WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

เอกชนตีปีกรับ'คสช.'เดินหน้าฟื้นเศรษฐกิจ'บิ๊กตู่'ยันงบปี’58 ใช้ทันตค.นี้

     แนวหน้า : 'บิ๊กตู่'รับปาก ผู้บริหาร สภาอุตฯดันงบปี’58 ออกใช้ตามกำหนด พร้อมงัดมาตรการอุ้มกลุ้ม เอสเอ็มอีขณะที่ ส.อ.ท.ร้องรัฐบาลใหม่ช่วยหาแหล่งเงินทุนหมุนเวียนให้กับผู้ประกอบการ คาดว่าในไตรมาส 1-2 ผู้ประกอบการทั้งขนาดกลาง และย่อย ปดกิจการประมาณ 5,000 ราย

     นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 25 พค.2557 ที่ผ่านมา ได้ประชุมหารือปัญหาด้านเศรษฐกิจกับ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เป็นหัวหน้าคณะ ขั้นตอนต่อไป ส.อ.ท. จะนำข้อหารือกับ คสช. ไปหารือกับคณะกรรมการ ส.อ.ท. อีกครั้งในวันจันทร์ที่ 26 พ.ค.นี้

    โดยในการหารือ พล.อ.ประยุทธ์ ได้รับปากว่าจะผลักดันงบประมาณปี 2558 ได้ทันตามกำหนด(1ตค.2257) นอกจากนี้ยังคงยึดหลักการ และการลงทุนอย่างเสรี โดยจะรักษาระเบียบวินัยด้านการเงินอย่างเคร่งครัด รวมทั้งจะเร่งการอนุมัติเงินโครงการจำนำข้าวให้ถึงมือเกษตรกรอย่างรวดเร็ว

     นอกจากนี้ หัวหน้า คสช. ยังได้มีแนวคิดที่จะเร่งผลักดันเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนตามแผนเดิมที่วางไว้ให้เกิดเป็นรูปเป็นร่างอย่างรวดเร็ว เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการ ขนาดกลาง และขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) และกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศที่อยู่ในภาวะซบเซา ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยในระยะยาว ซึ่งการที่ คสช. เข้ามาให้ความสำคัญในเรื่องนี้ ก็จะทำให้ตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษได้รวดเร็ว

     ขณะที่ สอท. และ ภาคเอกชนยังได้เสนอให้มีการประชุมในลักษณะ คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ขึ้น เพื่อให้เกิดการประชุมร่วมแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจระหว่างภาคเอกชน กับคสช. อย่างเป็นระยะๆ ซึ่ง คสช. ก็ได้รับแนวความคิดนี้ไปพิจารณา

    นายศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล ประธานสถาบัน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรม การผลิต (เอสเอ็มไอ) สภาอุตสาหกรรมแห่ง ประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า สิ่งที่ต้องการให้ รัฐบาลใหม่เร่งดำเนิน คือ การแก้ไขปญหา คอรัปชั่นอย่างเด็ดขาด เพราะมีอำนาจเต็มในการ จัดการทุกด้าน เนื่องจากเปนสาเหตุหลักในการฉุดรั้งเศรษฐกิจไทย

    ส่วนมาตรการช่วงเหลือเอสเอ็มอีนั้น จะต้องเร่งหาแหล่งเงินทุนหมุนเวียนให้กับ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีโดยเร็ว และจะต้องเข้าถึง แหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำได้ง่าย รวมทั้งจะต้องให้ ความช่วยเหลือด้านการตลาด โดยเฉพาะการนำ เอสเอ็มอีออกไปเจาะตลาดในอาเซียน เพื่อเปน ช่องทางรองรับตลาดภายในประเทศที่หดตัว

    ส่วนผลกระทบจากความวุ่นวายทางการ เมืองที่ต่อเนื่องมายาวนานนั้น คาดว่าในไตรมาส 1-2 จะทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ภาคการ ผลิตจะต้องปดกิจการประมาณ 5,000 ราย ซึ่ง น่าจะสูงกว่าปที่ผ่านมา โดยในส่วนของ ส.อ.ท. ได้ร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อม (สสว.) จัดมหกรรมเอสเอ็มอีแฟร์ โดยจะให้ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดทุกแห่ง นำผู้ประกอบ การเข้ามาขายสินค้าในราคาพิเศษที่กรุงเทพฯ ซึ่งจะเปนช่องทางหนึ่งในการระบายสินค้าของ เอสเอ็มอี หากงานนี้ได้รับการตอบรับจาก ประชาชน ก็จะขยายไปจัดในจังหวัดใหญ่ทั้ง 4 ภูมิภาค

     ด้าน นายสมชัย สัจจพงษ์ ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)กล่าวว่า ที่ประชุมของกระทรวงการคลังและหน่วยงานในสังกัด สถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยมี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองหัวหน้าคสช.ในวันที่26 พ.ค.2557 โดยในส่วนของ สศค.เตรียมข้อมูลชี้แจงเกี่ยวกับมาตรการทางการคลังหลายด้านที่ยังค้างและมีความจำเป็นต้องเดินหน้า

   ทั้งการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 การเสนอขยายเวลามาตราการคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 ออกไปอีก เพื่อลดภาระค่าครองชีพ และขยายเวลาคงภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 20 ออกไปอีก เพราะกฎหมายเดิมออกเป็นพระราชกฤษฎีกา มีอายุเพียง 1 ปี หากไม่ขยายออกไปจะต้องกลับไปจัดเก็บที่ร้อยละ 30 เหมือนเดิม นอกจากนี้ จะเสนอให้เร่งผลักดันมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน

    ส่วนมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อระยะสั้น มองว่าหากเร่งจ่ายเงินจำนำข้าวให้เกษตรกรแล้ว ประชาชนจะมีกำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจฐานรากได้มากขึ้น จึงอาจไม่จำเป็นต้องอัดฉีดเงินกระตุ้นระยะสั้นเพิ่ม แต่จะเสนอให้หันไปเน้นกระตุ้นการลงทุนระยะกลางและระยะยาว รวมทั้งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น เพื่อต้องการผลักดันให้เดินหน้า โดยเป็นเงินลงทุนจากภาครัฐ และยังมีกฎหมายด้านการเงินการคลังที่ยังจำเป็นต้องผลักดันให้ออกมาบังคับใช้อีกหลายฉบับ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!