WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Fสพนธ มงคลสธส.อ.ท.เผยดัชนีเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ม.ค.59 อยู่ที่ 86.3 จาก 87.5 ในธ.ค.

     นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ม.ค.59 อยู่ที่ระดับ 86.3 ปรับตัวลดลงจากระดับ 87.5 ในเดือน ธ.ค.58  โดยดัชนีความเชื่อมั่นฯ ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน

     ทั้งนี้ ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ที่ลดลงเกิดจากองค์ประกอบยอดคำสั่งซื้อโดยรวม, ยอดขายโดยรวม, ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

     สำหรับ ปัจจัยที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ ได้แก่ ปัญหาภัยแล้ง, ปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจประเทศจีนซึ่งมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่และเป็นคู่ค้าสำคัญของไทย รวมทั้งการเร่งการใช้จ่ายในช่วงเดือนก่อนหน้า และความกังวลต่อการชะลอตัวของกำลังซื้อภายในประเทศ ซึ่งจากความกังวลดังกล่าว ผู้ประกอบการจึงให้ความสำคัญกับการบริโภคภายในประเทศ และการผลักดันให้ผู้ประกอบการขยายตลาดการค้าการลงทุนไปยังกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้กับประเทศในปี 2559 อย่งไรก็ตาม ผู้ประกอบการที่เป็นกลุ่มตัวอย่างยังคงเห็นว่าราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง ส่งผลดีต่อต้นทุนประกอบการ

     สำหรับ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 100.8 โดยปรับตัวลดลงจาก 102.7 ในเดือนธ.ค.58 โดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการใน 3 เดือนข้างหน้า ได้แก่ ความกังวลต่อตลาดการเงินโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งการชะลอตัวของการบริโภคในประเทศ และปัญหาเงินทุนหมุนเวียนในกิจการโดยเฉพาะ SMEs อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีฯ ยังมีค่าเกิน 100 แสดงว่าผู้ประกอบการยังมีความเชื่อมั่นต่อการดำเนินกิจการในอีก 3 เดือนข้างหน้า

     ประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า สำหรับข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการที่มีต่อภาครัฐในเดือนม.ค. คือ ต้องการให้ภาครัฐเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนในโครงการลงทุนทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งเสริมการบริโภคในประเทศผ่านนโยบายภาครัฐเพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่าย พร้อมยกระดับการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพัฒนานวัตกรรม เพื่อสร้างมูลค่าสินค้าไทยให้สามารถแข่งขันในเวทีโลก รวมถึงมีการส่งเสริมผู้ประกอบการขยายตลาดการค้าและการลงทุนไปยังเมืองสำคัญๆ ของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสร้างโอกาสให้กับสินค้าไทย

     ทั้งนี้ ส.อ.ท.ยังคงเป้าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ปีนี้ที่ 3-3.5% ตามที่กกร.เคยได้ประมาณการไว้ ขณะที่การส่งออกยังคงมองเป้าหมายที่ 2% เนื่องจากมองว่า เศรษฐกิจโลกยังชะลอ ส่งผลให้หลายประเทศลดการนำเข้าลง ซื้อน้อยลงดังนั้นหากรัฐบาลจะเร่งผลักดันให้การส่งออกขยายตัวได้ 5% จะต้องเร่งหาตลาดใหม่ๆมากขึ้น รวมทั้งผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นความต้องการของตลาด นอกจากนี้ยังต้องเร่งเจาะตลาดเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม)

     "แต่ทุกประเทศรวมทั้งสหรัฐอเมริกา ก็ปรับลดคาดการณ์ GDP ของตัวเองลงเช่นกัน"นายสุพันธุ์ กล่าว

     ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนนั้น ยอมรับว่า ในเดือนมกราคมที่ผ่านมานั้นค่าเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งยังเป็นไปได้ในทิศทางเดียวกับสกุลอื่นๆในภูมิภาค แต่อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ขณะนี้ค่าเงินบาทมีความผันผวนรวดเร็ว ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการกังวลใจ แต่ทั้งนี้ มองว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นเฉพาะสกุลเงินบาทเท่านั้น ยังสอดคล้องกับสกุลเงินเยนและค่าเงินหยวน

     อย่างไรก็ตาม จะต้องจับตาและติดตามสถานการณ์การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทอีกระยะว่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งหากเห็นว่าค่าเงินบาทแข็งค่ามากก็อาจมีการหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อใช้นโยบายดอกเบี้ยเพื่อดูแลค่าเงิน

