในช่วง ปลายไตรมาส 2/2561 หรือประ มาณปลายเดือน มิ.ย.-ก.ค.

                นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ในปี 2561 คาดว่าจะมีเม็ดเงินเข้ามา หมุนในระบบเศรษฐกิจรวมประ มาณ 5-7 แสนล้านบาท ซึ่งจะมีผลต่อจีดีพีไทยประมาณ 2-3% โดยมาจากรายได้จากการส่งออกที่คาดว่าปีนี้จะเพิ่มขึ้น 1-2 แสนล้านบาท รายได้จากการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น 1 แสนล้านบาท เม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจฐานรากทั้งมาตรการบัตรสวัสดิการคนจนเฟส 1-2 และการ ปรับขึ้นค่าแรงรวมประมาณ 1-1.5 แสนล้านบาท เงินลงทุนจากองค์ การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) อีก 1-1.5 แสนล้านบาท และเงิน ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในโครง การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) 2-3 แสนล้าน บาท และเงินลงทุนภาคเอกชนที่จะตามมาอีก 5 หมื่นถึง 1 แสนล้านบาท

        อย่างไรก็ตาม หอการค้า ไทยประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกปีนี้จะขยายตัวอยู่ที่ 4% ครึ่งปีแรกขยายตัว 4.5% และครึ่งปีหลังอยู่ที่ 4.2% ส่งผลให้ทั้งปีนี้ขยายตัวอยู่ในกรอบ 4.2-4.5% และมีโอกาสเป็นไปได้ที่จะขยายตัวได้ถึง 5% หากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวชัดเจน รัฐอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้เร็ว ราคาสินค้าเกษตรดีขึ้น และมีการเลือกตั้งปลายปี ส่วนการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ 5% อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 1.5% อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยที่ 32.5-33.5 บาท/เหรียญสหรัฐ และราคาน้ำมันเฉลี่ย 60-65 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล

      "ค่าเงินบาทแข็งค่าอยู่ในกรอบ 32.5-33 บาท/เหรียญสหรัฐ จะมาบั่น ทอนการส่งออกของไทยในปีนี้ แต่อาจทำให้ผู้ส่งออกมีภาวะแข่งขันยากขึ้น ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะต้องเข้ามาดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่ากว่าเพื่อนบ้านมากนัก โดยควรจะดูแลให้ค่าเงินบาทอยู่ในกรอบ 33 บาท/เหรียญสหรัฐ" นายธนวรรธน์กล่าว.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!