WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

4464 TIJ Pisetส่องแนวโน้มยุติธรรมทางอาญากับงาน UN Crime Congress

ผ่านสายตาดร.พิเศษ สอาดเย็นผอ. TIJ

          ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นับแต่สังคมโลกเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) ประชากรโลกถูกหลอมรวมกัน อันเป็นผลมาจากอิทธิพลร่วมทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี วัฒนธรรมและการเมือง การเปลี่ยนผ่านทางสังคมจากความเป็นรัฐชาติสู่โลกไร้พรมแดน ทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างนานาชาติเพื่อการพัฒนา ป้องกันและแก้ไขปัญหาร่วมสมัย” (Contemporary social problems) ซึ่งรวมถึงปัญหาอาชญากรรม

          การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา (UN Crime Congress) จัดขึ้นโดยสำนักคณะกรรมการว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime - UNODC) ทุกๆ 5 ปี ร่วมกับเจ้าภาพในประเทศต่างๆ เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ สภาพปัญหา กำหนดทิศทาง นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา

          สำหรับการประชุมสมัยที่ 14 เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น จัดขึ้นโดยใช้แนวคิดการส่งเสริมการป้องกันอาชญากรรมทางอาญา ความยุติธรรมทางอาญา และหลักนิติธรรม เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน .. 2030” (Advancing crime prevention, criminal justices and the rule of law: towards the achievement of the 2030 Agenda) เพื่อผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศในการต่อต้านอาชญากรรมอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นส่วนหนึ่งในการฟื้นฟูสถานการณ์จากวิกฤตโควิด-19

          สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทยหรือ TIJ ในฐานะสถาบันเครือข่ายของสหประชาชาติด้านกระบวนการยุติธรรม (United Nations Programme Network Institute: UN-PNI) ได้ร่วมการประชุม เพื่อกำหนดทิศทางร่วมกันระหว่างประเทศในการป้องกันความยุติธรรมทางอาญา โดยครอบคลุมหลากหลายมิติ เช่น 10 ปีข้อกำหนดกรุงเทพ การใช้กีฬาเป็นเครื่องมือในการป้องกันอาชญากรรมในกลุ่มเด็กและเยาวชน ความร่วมมือระหว่างภาคส่วนเพื่อการป้องกันอาชญากรรม ฯลฯ

 

          แนวโน้มหลัก 4 ข้อ ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของโลก

          ดร.พิเศษ สอาดเย็น ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย หรือ TIJ ฉายภาพถึงข้อสรุปและแนวโน้มที่ได้จากงาน UN Crime Congress ว่าปฏิญญาเกียวโตว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรม (Kyoto declaration on Crime Prevention) เป็นเอกสารสำคัญที่บ่งชี้ถึงสถานการณ์และแนวโน้มของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของโลก ซึ่งจากที่ประชุมสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเด็นหลัก

          1. การป้องกันอาชญากรรมโดยอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-based crime prevention) ที่มุ่งเน้นการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ผ่านตัวชี้วัด สถิติ และการประเมินผลมาตรการป้องกันอาชญากรรมทางอย่างรอบด้านและเป็นระบบ เช่น การสร้างกลไกติดตามประเมินผลประสิทธิภาพของตำรวจผ่านตัวเลขการเกิดอาชญากรรมในพื้นที่นั้นว่าลดลงหรือไม่ ประชาชนรู้สึกปลอดภัยมากขึ้นหรือไม่ ซึ่งยังมีความท้าทายในเชิงปฏิบัติ เพราะข้อจำกัดด้านงบประมาณ

          2. กระบวนการยุติธรรมทางอาญาเชิงบูรณาการ (Integrated Criminal Justice System) การลงโทษเป็นกระบวนการที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้กระทำความผิดแสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำนั้นๆ โดยครอบคลุมตั้งแต่โทษปรับและโทษจำคุก

