WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Fสพนธ มงคลสธส.อ.ท.เผยดัชนีเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ก.พ.59 อยู่ที่ 85.1 จาก 86.3 ในม.ค.

   นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.พ.59 อยู่ที่ระดับ 85.1 ปรับตัวลดลงจากระดับ 86.3 ในเดือน ม.ค.59 เนื่องจากการปรับตัวลดลงของยอดคำสั่งซื้อโดยรวม, ยอดขายโดยรวม, ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

    "ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 2 มีสาเหตุมาจากความกังวลต่อการชะลอตัวของอุปสงค์และกำลังซื้อในภูมิภาค ปัญหาภัยแล้งที่ขยายพื้นที่ไปในวงกว้าง ขณะที่ปัญหาเศรษฐกิจโลกยังไม่คลี่คลายและอยู่ในสภาวะเปราะบาง ทำให้ผู้ประกอบการระมัดระวังในการขยายการลงทุน" นายสุพันธุ์ กล่าว

   ขณะที่ดัชนี ความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 100.1 โดยปรับตัวลดลงจาก 100.8 ในเดือน ม.ค.59 โดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการใน 3 เดือนข้างหน้า ได้แก่ ปัญหาสภาพคล่องของผู้ประกอบการ SMEs, ปัญหาภัยแล้งที่คาดว่าจะมีรุนแรงและมีระยะเวลายาวนานต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อการผลิตภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ตลอดจนความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ

   ประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า สำหรับข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการที่มีต่อภาครัฐในเดือน ก.พ.คือ ต้องการให้ภาครัฐเร่งรัดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานให้ได้ตามแผนงานที่กำหนดไว้, ขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่เพื่อลดการพึ่งพาตลาดหลักที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจ รวมถึงส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมให้กับสินค้าเพื่อสร้างโอกาสและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าไทย และให้การสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตอล และการซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่าน E-Commerce

    นายสุพันธ์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้เอกชนมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกอย่างมากเนื่องจากอาจมีการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกลดลงอีก และเชื่อว่าแม้แต่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ก็คงจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแต่อย่างใด ซึ่งก็จะกระทบต่อการบริโภคของโลกที่ลดลงและจะสะท้อนมายังการนำเข้าและส่งออกสินค้าโดยรวม ขณะที่ภาวะภัยแล้งขณะนี้กลายเป็นสิ่งที่จะกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศค่อนข้างมากดังนั้นรัฐบาลควรจะพิจารณาการแก้ปัญหาภาคเกษตรแบบยั่งยืนด้วยการเร่งลงทุนระบบน้ำซึ่งหากรัฐมีปัญหาด้านเม็ดเงินลงทุนก็สามารถชะลอการสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงได้เพราะเห็นว่ายังไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนหากเทียบกับรถไฟระบบรางคู่ที่จะใช้ขนสินค้า

    "รัฐทำหลายอย่างเพื่อกระตุ้นแรงซื้อ แต่เงินก็ไม่ถึงประชาชนรวดเร็วไม่เหมือนกับที่ผ่านมาได้แจกเงินถึงมือประชาชนแต่ก็เป็นประชานิยมทุกอย่างมีข้อดีและเสีย ขณะที่ใครเป็นรัฐบาลขณะนี้ก็ลำบากเพราะเศรษฐกิจทั้งในและนอกแย่หมดก็ต้องอดทนจนกว่าเงินจะไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากกว่านี้ และหากดูภาวะภัยแล้งก็ฉุดแรงซื้อภาคเกษตรไปมากกระทบหมดจึงเห็นว่าระบบน้ำสำคัญมากที่จะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มก็เข้าใจว่ารัฐเองกำลังพิจารณางบน้ำ 3.5 แสนล้านบาทอยู่แต่ก็อยากให้เร่ง"นายสุพันธุ์กล่าว

    สำหรับ สถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ซึ่งในวันที่ 29 มี.ค.คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) จะมีรณรงค์ของภาคการผลิตและบริการส่วนของเอกชนลดใช้น้ำแต่ละรายลง 30% ในช่วงเม.ย.-มิ.ย. 59 และมีการสัมมนาเพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการประหยัดน้ำ

   นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ส.อ.ท.กล่าวเสริมว่า เพื่อเป็นการรณรงค์ประหยัดใช้น้ำลง ทางกลุ่มยานยนต์ ส.อ.ท.ได้แจ้งไปยังค่ายรถกรณีศูนย์ซ่อมรถยนต์หากเป็นไปได้เมื่อลูกค้านำรถมาซ่อมถ้าขอความร่วมมือได้ก็ช่วยเจรจาไม่ต้องล้างรถหลังซ่อมเสร็จเพื่อเป็นการประหยัดน้ำช่วยชาติ

อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!