WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

กกร1 124

กกร. หวังรัฐฟื้นเศรษฐกิจ ลดภาระดอกเบี้ย แก้หนี้นอกระบบ ดัน 3 ข้อเสนอ ฟื้นเศรษฐกิจไทย 

       เศรษฐกิจโลกมีความไม่แน่นอนมากขึ้นจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ สงครามอิสราเอลและกลุ่มฮามาสที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาได้นำไปสู่การโจมตีเรือสินค้าในบริเวณคลองสุเอซและทะเลแดงทำให้ค่าระวางเรือเพิ่มสูงขึ้นกดดันต้นทุนการผลิต ขณะที่สงครามรัสเซียและยูเครนยังไม่ยุติลง

รวมถึงความไม่แน่นอนจากการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในหลายประเทศปีนี้ เช่น การเลือกตั้ง ปธน. ไต้หวัน รัสเซีย และสหรัฐฯ ปัจจัยความไม่แน่นอนเหล่านี้ซ้ำเติมเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในภาวะชะลอตัว และทำให้ต้องติดตามผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยที่พึ่งพาตลาดยุโรป ได้แก่ สินค้าเกษตรและอาหาร สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

  • เศรษฐกิจไทยปี 2567 มีแนวโน้มขยายตัวได้ในกรอบประมาณการเดิมที่ 2.8-3.3% โดยมีแรงสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น โครงการ Easy E-Receipt และการฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยวที่คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเพิ่มขึ้นเป็น 33-34 ล้านคน ขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อลดลงอย่างต่อเนื่องจากนโยบายลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาล ส่งผลให้ประมาณการเงินเฟ้อปรับลดลง

 

กรอบประมาณการเศรษฐกิจปี 2567 ของ กกร.

%YoY ปี 2566

(ณ ธ.ค. 66) ปี 2567

(ณ ธ.ค. 66) ปี 2567

(ณ ม.ค. 67)

GDP 2.5 ถึง 3.0 2.8 ถึง 3.3 2.8 ถึง 3.3

ส่งออก -2.0 ถึง -1.0 2.0 ถึง 3.0 2.0 ถึง 3.0

เงินเฟ้อ 1.2* 1.7 ถึง 2.2 0.7 ถึง 1.2

หมายเหตุ: *เลขจริง, ประมาณการ GDP ปี 2567 ยังไม่รวมผลของมาตรการ Digital Wallet

  • ที่ประชุมมองว่าเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ตามศักยภาพ แต่ศักยภาพมีแนวโน้มด้อยลง และยังฟื้นตัวไม่ทั่วถึงในรูปแบบ K-Shape ยังมีบางกลุ่มที่รายได้ไม่ฟื้นตัวและมีกำลังซื้ออ่อนแอ จึงจำเป็นต้องมีการกระตุ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในระดับกลางและระดับล่าง ทั้งนี้รัฐบาลควรเร่งเบิกจ่ายงบประมาณโดยในระหว่างรองบประมาณ ปี 67 ภาคเอกชนเห็นว่าควรจัดทำมาตรการเสริมกระตุ้นเศรษฐกิจ และควรมีการหารือกับรัฐวิสาหกิจและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการนำงบประมาณลงทุนที่แต่ละหน่วยงานมีอยู่แล้วเร่งใช้งานไปพลางก่อน เพื่อให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อเนื่อง
  • ควรมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนสินเชื่อในการทำธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการที่มีความเสี่ยงสูง โดยรัฐบาลสนับสนุนทุนจัดตั้งในระยะแรกก่อน แล้วนำดอกเบี้ยหรือได้เงินมาบริหารหมุนเวียนในกองทุนให้ตรงตามวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเหลือ SMEs โดยมีความยืดหยุ่นในการขอ

หลักประกันได้ สำหรับหนี้นอกระบบที่เป็นปัญหาของการเข้าถึงสินเชื่อ และเอาหนี้นอกระบบทางการค้าเข้ามาอยู่ในระบบอย่างถูกต้อง จะช่วยลดภาระดอกเบี้ยที่เป็นต้นทุนสูงได้

  • ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยเป็นระดับสูงสุดแล้ว ในระยะข้างหน้าดอกเบี้ยควรปรับทิศทางทางให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศ และการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่มีแนวโน้มลดลงในปีนี้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจที่มีมากขึ้นจากทั้งในและนอกประเทศ ขณะที่เงินเฟ้อมีความผันผวนโดยมีแนวโน้มปรับลดลงต่อเนื่องในกรอบ 0.7-1.2%
  • สถาบันการเงินให้ความช่วยเหลือลดภาระต้นทุนทางการเงินให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ณ ปัจจุบัน ยังมียอดภาระหนี้ที่สถาบันการเงินให้ความช่วยเหลืออีกกว่า 3.4 ล้านล้านบาท หรือมากกว่า 6.1 ล้านบัญชี และตั้งแต่สถานการณ์โควิดมีต้นทุนทางเครดิตที่เกิดขึ้นในระบบธนาคารพาณิชย์มูลค่ารวมกว่า 6 แสนล้านบาท หรือราว 6% ของสินเชื่อ และสถาบันการเงินจะยังคงให้ความสำคัญกับการดูแลช่วยเหลือลูกค้าตรงกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง
  • ที่ประชุม กกร. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการวางรากฐานเพื่อเพิ่มศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทย จึงเสนอประเด็นสำคัญ 3 ประการที่อยากให้รัฐบาลขับเคลื่อนในปี 2567 ดังนี้

1) สานต่อการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง 6 ด้านที่ กกร. เคยเสนอ ได้แก่ 1. Competitiveness 2. Ease of Doing Business 3. Digital Transformation 4. Human Development 5. SME 6. Sustainability เนื่องจากเศรษฐกิจไทยเติบโตต่ำกว่าศักยภาพมาหลายปี และ/หรือมีศักยภาพลดลง สะท้อนจากมุมมองนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ต่อศักยภาพและความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจไทย จาก Price to book ratio ของธุรกิจใน SET100 ปรับลดลงในปี 2566

ขณะที่กลุ่มธนาคารพาณิชย์มี Price to book ratio อยู่ในระดับต่ำกว่า 1 เท่ายาวนาน ดังนั้นปัญหาเชิงโครงสร้างจำเป็นต้องเร่งแก้ไข เช่น ด้าน Competitiveness ควรเร่งเจรจาข้อตกลงทางการค้า FTA ที่ดำเนินการอยู่ให้แล้วเสร็จ รวมถึงแก้ปัญหาน้ำอย่างเป็นระบบและยั่งยืน ด้าน Ease of Doing Business ควรปฏิรูปกฎหมายที่ล้าสมัยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เป็นต้น

2) ผันเศรษฐกิจนอกระบบมาอยู่ในระบบ เศรษฐกิจนอกระบบของไทยมีขนาดใหญ่เกินไป เป็นต้นตอของหลายปัญหา โดยมีขนาดใหญ่ถึง 47.6% ต่อจีดีพี สูงกว่าประเทศคู่เทียบและมีแรงงานนอกระบบมากถึง 51% ของแรงงานทั้งหมด ขณะที่ยังขาดข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น ขนาดของหนี้นอกระบบที่ข้อมูลทางการระบุว่ามีราว 1 แสนล้านบาท แต่หากประเมินด้วยวิธีอื่นอาจสูงถึงราว 3-4 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ IMF พบว่าการมีเศรษฐกิจนอกระบบขนาดใหญ่เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจโตต่ำกว่าศักยภาพ เข้าไม่ถึงสินเชื่อในระบบ และมีความเหลื่อมล้ำสูง

3) เร่งเครื่องในการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนโดยเฉพาะหนี้นอกระบบ ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลกำลังให้ความสำคัญ หลังผลสำรวจพบว่าครัวเรือนมีโอกาสที่จะพึ่งพาหนี้นอกระบบมากขึ้น ดังนั้น การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาลจึงมาถูกทางเพื่อตัดวงจรหนี้ โดยที่ภาครัฐดำเนินการยึดหลัก market based มีฐานข้อมูลกลางที่เชื่อถือได้

ปฏิรูปข้อมูลหนี้ทั้งในและนอกระบบ เร่งให้สหกรณ์เข้าสู่ระบบข้อมูลเครดิตแห่งชาติให้ครบถ้วน และทำควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้เพราะพบว่าการเป็นหนี้มีสาเหตุสำคัญจากการมีรายได้ไม่พอรายจ่าย โดยภาคการเงินสนับสนุนด้วยการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม ส่งเสริมการเข้าถึงการเงินในระบบ และยกระดับ financial inclusion ผ่าน Risk based pricing และการใช้ alternative data

รวมถึงการใช้ ecosystem ในการเชื่อมโยงรายใหญ่กับรายเล็กเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบ พร้อมทั้งแสวงหาความร่วมมือจากภาคธุรกิจ/ครัวเรือน ให้มุ่งมั่นในการยกระดับผลิตภาพ และสร้างความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงสร้างความตระหนักรู้ในการรักษา credit culture/discipline และหวงแหน credit score

 