          แต่ในการประชุมครั้งนี้ ผู้ปฏิบัติงานด้านยุติธรรมทั่วโลกตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพของเครื่องมือในการลงโทษที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ผ่านตัวชี้วัดที่สำคัญ คืออัตราการกระทำผิดซ้ำ” (Recidivism rates) เพราะในหลายประเทศยังมีอัตราการกระทำความผิดซ้ำของผู้ที่ถูกลงโทษด้วยการจำคุกไปแล้วอยู่ในระดับสูง โดยมีประเทศไทยเป็นหนึ่งในนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องกลับมาทบทวนว่า หากเป้าหมายของการลงโทษผู้กระทำความผิด คือ เพื่อสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้นในสังคม โดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนในการจำกัดเสรีภาพไปด้วย แต่วิธีการลงโทษที่ใช้อยู่ กลับทำให้มีผู้กระทำความผิดซ้ำอยู่ในอัตราที่สูง เป็นแนวทางที่ได้ผลจริงหรือไม่

          ดังนั้นที่ประชุม จึงมีความพยายามในการโน้มน้าวประเทศสมาชิกให้พิจารณาถึงมาตรการทางเลือกอื่นๆ ที่ไม่ใช่การจำคุกเพื่อสร้างกระบวนการที่มุ่งเน้นผลลัพธ์คือคืนคนสู่สังคมเช่น งานคุมประพฤติ การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ หรือการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (Electronic monitoring) เป็นต้น

          “การจำคุกอาจไม่ใช่วิธีการที่ดีที่สุดในบางกรณี เช่น มีหลายคดีในประเทศไทย ที่เราใช้การจำคุกเพื่อลงโทษคนที่ไม่ได้กระทำความผิดร้ายแรง ทั้งที่คนเหล่านี้ยังสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมปกติได้โดยใช้มาตรการคุมประพฤติเท่านั้น หรือผู้ใช้ยาเสพติดจำนวนมาก ก็ควรที่จะถูกส่งเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษามากกว่าการคุมขัง แต่เมื่อเราใช้วิธีส่งผู้กระทำความผิดเล็กน้อยเข้าไปอยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับผู้ที่กระทำความผิดร้ายแรงในเรือนจำ ก็อาจทำให้เขาไปเรียนรู้วิธีการกระทำความผิดเพิ่มมาจากในเรือนจำ และเมื่อพ้นโทษออกมาแล้ว ก็ไม่ได้โอกาสจากสังคมในการประกอบอาชีพสุจริต เพราะมักจะมีข้อกำหนดว่าไม่รับผู้ที่เคยมีประวัติต้องโทษเข้าทำงาน ทำให้คนเหล่านั้น ใช้ความรู้ในด้านที่ไม่ดีซึ่งรู้มาจากในเรือนจำ ไปกระทำความซ้ำผิดซ้ำ จนต้องกลับมารับโทษอีก ดังนั้นการแสวงหาทางเลือกอื่นๆ แทนการจำคุก และไม่กระทบต่อความปลอดภัยของสังคม จึงเป็นแนวโน้มสากลที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่ง TIJ เป็นหนึ่งในองค์กรที่ศึกษามาตรฐานสากล ทำงานวิจัยเกี่ยวกับมาตรการทางลือกเหล่านี้ จึงเชื่อว่า จะสามารถช่วยงานในส่วนนี้ได้ ดร. พิเศษ อธิบาย

          3. การส่งเสริมหลักนิติธรรม (Rule of Law) ผ่านวัฒนธรรมแห่งการเคารพกติกา (Culture of Lawfulness) สังคมจะสงบสุขได้ จำเป็นต้องมีหลักนิติธรรมเป็นปัจจัยพื้นฐาน และสังคมนิติธรรมจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีการบ่มเพาะวัฒนธรรมแห่งการเคารพกติกา” (Culture of Lawfulness) แต่จะทำให้ประชาชนเชื่อถือและศรัทธาในกระบวนการยุติธรรม หรือทำให้ประชาชนพึงพอใจกับกติกาที่รัฐใช้อยู่ได้ รัฐก็จะต้องแสดงให้ประชาชนเห็นว่า ใช้กติกาอยู่ในหลักนิติธรรมดังนั้น การจะทำให้สังคมมีหลักนิติธรรมที่เข้มแข็ง ไม่สามารถทำได้โดยการเพิ่มอำนาจของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายเท่านั้น แต่ต้องขยายโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมมากขึ้นควบคู่กันไปด้วย และการให้ความรู้เรื่องหลักนิติธรรมกับเยาวชน เป็นหนึ่งในแนวทางจะช่วยสร้างสังคมในอนาคตที่มีความเข้มแข็ง