         อินโฟเควสท์

ส.อ.ท.เผย ดัชนีอุตฯ เดือนม.ค.59 อยู่ที่ 86.3 ลดลงครั้งแรกในรอบ 5 เดือน คงเป้าจีดีพีปีนี้ที่ 3-3.5% - ส่งออก 2%

    ส.อ.ท.เผย ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรม เดือนม.ค.59 อยู่ที่ 86.3 ลดลงครั้งแรกในรอบ 5 เดือน  พร้อมคงคงเป้าจีดีพีปีนี้ที่ 3-3.5% ส่งออก 2% แย้มอาจหารือแบงก์ชาติ หวังกดดันใช้มาตรการดอกเบี้ยดูแลเงินบาท  ส่วนยอดส่งออกรถยนต์ เดือนม.ค.59 อยู่ที่ 93,714 คัน เพิ่มขึ้น 1.38% จากช่วงเดียวกันปี 58 จากส่งออกรถยนต์ PPV พุ่ง 123.9% คงเป้ายอดส่งออกรถปีนี้ที่ 1.22-1.25 ล้านคัน ประเมินตลาดรถจะกลับมาคึกใน Q2/59 รับการลงทุนภาครัฐฯ -การส่งเสริมจาก BOI  

   นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นภาคเอกชนไทยในเดือนมกราคม 2559 ที่ผ่านมาพบว่า อยู่ที่ 86.3 ลดลงจากเดือนธันวาคมที่ผ่านมา 87.5 ทั้งนี้ ค่าดัชนีที่ลดลงเกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมารการผลิต และผลประกอบการ

      "ความเชื่อมั่นในเดือนมกราคมถือว่าปรับลดลงในรอบ 5 เดือน โดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ คือ ปัญหาภัยแล้ง ปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจประเทศจีนซึ่งมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่และเป็นคู่ค้าสำคัญของไทย" นายสุพันธ์ กล่าว

  นอกจากนี้ ยังเป็นผลจากการเร่งการใช้จ่ายในช่วงเดือนก่อนหน้า และความกังวลต่อการชะลอตัวของกำลังซื้อในประเทศ ซึ่งจากความกังวลดังกล่าว ผู้ประกอบการจึงให้ความสำคัญกับการบริโภคภายในประเทศ และการผลักดันให้ผู้ประกอบการขยายตลาดการค้าการลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ให้กับประเทศในปีนี้ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการที่เป็นกลุ่มตัวอย่างยังเห็นว่าราคาน้ำมันที่ปรับลดลงต่อเนื่องส่งผลดีต่อต้นทุนประกอบการ

    สำหรับ ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ 100.8 ปรับลดลงจาก 102.7 ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ ได้แก่ ความกังวลต่อตลาดการเงินโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนรวมทั้งการชะลอตัวของการบริโภคภายในประเทศและปัญหาเงินทุนหมุนเวียนในกิจการโดยเฉพาะเอสเอ็มอี

    ด้านข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการที่มีต่อภาครัฐในเดือนมกราคมที่ผ่านมา คือ ต้องการให้ภาครัฐเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนในโครงการลงทุนทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งเสริมการบริโภคในประเทศ ผ่านนโยบายภาครัฐเพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่าย พร้อมทั้งยกระดับการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพัฒนานวัตกรรม เพื่อสร้างมูค่าสินค้าไทยให้สามารถแข่งขันในเวทีโลก รวมถึงมีการส่งเสริมผู้ประกอบการการขยายตลาดการค้าและการลงทุนไปยังเมืองสำคัญๆของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสร้างโอกาสให้กับสินค้าไทย

       นายสุพันธุ์  เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ในปีนี้ส.อ.ท. ยังคงเป้าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ปีนี้ที่ 3-3.5% ขณะที่การส่งออกยังคงมองเป้าหมายที่ 2% เนื่องจากมองว่า เศรษฐกิจโลกยังชะลอ ส่งผลให้หลายประเทศลดการนำเข้าลง ดังนั้นหากรัฐบาลจะเร่งผลักดันให้การส่งออกขยายตัวได้ 5% นั้น จะต้องเร่งหาตลาดใหม่ๆมากขึ้น รวมทั้งผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นความต้องการของตลาด นอกจากนี้ยังต้องเร่งเจาะตลาดเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม)

