WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ปัดฝุ่น'ผู้ว่าฯซีอีโอ' พลิกฟื้นเศรษฐกิจ

1ผวาฯซอโอ

     มติชนออนไลน์ : ไอเดีย 'ผู้ว่าฯซีอีโอ'เข้าประจำการ นำมาใช้ครั้งแรกช่วงนายทักษิณ ชินวัตร ยังมี 'พ.ต.ท.'นำหน้า กุมบังเหียนบริหารประเทศรอบแรกเมื่อปี 2544 
     เป็นการนำคำสองคำที่ใช้เรียกผู้บริหารมารวมกัน
     'ผู้ว่าฯ'มาจาก 'ผู้ว่าราชการจังหวัด'ผู้บริหารสูงสุดของจังหวัดในระบบราชการ
     "ซีอีโอ" มาจาก 'Chief Executive Officer'หรือหัวหน้าคณะผู้บริหาร ในระบบธุรกิจ
      พ.ต.ท.ทักษิณครั้งโน้น นำสองคำมาผูกรวมเป็นผู้ว่าฯซีอีไอ เพื่อให้เกิดการบริหารราชการระดับจังหวัดรูปแบบใหม่ 
      ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจเต็มในการบริหารงาน บูรณาการองคาพยพระบบทั้งหมดในจังหวัด โดยได้รับการสนับสนุนทรัพยากร เช่น คน เงิน และอื่นๆ ที่จำเป็น ตามแผนที่ได้รับอนุมัติจากรัฐบาล
     จนกระทั่งการเมืองเปลี่ยน ทั้งคำ ความหมาย และบทบาทของ'ผู้ว่าฯซีอีโอ'ก็จางหายไปตามขั้วอำนาจที่เปลี่ยนมือ
     มาปรากฏให้ได้ยินกันอีกครั้ง เมื่อหอการค้าไทยเชิญ สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมช.พาณิชย์ ไปบรรยายแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจ
     อิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทย จึงถือโอกาสฝากรัฐมนตรีสุวิทย์ผ่านไปถึงรัฐบาล ดึงผู้ว่าราชการจังหวัดเข้ามามีบทบาทผลักดันภาคการค้าในลักษณะ "ผู้ว่าฯซีอีโอ" กลับมาอีกครั้ง คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย ปูพื้นถึงจุดเริ่มต้นของผู้ว่าฯซีอีโอในระยะเริ่มแรกว่า ในช่วงนั้นมีความพยายามในเรื่องการกระจายรายได้และความเจริญไปสู่จังหวัดต่างๆ โดยหลักการคือ เน้นให้ชาวบ้านได้มีโอกาสร่วมตัดสินใจในตัวนโยบายและงบประมาณในการแก้ไขปัญหาในท้องถิ่นนั้นๆ เริ่มต้นที่กองทุนหมู่บ้าน แต่เมื่อทำไปซักพักก็ติดขัดบัญหาในระบบราชการเพราะไม่มีเจ้าภาพ จึงได้มีการมาคิดกันว่าต้องสร้างความเป็นเจ้าภาพให้กับข้าราชการ โดยเฉพาะผู้ที่รับผิดชอบในต่างจังหวัดให้บริหารการ
     กระจายงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ เลยคิดว่าควรให้อำนาจผู้ว่าฯ ในพื้นที่เป็นคนรับผิดชอบ จะได้เป็นเจ้าภาพผลักดันงานได้อย่างเต็มที่ เพราะผู้ว่าฯถือเป็นผู้บริหารสูงสุดในจังหวัดนั้น 
    ด้วยเหตุนี้ผู้ว่าฯซีอีโอจึงเกิดขึ้น โดยให้ผู้ว่าฯร่วมปรึกษาหารือกับประชาชนเรื่องการจัดสรรงบประมาณ เพราะถ้าจัดสรรจากส่วนกลาง งบจะเหมือนกันหมด แต่โครงการผู้ว่าฯซีอีโอ รัฐบาลให้จังหวัดเป็นผู้เสนอแผนงานขึ้นมา และกระจายงบประมาณไปในพื้นที่ โดยให้ประชาชนกับผู้ว่าฯได้คิดร่วมกันซึ่งก็จะได้ในสิ่งที่แต่ละจังหวัดต้องการ และได้พัฒนาในสิ่งที่พื้นที่มีอยู่
    ส่วนผลการดำเนินการ เมื่อได้ดำเนินการไปซักระยะหนึ่ง เห็นว่ามีการพัฒนาในพื้นที่ ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ตรงกับความต้องการของคนในพื้นที่ เช่น พื้นที่จังหวัดท่องเที่ยว ได้มีการพัฒนาเน้นหนักในเรื่องการท่องเที่ยว ส่วนพื้นที่การเกษตรก็ได้จัดสรรงบประมาณไปพัฒนาในเรื่องของการเกษตร ได้รับเสียงตอบรับจากประชาชนเป็นอย่างดี ประชาชนมีความพึงพอใจ โดยได้มีการทำงานสอดคล้องกัน ระหว่างกองทุนหมู่บ้านกับผู้ว่าฯซีอีโอ 