          4. การส่งเสริมการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติรูปแบบต่างๆ (Transnational Organized Crime) ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้รูปแบบอาชญากรรมมีลักษณะข้ามพรมแดน ซับซ้อน และมีความรุนแรงมากขึ้น สวนทางกับต้นทุนในการก่ออาชญากรรมที่ลดลง เพราะมีช่องทางออนไลน์ในการก่ออาชญากรรมได้ง่ายขึ้น ทำให้การต่อต้านอาชญากรรมรูปแบบต่างๆ ในปัจจุบัน จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะอาชญากรรมทางไซเบอร์ เป็นอาชญากรรมข้ามชาติรูปแบบใหม่ ไร้พรมแดน ผู้ก่อเหตุและเหยื่ออาจอยู่ห่างกันหลายร้อยกิโลเมตร อยู่คนละประเทศซึ่งมีข้อจำกัดทางกฎหมายแตกต่างกัน ดังนั้น การต่อสู้กับอาชญากรรมรูปแบบใหม่นี้ จึงต้องรวมไปถึงความร่วมมือในหลายภาคส่วน (Cross-Sectoral Collaboration) ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาสังคม และนักวิชาการ

 

          ยุติธรรมทางอาญาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

          ดร. พิเศษ ยังเล่าถึงประสบการณ์การเข้าร่วมประชุม UN Crime Congress หลายครั้งที่ผ่านมา ซึ่งพบว่าในการประชุม 2 ครั้งก่อนหน้านี้ที่กรุงเทพฯ และกรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ มีพัฒนาการที่แตกต่างจากครั้งก่อนๆ อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งด้านองค์ประกอบของผู้ร่วมประชุมที่ขยายใหญ่ขึ้น จากเดิมที่ส่วนมากเป็นหน่วยงานภาครัฐของประเทศต่างๆ ตำรวจ ศาล ราชทัณฑ์ ก็ขยายมาสู่หน่วยงานภาคเอกชน องค์กรไม่แสวงหากำไร (NGOs) ภาคประชาสังคม และนักวิชาการ เข้ามามีบทบาทในการประชุม โดยเชื่อว่ามีเหตุผลมาจากการที่ประเด็นในการหารือถูกขยายไปในบริบทที่กว้างขวางขึ้นไปสอดคล้องกับวาระหลักของโลก นั่นคือการพัฒนาที่ยั่งยืน” 

          “ในอดีตกระบวนการยุติธรรมทางอาญามีความเป็นเอกเทศสูง ใช้วิชาการนำ ผลักดันผ่านความร่วมมือเท่าที่เป็นไปได้ เช่น การส่งผู้ร้ายความแดน แต่ในการประชุมฯ UN Crime Congress หลายครั้งที่ผ่านมามีทิศทางที่สอดคล้องกับวาระหลักของโลกมากขึ้น โดยผลักดันให้หลักนิติธรรมเข้ามามีบทบาทกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งยังเป็นการปรับกระบวนทัศน์ใหม่ของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ดร. พิเศษ กล่าว

          ผู้อำนวยการ TIJ ยังเห็นว่า ประเด็นการใช้กีฬา เพื่อป้องกันอาชญากรรมในเยาวชนถือเป็นอีกประเด็นที่สะท้อนถึงความหลากหลายในที่ประชุม Crime Congress โดย TIJ เป็นอีกหน่วยงานที่สนับสนุนงานด้านเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรมมาโดยตลอด และเป็นผู้เสนอข้อมติการใช้กีฬาเพื่อการป้องกันอาชญากรรมในเยาวชนในเวทีการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อปี ..2562 โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการกีฬาต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

          “เราเชื่อว่า กีฬาเป็นสื่อที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับเยาวชน พร้อมไปกับการสอดแทรกทักษะการใช้ชีวิต สามารถนำมาปรับใช้เพื่อลดโอกาสที่เด็กและเยาวชนจะไปเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดได้ แม้แต่เด็กที่เคยกระทำผิด กีฬาก็เป็นตัวขับเคลื่อนให้ชีวิตเค้าไปต่อได้ ยกตัวอย่างที่เรามีสโมสรกีฬา BBG (Bonce Be Good) ซึ่งให้โอกาสเด็กในสถานพินิจไปฝึกซ้อมปิงปองและแบดมินตันอย่างเป็นระบบ มีผู้ฝึกสอนมืออาชีพ ให้การดูแลฟูมฟัก ถือเป็นการลงทุนอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเด็กเหล่านี้กลายเป็นนักกีฬา เป็นโค้ช หรือเป็นผู้ตัดสินมืออาชีพ นั่นคือการช่วยเหลือเขาแบบตลอดรอดฝั่ง