กกร. ดัน 3 ข้อเสนอ ฟื้นเศรษฐกิจไทย 

         คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน  (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย โดย กกร.ได้จัดประชุมคณะกรรมการประจำเดือนมกราคม 2567 โดยมีนายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะประธาน กกร. เป็นประธานในการประชุม  นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และนายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เป็นประธานร่วมในการประะชุม  โดยที่ประชุม กกร. ได้ประเมินเศรษฐกิจ ดังนี้

เศรษฐกิจโลกมีความไม่แน่นอนมากขึ้นจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์

      สงครามอิสราเอลและกลุ่มฮามาสที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาได้นำไปสู่การโจมตีเรือสินค้าในบริเวณคลองสุเอซและทะเลแดงทำให้ค่าระวางเรือเพิ่มสูงขึ้นกดดันต้นทุนการผลิต ขณะที่สงครามรัสเซียและยูเครนยังไม่ยุติลง รวมถึงความไม่แน่นอนจากการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในหลายประเทศปีนี้ เช่น การเลือกตั้ง ปธน. ไต้หวัน รัสเซีย และสหรัฐฯ ปัจจัยความไม่แน่นอนเหล่านี้ซ้ำเติมเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในภาวะชะลอตัว และทำให้ต้องติดตามผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยที่พึ่งพาตลาดยุโรป ได้แก่ สินค้าเกษตรและอาหาร สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

เศรษฐกิจไทยปี 2567 มีแนวโน้มขยายตัวได้ในกรอบประมาณการเดิมที่ 2.8-3.3%

        โดยมีแรงสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น โครงการ Easy E-Receipt และการฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยวที่คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเพิ่มขึ้นเป็น 33-34 ล้านคน ขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อลดลงอย่างต่อเนื่องจากนโยบายลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาล ส่งผลให้ประมาณการเงินเฟ้อปรับลดลง

กรอบประมาณการเศรษฐกิจปี 2566-2567 ของ กกร.

%YoY

ปี 2566

(ณ ธ.ค. 66)

ปี 2567

(ณ ธ.ค. 66)

ปี 2567

(ณ ม.ค. 67)

GDP 2.5 ถึง 3.0 2.8 ถึง 3.3 2.8 ถึง 3.3
ส่งออก -2.0 ถึง -0.5 2.0 ถึง 3.0 2.0 ถึง 3.0
เงินเฟ้อ 1.3 ถึง 1.7 1.7 ถึง 2.2 0.7 ถึง 1.2

หมายเหตุ: *เลขจริง, ประมาณการ GDP ปี 2567 ยังไม่รวมผลของมาตรการ Digital Wallet

ที่ประชุมมองว่าเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ตามศักยภาพ แต่ศักยภาพมีแนวโน้มด้อยลง

และยังฟื้นตัวไม่ทั่วถึงในรูปแบบ K-Shape ยังมีบางกลุ่มที่รายได้ไม่ฟื้นตัวและมีกำลังซื้ออ่อนแอ จึงจำเป็นต้องมีการกระตุ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในระดับกลางและระดับล่าง ทั้งนี้รัฐบาลควรเร่งเบิกจ่ายงบประมาณโดยในระหว่างรองบประมาณ ปี 67 ภาคเอกชนเห็นว่าควรจัดทำมาตรการเสริมกระตุ้นเศรษฐกิจ และควรมีการหารือกับรัฐวิสาหกิจและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการนำงบประมาณลงทุนที่แต่ละหน่วยงานมีอยู่แล้วเร่งใช้งานไปพลางก่อน เพื่อให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อเนื่อง 

ควรมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนสินเชื่อในการทำธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการที่มีความเสี่ยงสูง

โดยรัฐบาลสนับสนุนทุนจัดตั้งในระยะแรกก่อน แล้วนำดอกเบี้ยหรือได้เงินมาบริหารหมุนเวียนในกองทุนให้ตรงตามวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเหลือ SMEs โดยมีความยืดหยุ่นในการขอหลักประกันได้ สำหรับหนี้นอกระบบที่เป็นปัญหาของการเข้าถึงสินเชื่อ และเอาหนี้นอกระบบทางการค้าเข้ามาอยู่ในระบบอย่างถูกต้อง จะช่วยลดภาระดอกเบี้ยที่เป็นต้นทุนสูงได้ 

ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยเป็นระดับสูงสุดแล้ว

ในระยะข้างหน้าดอกเบี้ยควรปรับทิศทางทางให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศ และการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่มีแนวโน้มลดลงในปีนี้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจที่มีมากขึ้นจากทั้งในและนอกประเทศ ขณะที่เงินเฟ้อมีความผันผวนโดยมีแนวโน้มปรับลดลงต่อเนื่องในกรอบ 0.7-1.2%