   “เรายังไม่ได้ปรับลด แม้ว่าที่อื่นจะมีการปรับลดลงไปแล้ว เพราะที่อื่นที่ปรับลดลงมา เพราะเขาเคยตั้งจีดีพีโต 3.8-4% เลยต้องปรับลด แต่สำหรับเรานั้นก็ถือว่ายังอยูู่ในกรอบการประมาณการ ส่วนด้านที่รัฐบาลพยายามผลักดันการส่งออกให้ได้ 5% นั้น ในภาวะเศรษฐกิจโลกแบบนี้ทุกประเทศลดการนำเข้า น้อยมากที่จะเพิ่มการนำเข้าในตอนนี้ ดังนั้นจะต้องเร่งปรับทั้งตลาดและผลิตภัณฑ์นายสุพันธุ์ กล่าว

   ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนนั้น ยอมรับว่า ในเดือนมกราคมที่ผ่านมานั้นค่าเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งยังเป็นไปได้ในทิศทางเดียวกับสกุลอื่นๆในภูมิภาค แต่อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ขณะนี้ค่าเงินบาทมีความผันผวนรวดเร็ว ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการกังวลใจ แต่ทั้งนี้ มองว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นเฉพาะสกุลเงินบาทเท่านั้น ยังสอดคล้องกับสกุลเงินเยน และหยวนด้วย

    โดยยืนยันว่า ขณะนี้เงินบาทยังเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับสกุลอื่นๆ ซึ่งจะต้องจับตาและติดตามสถานการณ์การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทอีกระยะว่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งหากเห็นว่าค่าเงินบาทแข็งค่ามากนั้น อาจมีการหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. เพื่อใช้นโยบายดอกเบี้ยเพื่อดูแลค่าเงิน

    "แม้ว่า อัตราดอกเบี้ยขณะนี้อยู่ในระดับต่ำที่ 1.5% แต่ประเทศอื่นเขาก็ยังไม่ได้มีการปรับขึ้น ก็ต้องติดตามในเรื่องของค่าเงินบาทต่อไป หากแข็งค่าอาจจำเป็นต้องใช้นโยบายด้านดอกเบี้ยเข้ามาช่วย " นายสุพันธุ์ กล่าว

     ด้านนายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. เปิดเผยถึงจำนวนการผลิตยอดขายภายในประเทศ และการส่งออกรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของประเทศในเดือนมกราคม 2559 ที่ผ่านมาว่า การส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปในเดือนมกราคม ที่ผ่านมาส่งออกได้ 93,714 คัน ส่งออกเท่ากับ 93.14% ของยอดการผลิตเพื่อการส่งออก โดยเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.38% โดยมีมูลค่าการส่งออก 50,582.23 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 22.92% เนื่องจากส่งออกรถยนต์ PPV เพิ่มขึ้น 123.9% ซึ่งเมื่อรวมมูลค่าส่งออกรถยนต์ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 69,149.01 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 89.42%

     ส่วนยอดส่งออกรถจักรยานยนต์ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีจำนวนทั้งสิ้น 72,055 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.85% โดยมีมูลค่า 7,236.74 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 89.42% โดยเมื่อรวมการส่งออกรถจักรยานยนต์ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ชิ้นส่วนและอะไหล่รถจักรยานยนต์ 7,446.33 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 74.7% 

    ด้านการผลิตรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคมมีทั้งสิ้น 147,651 คัน ลดลงจากเดือนมกราคมปีที่ผ่านมา 11.67% และลดลงจากเดือนธันวาคมที่ผ่านมา  3.3% โดยรถยนต์นั่งผลิตได้ 57,376 คัน ลดลงจากเดือนมกราคมของปีก่อน 13.92% รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตัน ในเดือนที่ผ่านมาผลิตได้ 13 คัน และลกลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 60.61% 

     รถยนต์บรรทุกเดือนมกราคมที่ผ่านมาผลิตได้ทั้งหมด 90,262 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 10.17% รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนมกราคมที่ผ่าสนมา ผลิตได้88,621 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.48% ด้านรถจักรยานยนต์เดือนมกราคมที่ผ่านมาผลิตได้ทั้งสิ้น 206,843 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.53% แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป 159,434 คัน ลดลงจากปี 2558 ที่ 8.3% และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ 47,409 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่ 5.18%