    ส่วนแนวคิดดังกล่าวจะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร ผลักดันให้เกิดเป็นจริงเป็นจังได้มากน้อยแค่ไหน ว่าที่ ร.อ.จิตร์ ศิรธรานนท์ ประธานกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ ภาคกลาง หอการค้าไทย ขยายความข้อเสนอฟื้นฟูผู้ว่าฯ
    ซีอีโอว่า ก่อนหน้านี้นายกฯกล่าวว่า รัฐบาลทำธุรกิจไม่ได้ ขณะที่เอกชนก็บริหารราชการแผ่นดินไม่ได้ เพราะความรู้ความชำนาญไม่เหมือนกัน แต่เอกชนเห็นว่าน่าจะร่วมมือกันได้ จึงมีแนวคิดเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดมาเข้าอบรมหลักสูตรการบริหารงานเหมือนภาคเอกชน อาจเป็นระยะสั้นๆ เพื่อให้ผู้ว่าได้เห็นภาพอีกมิติ และนำนโยบายรัฐต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจมาใช้ให้ตรงจุดมากขึ้น ซึ่งการนำนโยบายและใช้เงินตรงเป้าหมายให้มากสุดจะเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เงินและเกิดผลลัพธ์จากเงินที่ใช้ เช่น เงินช่วยหมู่บ้าน 1 ล้านบาท ที่ผ่านมามักมองแค่ไม่ให้เกิดการโกง และเร่งใช้เงินตามเวลา โดยไม่ได้พิจารณาให้รอบด้าน เช่น จ้างขุดคลอง จะให้เร็วก็จ้างรถขุด ผลก็ได้กับนายทุน แต่หากนำไปพัฒนาโอท็อป เสริมรายได้ชุมชน โดยต้องพัฒนาสินค้าให้แตกต่างและมีแบรนด์ของตนเอง ก็จะเป็นสิ่งที่ดีกว่า 
      "เชิงเศรษฐกิจเงินลงระบบควรหมุนเพิ่มมูลค่า 4 รอบ คือลงเงินไป 1 ล้าน ก็ควรเห็น 4 ล้าน ซึ่งเชื่อว่าการเพิ่มทักษะและเพิ่มความรู้เชิงบริการแบบเอกชน จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้มาก แต่ที่อยากฝากคือในอดีตมักเปลี่ยนผู้ว่าราชการจังหวัดบ่อย จะไม่เกิดความต่อเนื่อง เรื่องผู้ว่าฯซีอีโอ หากรัฐผลักดันจะเอื้อต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจมาก เป็นเรื่องของการปรับความคิด ระยะยาวจะดีและมีประโยชน์" 
     ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นด้วยกับการฟื้นผู้ว่าฯซีอีโอ เพราะจะทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตเร็ว อีกทั้งประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม ลาว และจีน ต่างมีผู้ว่าฯซีอีโอเพื่อวางนโยบายแต่ละจังหวัดและมณฑล โดยประเทศจีนมีผู้ว่าการมณฑล ขณะที่ประเทศลาวมีเจ้าแขวง ส่วนเวียดนามให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดในการตัดสินใจเรื่องการลงทุน เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจเวียดนามโตเกือบเท่าประเทศไทย และมีการเติบโตที่โดดเด่น เพราะแต่ละจังหวัดจะมีนโยบายแข่งขันกันเอง พยายามสร้างความน่าสนใจจูงใจให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในจังหวัดของตัวเอง 
     ในส่วนของประเทศไทยหากจะดำเนินการจริง จำเป็นต้องแก้ไขหรือปรับปรุงกฎระเบียบบางข้อ คือ 1.ควรกำหนดเป็นผู้ว่าฯซีอีโอจังหวัดที่มีคลัสเตอร์หรือกลุ่มอุตสาหกรรมเหมือนกัน เพราะจังหวัดของประเทศไทยมีมากเกินไป 2.ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอยู่บริหารแต่ละจังหวัดอย่างน้อยคนละ 4 ปี เพราะการปรับเปลี่ยนผู้ว่าฯมากเกินไปจะมีผลต่อนโยบาย 3.ควรแต่งตั้งผู้ว่าฯ ที่มีความรู้เหมาะสมกับเศรษฐกิจในจังหวัดนั้นๆ 4.ไม่ควรใช้การเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ควรใช้การแต่งตั้งผู้ว่าฯในระบบเดิม 
   5.ควรกำหนดขอบเขตที่ผู้ว่าจะสามารถตัดสินใจให้เอกชนลงทุนให้ชัดเจน หากโครงการลงทุนมีมูลค่ามากควรให้หน่วยงานกลางเป็นผู้ตัดสินใจ ป้องกันการแทรกแซงจากนายทุน

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!