WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

กสท.เต้นช่อง 7 ฟ้องป.ป.ช. สุภิญญาขู่เลิกลดหย่อนค่าธรรมเนียมคู่ขนาน

   ไทยโพสต์ * ป.ป.ช.รับคำร้อง ช่อง 7 ฟ้อง กสท. 3 คน สุภิญญาธวัชชัย-พีระพงษ์ กรณีจงใจฝ่าฝืนกฎหมาย เหตุอนุญาตให้ช่อง 3 ออกอากาศคู่ขนาน คนละนิติบุคคล

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการป้อง กันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติรับคำร้องของบริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด หรือสถานีโทร ทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ผู้เสียหายโดยตรง ที่ร้องทุกข์กล่าวโทษ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) 3 คน ประกอบด้วย นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์, นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ และ พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ กรณีจงใจฝ่าฝืนต่อกฎหมายและเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ไว้พิจารณาแล้ว

    ด้านนางสาวสุภิญญาได้แสดงความคิดเห็นผ่าข้อความลงบนทวิตเตอร์ (@supinya) ระบุว่า กสท.ไม่เคยยินยอมให้ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ เป็นคนยื่นขอออกคู่ขนาน แต่ให้สิทธิ์ บริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย ที่ชนะประ มูลที่มีอำนาจบริหารผังรายการเหมือนช่องอื่นๆ ส่วนกรณีคนละนิติบุคคล ให้ยึดการเป็นเจ้าของเดียวกัน แม้จะคนละนิติบุคคล ขณะที่ช่อง 3 และช่อง 7 ต่างถือ 2 ใบอนุญาต สรุปคือ ใบอนุญาตดิจิตอลต้องจ่ายค่าธรรมเนียมไม่ลดหย่อน ก็ต้องจ่ายทั้งคู่ โดยไม่เกี่ยวกับชื่อบริษัท และถ้าการลดหย่อนค่าธรรมเนียมให้ช่องที่ออกคู่ขนานทั้งหมดมีปัญหาข้อกฎหมายมาก ส่วนตัวก็มองว่าคงลดหย่อนได้ยาก และอาจเก็บตามเดิม ถ้ามีช่องไหนค้านให้ไปฟ้องศาล

   นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการ กสท. เปิดเผยว่า การดำเนินการของกรรมการ กสท.ถูกต้องตามกฎหมาย และยึดประ โยชน์ของประชาชนเป็นหลัก โดยอยู่ระหว่างเตรียมประชุมร่วม กับฝ่ายกฎหมายเพื่อชี้แจงต่อ ป.ป.ช. และคาดว่าถ้า ป.ป.ช.ชี้มูล จะมีผลกระทบรุนแรงต่อภาพรวมอุตสาหกรรมทีวีดิจิตอล

   กรณีนี้ สืบเนื่องจากกรรม การ กสท. 3 คน มีมติให้บริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด หรือช่อง 33 เอชดี (ช่องดิจิตอล) นำผังรายการของบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด หรือช่อง 3 เดิม ไปออกอากาศบนช่องดิจิตอลแบบคู่ขนาน โดยมีเนื้อหาเช่นเดิม 100% เช่นเดียวกับช่อง 7 และช่อง 9 โดยให้เหตุผลว่า เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านระบบอนาล็อกไปสู่ดิจิตอลทีวี

     ทั้งนี้ ตามมาตรา 9 ของ พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทร ทัศน์ 2551 ระบุว่า ใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ได้รับอนุญาต จะโอนให้แก่กันมิได้ ผู้รับใบอนุ ญาตจะต้องประกอบกิจการด้วยตัวเอง การแบ่งเวลาให้ผู้อื่นดำ เนินรายการ กระทำได้ตามหลัก เกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรม การตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้กำหนด

    และตามมาตรา 43 พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ 2553 ระบุว่า ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ได้รับอนุญาตจะโอนแก่กันมิได้ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องประกอบกิจการด้วยตัวเอง จะมอบการบริหารจัดการทั้งหมด หรือบางส่วน หรือยินยอมให้บุคคลอื่นเป็นผู้มีอำนาจประกอบกิจการแทนมิได้ แต่การให้บุคคลอื่นเช่าเวลาดำเนินรายการบางช่วงเวลา อาจกระทำได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ กสทช.กำหนด.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!