- Details
- Category: มหาดไทย
- Published: Tuesday, 18 July 2023 11:08
- Hits: 1388
กรมการพัฒนาชุมชน สนับสนุนเยาวชนรุ่นใหม่สร้างสรรค์ผลงานพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์ OTOP สู่สากล
เมื่อเร็วๆ นี้ ณ โรงแรมเดอะ คาวาลิ คาซ่า รีสอร์ท ตำบลบ้านเกาะ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กรมการพัฒนาชุมชน ได้เปิดโครงการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์ Young OTOP สู่สากล
นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์ Young OTOP สู่สากล กิจกรรมการการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์Young OTOP สู่สากล โดยมีนางสาวณัฐนิช อินทสระ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของโครงการฯ และวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและทรงคุณวุฒิ จากหลากหลายสาขาวิชาชีพ อาทิ ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย นักออกแบบดีไซเนอร์ ผ้าไทยที่มีชื่อเสียง ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์ ตลอดทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด ด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์การต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ ดร.ฐิศิรักษ์ โปตะวณิช ดร.ณัฐวรรธน์ วอวัฒน์กิจภูวดล ดร.กรกลด คำสุข ผศ.ดร.รวิเทพ มุสิกะปาน ดร.กิติศักดิ์ เยาวนนท์ ผศ.ดร.มยุรี ศรีกุลวงศ์ ร่วมให้ความรู้ฯ ทั้งนี้ได้รับเกียรติจากนางจิณณารัชช์ สัมพันธรัตน์ ประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน ผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน ประกอบด้วย นายชูชีพ พงษ์ไชย รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน นำทีมโดย นายกิจจา ทองแดง นายกิตติพล เวชกุล นายวสันต์ ชิงชนะ นายสุธีย์ มั่งมี พัฒนาการจังหวัดในเขตพื้นที่ภาคกลาง 14 จังหวัด และผู้แทนพัฒนาการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นางสาวริตยา รอดนิ่ม ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมภูมิปัญญา พัฒนาการอำเภอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน เข้าร่วมกิจกรรมฯ
นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า การจัดโครงการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์ Young OTOP สู่สากล ทำให้เราได้เห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เป็นทายาทผู้ประกอบการ OTOP หรือเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่สนใจเข้ามามีส่วนร่วม และเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเป็นการต่อยอดให้ Young OTOP ได้รับการพัฒนาศักยภาพ เป็นผู้ประกอบการ OTOP รุ่นใหม่ ที่มีความสามารถในการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม โดยดึงเสน่ห์เรื่องราว ผลิตภัณฑ์มาสร้างสรรค์เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความร่วมสมัยตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและสามารถแข่งขัน ในช่องทางการตลาดได้ทั้ง Offlineและ Online ซึ่งจะทำให้ Young OTOP มีอาชีพ มีรายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากมั่นคงและชุมชน ตลอดจนวางรากฐานให้เยาวชนคนรุ่นใหม่เติบโตขึ้นมาทนแทนคนรุ่นเก่าที่กำลังร่วงโรยลงไป ให้เกิดการอนุรักษ์ภูมิปัญญาดั้งเดิมและต่อยอดการพัฒนา จากรุ่นสู่รุ่น และในส่วนของกลุ่มที่กรมการพัฒนาชุมชนได้พัฒนาแล้ว ยังคงจะต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้เป็นกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบ OTOP ที่มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นในอนาคตต่อไป
การจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์ Young OTOP สู่สากล จำนวน 3 จุดดำเนินการ ได้แก่ จุดดำเนินการที่ 1 กลุ่มเป้าหมายภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 27-28 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่, จุดดำเนินการที่ 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 5 – 6 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรมอุบลบุรี โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท ตำบลวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และจุดดำเนินการที่ 3 กลุ่มเป้าหมายฯ ภาคกลางและภาคใต้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม เดอะ คาวาลิ คาซ่า รีสอร์ท ตำบลบ้านเกาะ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
นางสาวณัฐนิช อินทสระ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมการพัฒนาชุมชน จัดดำเนินกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์Young OTOP สู่สากล โดยให้ความสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนเพื่ออนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น มุ่งเน้นให้เยาวชนมีบทบาท และมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยดำเนินการเพิ่มทักษะการเรียนรู้และเสริมสร้างประสบการณ์ให้กับเยาวชน ร่วมกันอนุรักษ์ และสืบสานภูมิปัญญา ทำให้เกิดการตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่จะต้องอนุรักษ์ไว้ รวมทั้งมีองค์ความรู้ในการประกอบอาชีพ สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองครอบครัว โดยกรมการพัฒนาชุมชน ได้จัดทำโครงการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์ Young OTOP สู่สากล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะองค์ความรู้ให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (Young OTOP) ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ต่อยอด ภูมิปัญญา ยกระดับการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีคุณภาพมาตรฐาน มีอัตลักษณ์เฉพาะ สร้างสรรค์และทันสมัย สามารถแข่งขันในตลาดสากล รวมถึงการเพิ่มช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์ Young OTOP ให้มากยิ่งขึ้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ ผ่านการคัดเลือกเป็นเยาวชน Young OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย และประเภทของใช้ของตกแต่ง ของที่ระลึก ที่ผ่านการคัดเลือก รวมทั้งสิ้น 111 ราย จาก 49 จังหวัด ได้แก่ ภาคเหนือ จำนวน 10 จังหวัด 27 ราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 16 จังหวัด 39 ราย ภาคกลาง จำนวน 14 จังหวัด 25 ราย และภาคใต้ จำนวน 9 จังหวัด 20 ราย กิจกรรมที่ดำเนินการตามโครงการฯ ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์ Young OTOP สู่สากล โดยผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ ดำเนินการ 3 จุดๆ ละ 2 วัน ได้แก่ จุดที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการเมื่อวันที่ 27 - 28 มิถุนายน 2566 จุดที่ 2 จังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินการเมื่อวันที่ 5 – 6 กรกฎาคม 2566 และจุดที่ 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดำเนินการระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2566
กิจกรรมที่ 2 พัฒนาต่อยอดภูมิปัญญา Young OTOP สู่สากล โดยดำเนินการร่างต้นแบบผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของผู้ประกอบการ Young OTOP ที่เข้าร่วมโครงการ และผลิตต้นแบบผลิตภัณฑ์พร้อมบรรจุภัณฑ์ จำนวนไม่น้อยกว่า รายละ 1 ชิ้นงาน
กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมทดสอบตลาด การประชาสัมพันธ์ การจัดแสดง และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านระบบ Online หรือวิธีการอื่นที่เหมาะสม และประกวดผลงานผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาตามโครงการ ฯ รับรางวัลต้นกล้านารีรัตน รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
A7557