WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Fสพนธ มงคลสธส.อ.ท.เผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ.59 อยู่ที่ 85.1 จาก 86.3 ในเดือนม.ค. จากพิษภัยแล้ง-ปัญหาศก.โลก

   นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559 จำนวน 1,201 ราย ครอบคลุม 44 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยแยกเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดย่อม อุตสาหกรรมขนาดกลาง และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ร้อยละ30.3,35.0 และ 34.7 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ตามลำดับ นอกจากนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ร้อยละ 42.2,12.7,16.0,10.2 และ18.9 ตามลำดับ และแบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศ และกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดต่างประเทศ ร้อยละ 82.9 และ 17.1 ตามลำดับ ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 อยู่ที่ระดับ 85.1 ปรับตัวลดลงจากระดับ 86.3  ในเดือนมกราคม ทั้งนี้ค่าดัชนีฯ ที่ลดลงเกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ

   สำหรับ ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 2 มีสาเหตุมาจากความกังวลต่อการชะลอตัวของอุปสงค์และกำลังซื้อในภูมิภาค ปัญหาภัยแล้งที่ขยายพื้นที่ไปในวงกว้าง ขณะที่ปัญหาเศรษฐกิจโลกยังไม่คลี่คลายและอยู่ในสภาวะเปราะบาง ทำให้ผู้ประกอบการระมัดระวังในการขยายการลงทุน อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจพบว่าสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้ในชีวิตประจำวันยังมีความต้องการต่อเนื่อง เห็นได้จากดัชนียอดคำสั่งซื้อและยอดขายที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร น้ำตาล น้ำมันปาล์ม เครื่องสำอาง และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น

   สำหรับ ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 100.1 ปรับตัวลดลงจากระดับ 100.8 ในเดือนมกราคม เนื่องจากผู้ประกอบการยังคงมีความกังวลต่อปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการดำเนินกิจการ ปัญหาสภาพคล่องของผู้ประกอบการ SMEs ปัญหาภัยแล้งที่คาดว่าจะรุนแรงและมีระยะเวลายาวนานต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อการผลิตของภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ตลอดจนความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเห็นว่าการลงทุนและการบริโภคของภาครัฐ เป็นกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ภายใต้ภาวะที่การบริโภคภาคเอกชนชะลอตัว ดังนั้น การใช้จ่ายภาครัฐสู่ภาคเศรษฐกิจจะช่วยจูงใจให้เกิดการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น ตลอดจนมาตรการทางการเงินของภาครัฐที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนหมุนเวียนได้อีกด้วย

     ส่วน ดัชนีความเชื่อมั่นจำแนกตามขนาดของของกิจการ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 จากการสำรวจพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของอุตสาหกรรมทุกขนาด ปรับตัวลดลงจากเดือนมกราคม

   โดย อุตสาหกรรมขนาดย่อม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 อยู่ที่ระดับ 77.1 ปรับตัวลดลงจากระดับ 78.0 ในเดือนมกราคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร, อุตสาหกรรมสมุนไพร และอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้นขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 96.0 ลดลงเล็กน้อยจากระดับ 96.5 ในเดือนมกราคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

   อุตสาหกรรมขนาดกลาง พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 อยู่ที่ระดับ 84.5 ลดลงจากระดับ 86.8 ในเดือนมกราคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ลดลงได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลางที่ค่าดัชนีฯปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ, อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม และอุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑ์หนัง เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 99.6 ลดลงเล็กน้อยจากระดับ 99.7 ในเดือนมกราคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

   ด้าน อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ พบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 อยู่ที่ระดับ 92.7 ลดลงจากระดับ 94.3 ในเดือนมกราคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม, อุตสาหกรรมพลาสติก และอุตสาหกรรมต่อเรือซ่อมเรือและก่อสร้างงานเหล็ก เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับอยู่ที่ระดับ 104.1 ลดลงจากระดับ 106.6 ในเดือนมกราคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ                                               

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!