          นอกจากนี้ที่ประชุมฯ ยังให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ของการประชุมฯ ที่อยู่ในรูปแบบข้อกำหนดที่มีลักษณะเป็นกฎหมายอย่างอ่อนหรือ Soft Law มากขึ้น เช่น ผลลัพธ์จากการผลักดันการนำข้อกำหนดกรุงเทพมาใช้ทั้งในประเทศไทยและประเทศต่างๆ โดยมุ่งเน้นไปที่การแก้ไขเฉพาะกลุ่ม เช่น กลุ่มคนเปราะบาง ปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ซึ่ง Soft Law เหล่านี้ล้วนมีส่วนส่งเสริม และผลักดันให้บรรลุเป้าหมายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

          อนาคตยุติธรรมทางอาญาของไทย

          ดร. พิเศษ กล่าวว่า ปัจจุบันหน่วยงานรัฐในประเทศไทย มีความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมที่เป็นองค์รวมมากขึ้น โดยส่วนใหญ่จะพิจารณาประเด็นทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายภาคส่วนเข้ามาร่วมดำเนินงาน นอกจากนี้ยังเน้นการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ กล่าวโดยสรุป อนาคตยุติธรรมทางอาญาของไทย จะเน้นดำเนินงาน ดังนี้

          1. การทำงานเพื่อป้องกันอาชญากรรม เน้นการดำเนินงานแบบมีหลักฐานเชิงประจักษ์มากขึ้น

          2. เน้นการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เช่น การดึงภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และหน่วยงานวิชาการ เพื่อประชุม หารือ แลกเปลี่ยน กำหนดแนวนโยบายที่เหมาะสมในการป้องกัน และ แก้ไขอาชญากรรม รวมถึงการสนับสนุนการวิจ้ย

          3. เน้นความตระหนักให้เกิดแนวปฏิบัติต่อเพศสภาพด้วยความเท่าเทียม เช่น การสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ๆ ต่อการดูแลผู้ต้องขังหญิง หรือ เด็กติดผู้ต้องขังหญิง โดยการสร้างสภาพแวดล้อมภายในเรือนจำให้เหมาะสม และ การสนับสนุนให้ใช้มาตรการทางเลือกอื่นๆ แทนการจำคุกในกรณีผู้กระทำผิดกระทำความผิดในคดีเล็กน้อย

          4. เน้นเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น การจำหน่ายสินค้าราชทัณฑ์ ผ่านร้านค้าออนไลน์ใน shopee โดยใช้ตราสินค้าวันสุข” 

          5. เน้นการดำเนินงานผ่านความร่วมมือพหุภาคี เช่น โครงการกำลังใจ โครงการ Street food สร้างโอกาส ฝึกฝนการทำอาหารให้แก่ผู้ต้องขังที่พ้นโทษแล้ว และกำลังจะพ้นโทษใน 3 เดือน

          6. เน้นการสร้างความเข้าใจกับสังคมภายนอก เพื่อลดการตีตราจากสังคม

          อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังสามารถพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญาให้สอดคล้องกับความท้าทายอื่นๆ เพื่อสันติสุขในสังคม ไม่ว่าจะเป็นโมเดลการทำงานรูปแบบ Privatization ในบางบริการ โมเดลธุรกิจเพื่อสังคม ซึ่งรัฐอาจลดบทบาทลงเป็นผู้สนับสนุนและกำกับมาตรฐาน โดยสามารถดำเนินการทดสอบผ่านรูปแบบ Sandbox

          “กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของโลกและไทยจะมุ่งเน้นพัฒนาโดยเอาคนเป็นศูนย์กลาง เชื่อมโยงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน และบูรณาการระหว่างภาคส่วนมากขึ้น ซึ่งนี่ถือเป็นความท้าทายของผู้ปฏิบัติงานด้านยุติธรรมทางอาญาของไทยดร. พิเศษ กล่าวทิ้งท้าย

 

A4464

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!