สถาบันการเงินให้ความช่วยเหลือลดภาระต้นทุนทางการเงินให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ณ ปัจจุบัน ยังมียอดภาระหนี้ที่สถาบันการเงินให้ความช่วยเหลืออีกกว่า 3.4 ล้านล้านบาท หรือมากกว่า  6.1 ล้านบัญชี

และตั้งแต่สถานการณ์โควิดมีต้นทุนทางเครดิตที่เกิดขึ้นในระบบธนาคารพาณิชย์มูลค่ารวมกว่า 6 แสนล้านบาท หรือราว 6% ของสินเชื่อ และสถาบันการเงินจะยังคงให้ความสำคัญกับการดูแลช่วยเหลือลูกค้าตรงกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง

ที่ประชุม กกร. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการวางรากฐานเพื่อเพิ่มศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทย จึงเสนอประเด็นสำคัญ 3 ประการที่อยากให้รัฐบาลขับเคลื่อนในปี 2567 ดังนี้
        1) สานต่อการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง 6 ด้านที่ กกร. เคยเสนอ ได้แก่ 1. Competitiveness 2. Ease of Doing Business 3. Digital Transformation 4. Human Development 5. SME 6. Sustainability เนื่องจากเศรษฐกิจไทยเติบโตต่ำกว่าศักยภาพมาหลายปี และ/หรือมีศักยภาพลดลง สะท้อนจากมุมมองนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ต่อศักยภาพและความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจไทย จาก Price to book ratio ของธุรกิจใน SET100 ปรับลดลงในปี 2566 ขณะที่กลุ่มธนาคารพาณิชย์มี Price to book ratio อยู่ในระดับต่ำกว่า 1 เท่ายาวนาน ดังนั้นปัญหาเชิงโครงสร้างจำเป็นต้องเร่งแก้ไข เช่น ด้าน Competitiveness ควรเร่งเจรจาข้อตกลงทางการค้า FTA ที่ดำเนินการอยู่ให้แล้วเสร็จ รวมถึงแก้ปัญหาน้ำอย่างเป็นระบบและยั่งยืน ด้าน Ease of Doing Business ควรปฏิรูปกฎหมายที่ล้าสมัยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เป็นต้น
       2) ผันเศรษฐกิจนอกระบบมาอยู่ในระบบ เศรษฐกิจนอกระบบของไทยมีขนาดใหญ่เกินไป เป็นต้นตอของหลายปัญหา โดยมีขนาดใหญ่ถึง 47.6% ต่อจีดีพี สูงกว่าประเทศคู่เทียบและมีแรงงานนอกระบบมากถึง 51% ของแรงงานทั้งหมด ขณะที่ยังขาดข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น ขนาดของหนี้นอกระบบที่ข้อมูลทางการระบุว่ามีราว 1 แสนล้านบาท แต่หากประเมินด้วยวิธีอื่นอาจสูงถึงราว 3-4 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ IMF พบว่าการมีเศรษฐกิจนอกระบบขนาดใหญ่เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจโตต่ำกว่าศักยภาพ เข้าไม่ถึงสินเชื่อในระบบ และมีความเหลื่อมล้ำสูง
         3) เร่งเครื่องในการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนโดยเฉพาะหนี้นอกระบบ ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลกำลังให้ความสำคัญ หลังผลสำรวจพบว่าครัวเรือนมีโอกาสที่จะพึ่งพาหนี้นอกระบบมากขึ้น ดังนั้น การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาลจึงมาถูกทางเพื่อตัดวงจรหนี้ โดยที่ภาครัฐดำเนินการยึดหลัก market based มีฐานข้อมูลกลางที่เชื่อถือได้ ปฏิรูปข้อมูลหนี้ทั้งในและนอกระบบ เร่งให้สหกรณ์เข้าสู่ระบบข้อมูลเครดิตแห่งชาติให้ครบถ้วน และทำควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้เพราะพบว่าการเป็นหนี้มีสาเหตุสำคัญจากการมีรายได้ไม่พอรายจ่าย

        โดยภาคการเงินสนับสนุนด้วยการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม ส่งเสริมการเข้าถึงการเงินในระบบ และยกระดับ financial inclusion ผ่าน Risk based pricing และการใช้ alternative data รวมถึงการใช้ ecosystem ในการเชื่อมโยงรายใหญ่กับรายเล็กเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบ พร้อมทั้งแสวงหาความร่วมมือจากภาคธุรกิจ/ครัวเรือน ให้มุ่งมั่นในการยกระดับผลิตภาพ และสร้างความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงสร้างความตระหนักรู้ในการรักษา credit culture/discipline และหวงแหน credit score 

เรียบเรียงและจัดทำโดย ฝ่ายนโยบายยุทธศาสตร์ หอการค้าไทย

 

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!