    ด้านยอดขายรถยนต์ในประเทศของเดือนมกราคมที่ผ่านมามีทั้งสิ้น 51,715 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 13.4% และลดลงจากเดือนธันวาคมที่ผ่านมา 49.03% ยอดขายภายในประเทศลดลง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจภายในประเทศยังไม่ฟื้นตัว ราคาสินค้าเกษตรยังหดตัวอยู่ในระดับต่ำ การลงทุนของภาคเอกชนชะลอตัว ประกอบกับลูกค้าบางส่วนได้ตัดสินใจซื้อรถยนต์ช่วงปลายปีที่แล้วก่อนปรับราคาขึ้นตามโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ ส่วนรถจักรยานยนต์มียอดขาย 161,070 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคมปีที่ผ่านมา 12.7% และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 31.25%

     นอกจากนี้ ส.อ.ท.ยังคงเป้าหายอดขายขายรถยนต์ในประเทศปีนี้ที่ 750,000-780,000 คัน ลดลงจากปีที่ผ่านมา 799,000 คัน และยอดส่งออก 1.22-1.25 ล้านคัน โดยจะต้องมาดูว่าจะมีการปรับลดเป้าหมายหรือไม่ เนื่องจากเป้าหมายที่ตั้งไว้บนสมมติฐานที่จีดีพีขยายตัวได้ 3-4%

    ขณะที่ยอดขายในเดือนกุมภาพันธ์ คาดว่าจะชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมา และทั้งไตรมาสแรกของปีนี้ ยอดขายยังชะลอเช่นเดียวกัน เนื่องจากมียอดสั่งซื้อไปแล้วตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากประชาชนกังวลกับการปรับโครงสร้างภาษีรถใหม่ ซึ่งมองว่ายอดขายรถจะเริ่มกลับมาดีขึ้นในช่วงไตรมาส 2 เป็นต้นไป เพราะมีการคาดการณ์ว่ายอดส่งมอบรถยนต์คาดจะแล้วเสร็จในเดือนเมษายนนี้ ประกอบกับจะได้รับอานิสงส์จากการลงทุนภาครัฐ และการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI

ส.อ.ท.คงเป้าจีดีพีปีนี้ที่ 3-3.5% ส่วนส่งออกคาดโต 2% ชี้หากภาครัฐฯ เร่งเจาะตลาด CLMV อาจช่วยดันส่งออกแตะ 5%

   นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. เปิดเผยว่า ในปีนี้ส.อ.ท. ยังคงเป้าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ปีนี้ที่ 3-3.5% ขณะที่การส่งออกยังคงมองเป้าหมายที่ 2% เนื่องจากมองว่า เศรษฐกิจโลกยังชะลอ ส่งผลให้หลายประเทศลดการนำเข้าลง ดังนั้นหากรัฐบาลจะเร่งผลักดันให้การส่งออกขยายตัวได้ 5% นั้น จะต้องเร่งหาตลาดใหม่ๆมากขึ้น รวมทั้งผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นความต้องการของตลาด นอกจากนี้ยังต้องเร่งเจาะตลาดเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม)

    เรายังไม่ได้ปรับลด แม้ว่าที่อื่นจะมีการปรับลดลงไปแล้ว เพราะที่อื่นที่ปรับลดลงมา เพราะเขาเคยตั้งจีดีพีโต 3.8-4% เลยต้องปรับลด แต่สำหรับเรานั้นก็ถือว่ายังอยู่ในกรอบการประมาณการ ส่วนด้านที่รัฐบาลพยายามผลักดันการส่งออกให้ได้ 5% นั้น ในภาวะเศรษฐกิจโลกแบบนี้ทุกประเทศลดการนำเข้า น้อยมากที่จะเพิ่มการนำเข้าในตอนนี้ ดังนั้นจะต้องเร่งปรับทั้งตลาดและผลิตภัณฑ์นายสุพันธุ์ กล่าว

     ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนนั้น ยอมรับว่า ในเดือนมกราคมที่ผ่านมานั้นค่าเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งยังเป็นไปได้ในทิศทางเดียวกับสกุลอื่นๆในภูมิภาค แต่อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ขณะนี้ค่าเงินบาทมีความผันผวนรวดเร็ว ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการกังวลใจ แต่ทั้งนี้ มองว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นเฉพาะสกุลเงินบาทเท่านั้น ยังสอดคล้องกับสกุลเงินเยน และหยวนด้วย

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!