WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ

ตำรวจไซเบอร์ เรียนชี้แจงความคืบหน้าคดีแชร์ออมเงิน 'บ้านร่ำรวยเงินทองปี 4 '

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) เรียนชี้แจงความคืบหน้าคดีแชร์ออมเงิน 'บ้านร่ำรวยเงินทองปี 4 'ดังนี้ ตามที่มีการนำเสนอข่าวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ กรณีมีผู้เสียหายหลายรายเข้าพบพนักงานสอบสวน กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับนายวงแชร์'บ้านร่ำรวยเงินทองปี 4' ที่ได้หลอกลวงชักชวนผู้เสียหายให้เล่นแชร์ออมเงิน

เพื่อรับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย ในอัตราสูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเงินลงทุน ต่อมาพบความผิดปกติ มีสมาชิกวงแชร์รายใหม่เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ ผู้เสียหายเชื่อว่านายวงแชร์หลอกลวงใช้สมาชิกที่ไม่มีตัวตนอยู่จริง หรือที่เรียกว่ามือผี มาทำการรับผลตอบแทน หรือเปียแชร์แทน ทำให้ได้รับความเสียหายรวมประมาณ 100 ล้านบาท นอกจากนี้ยังพบว่ามีการตั้งวงแชร์มากกว่า 10 วง ทั้งแบบรายวัน รายอาทิตย์ และรายเดือน มีวงเงินตั้งแต่ 10,000 ไปจนถึง 1,000,000 บาท อีกด้วย

จึงขอเรียนชี้แจงให้ทราบว่า จากการตรวจสอบมีผู้เสียหายบางส่วนแจ้งความผ่านระบบรับแจ้งความออนไลน์ที่ www.Thaipoliceonline.com โดยจากการวิเคราะห์ พบความเชื่อมโยงทางคดีมากกว่า 50 เรื่อง (Case ID) ซึ่งคาดว่าภายในต้นสัปดาห์ถัดไป ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือ ศปอส.ตร.

จะมีความเห็นเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นไปยังผู้บริหารคดี ระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อพิจารณาสั่งการให้รวบรวม สั่งโอนสำนวนคดีไปยังพนักงานสอบสวนหน่วยที่รับผิดชอบทำการสอบสวน ตามคำสั่ง ตร.ที่ 468/65 เรื่องการรับแจ้งความและการบริหารคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ฯ และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

ตามนโยบายของรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งรับผิดชอบงานในด้านการป้องกันปราบปราม ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อภัยการหลอกลวงประชาชนผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับการชักชวนหลอกลวงลงทุนออนไลน์ การระดมทุนที่ผิดกฎหมาย โดยได้กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งวางมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง

ที่ผ่านมา กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบ มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

การกระทำลักษณะดังกล่าวเข้าข่ายเป็นความผิดฐาน “ฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ, ความผิดตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 มาตรา 6 มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

และความผิดตาม พ.ร.ก.กู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ ตามมาตรา 4, 5 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 500,000 ถึง 1,000,000 บาทและปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาท ตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ ” หรือกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามพฤติการณ์ในแต่ละกรณี

โฆษก บช.สอท. กล่าวอีกว่า การหลอกลวงในลักษณะดังกล่าว มิจฉาชีพมักชักชวนเหยื่อผ่านสื่อสังคมออนไลน์ มีการโฆษณาชวนเชื่อ เช่น ลงทุนน้อยได้กำไรสูงในเวลาอันรวดเร็ว ไร้ความเสี่ยง หรือมีการแอบอ้างบุคคลที่ประสบความสำเร็จ มีการอบรมสัมมนาให้ความรู้ด้านการลงทุน นอกจากนี้ยังมีการให้หาสมาชิกมาเพิ่มเพื่อทำกำไร ยิ่งชวนมากยิ่งได้คืนมาก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ฝากเตือนถึงแนวทางการป้องกันการถูกหลอกลวงให้เล่นแชร์ 8 ข้อ ดังต่อไปนี้

1.ระมัดระวังการถูกชักชวนให้ร่วมเล่นแชร์ หรือร่วมลงทุน จากสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นบุคคลที่ไม่รู้จัก ไม่เคยพบมาก่อน

2.ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของนายวงแชร์ และสมาชิกในวงแชร์ว่าเป็นผู้ใด ทำงานที่ไหน สถานะการเงิน จำนวนวงเงิน การตั้งวงแชร์เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือไม่

3.หลีกเลี่ยงข้อเสนอที่ฟังดูดีเกินไป ลงทุนน้อย ได้ผลตอบแทนสูง ในเวลาอันรวดเร็ว มีขั้นตอนไม่ซับซ้อน

4.คิดไว้เสมอว่า ไม่มีการลงทุนใดที่การันตีผลตอบแทน ไม่โลภ อย่าเห็นแก่ผลตอบแทนสูง

5.กล้าที่จะปฏิเสธเมื่อคนชวนทำธุรกิจที่มีลักษณะคล้ายแชร์ลูกโซ่

6.ตรวจสอบที่มาที่ไปของการลงทุน หรือสินค้าให้ดีก่อนการลงทุน

7.หลีกเลี่ยงการเข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มธุรกิจที่ไม่แน่ใจ เพราะอาจถูกหว่านล้อมให้ร่วมลงทุนในธุรกิจแชร์ลูกโซ่

8.เก็บหลักฐานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หลักฐานทางการเงิน สัญญา เอกสารต่างๆ เผื่อเกิดปัญหาในภายหลัง

ทั้งนี้ หากพบเบาะแสการกระทำผิด หรือ ข้อขัดข้องใดๆ ก็สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สายด่วนหมายเลข 1441 หรือหมายเลขโทรศัพท์ 081-866-3000 ตลอด 24 ชั่วโมง และแจ้งความออนไลน์ที่เว็บไซต์ www.thaipoliceonline.com

 

Click Donate Support Web   

BANPU 720x100TU720x100EXIM One 720x90 C Jsme 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100pxPF 720x100

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!