WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสมคด ถก'มหาดไทย'ขอล้วงเงินองค์กรท้องถิ่นมาใช้ก่อน'สมคิด'เดินหน้ากระตุ้นศก.

     รองนายกฯสมคิด เผยหารือผู้บริหาร'มหาดไทย' ดึงเงินองค์กรท้องถิ่นฝากแบงก์บางส่วนออกมาพัฒนาชนบท พร้อมเร่งคลอด "อี-เพย์เม้นท์" ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ในอีก 6 เดือนข้างหน้า

      นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้หารือกับกระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ เพื่อการขับเคลื่อนภาวะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรก ด้วยการนำเงินฝากขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กับสถาบันการเงิน รอการเบิกจ่ายไปใช้ในการลงทุนและฝากใช้ ซึ่งเป็นเงินทุนหมุนเวียนกว่า 3 แสนล้าน หากนำออกมาใช้เพียงบางส่วน จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาโครงการต่างๆ ภายในท้องถิ่น จึงต้องศึกษาแนวทางการลงทุนให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้น ดังนั้นต่อไป รัฐบาลจะร่วมมือผ่านเครือข่ายสหกรณ์ อปท. สภาเกษตรกร ช่วยกันพัฒนาเศรษฐกิจในระดับ แนวนอนมากขึ้น

   โดยที่ผ่านมารัฐบาลได้พยายามส่งเสริม การลงทุนตำบลละ 5 ล้านบาท วงเงิน 36,275 ล้านบาท  เพื่ออัดฉีดเงินสู่ระบบฐานราก แต่ยังเบิกจ่ายได้ล่าช้า และค้างท่ออยู่น่าจะออกสู่ระบบได้หมดในช่วงไตรมาส 2 ดังนั้น ครม.จึงเห็นชอบอัดฉีดเม็ดเงิน ผ่านกองทุนหมู่บ้านเพิ่มเติมอีก 35,000 ล้านบาท เพื่อจัดสรรให้กองทุนหมู่บ้านละ 5 แสนบาท พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในท้องถิ่น คาดว่าจะออกสู่ระบบได้ช่วงปลายเดือนก.พ.นี้ โดยการเงินอัดฉีดโดยตรงผ่านกองทุนหมู่บ้านทุกแห่ง จะให้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โรงสีข้าวชุมชน รถสีข้าว รถเกี่ยวข้าว ลานตากข้าว แหล่งน้ำชุมชน เพื่อใช้เงินพัฒนาแนวทางดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว จึงคาดว่า จะประคับประคองเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีแรกให้ผ่านพ้นไปได้ โดยไม่ได้หวังให้เศรษฐกิจเติบโตสูง

      ในวันเดียวกัน นายสมคิดได้เป็นประธานประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนระบบการชำระเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์ (National e-Payment)

    นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เปิดเผย ผลประชุมว่า การดำเนินการพัฒนาระบบ "อี-เพย์เม้นท์" จะต้องให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี 6 เดือน โดยใน 6 เดือนแรก จะสามารถเปิดลงทะเบียนเลขบัตรใช้ Any id เป็นลำดับแรก เพื่อระบุตัวตน เช่น เลขบัตรประชาชน หรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือในการใช้ชำระสินค้าแทนเงินสด ซึ่งจะใช้ได้ตั้งแต่จำนวน 20 บาท ขึ้นไป

    สำหรับ ระบบอี-เพย์เม้นท์ได้แบ่งออกเป็น 5 โครงการ ประกอบด้วย 1.โครงการระบบการชำระเงินแบบใช้หมายเลขใดก็ได้(Any id) 2.ขยายบัตรทำให้ร้านค้าต่างๆ ทั้งขนาดใหญ่และเล็ก มีเครื่องรับ ชำระเงินด้วยบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (EDC) ซึ่งจะสามารถรับบัตรใดก็ได้ 3.โครงการระบบภาษี ทำให้ข้อมูลทางภาษีสามารถส่งตรงถึงกรมสรรพากรได้ทันที เพื่อสะดวกและป้องกันการรั่วไหลทางภาษี

     ขณะที่ 4.โครงการอี-เพย์เม้นท์ภาครัฐ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกจะต้องรับและจ่ายเงิน ผ่านอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด ส่วนสองคือการบูรณาการ สวัสดิการ และ 5.โครงการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ และสิทธิประโยชน์ต่างๆ สำหรับ ผู้ใช้ในช่วงเริ่มต้น

       "การให้สวัสดิการทางสังคมให้ผู้มีรายได้น้อย ตรงจุดจริงๆ จากปัจจุบันให้กันทั่วไป เช่น รถเมล์ฟรี ต่อไปจะเฉพาะเจาะจงคนมากขึ้น และทุกคนจะเข้าถึง การบริการทางการเงินได้มากขึ้น การเงินเข้าสู่ประชาชนทุกคนและรากหญ้าได้ และหวังว่าระบบเดินหน้าได้คล่อง การใช้เงินสดจะลดน้อยลง ซึ่งมีต้นทุนสูง" นายอภิศักดิ์ กล่าว

     นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้ตั้งคณะอนุกรรมการ 4 ชุด ประกอบด้วย คณะอนุกรรมการชุดแรกจะดู โครงการ Any id และการขยายบัตรและเครื่อง EDC โดยมี นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เป็นประธาน ส่วน คณะอนุกรรมการชุดที่สอง จะดูเรื่องเกี่ยวกับภาษี มีนายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เป็นประธาน ขณะที่นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง จะเป็นประธานทั้งคณะอนุกรรมการชุด ที่สาม เรื่องของการบูรณาการ อี-เพย์เม้นท์ภาครัฐ และ ชุดที่สี่ เรื่องประชาสัมพันธ์และสิทธิประโยชน์ต่างๆ

       นายอภิศักดิ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้เดินหน้า มาพอสมควรแล้ว และมีการประสานงานกับธนาคาร และสมาคมธนาคารไทย และผู้ว่าการ ธปท. ส่วนโครงการที่จะขยายเครื่องรับชำระเงินนั้น ตั้งเป้า จะขยายเครื่องรับบัตร e-payment 2 ล้านเครื่อง จากปัจจุบันมีเครื่องรับบัตรอยู่ที่ 1 แสนเครื่อง

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!