WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

10568 NBTC

สำนักงาน กสทช. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (Public Hearing) แผนการบริหารสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม ฉบับที่ 2 พ.ศ. .... เพื่อรองรับการเปิดตลาดหลังเข้าสู่ระบบการอนุญาต

          ตามที่ กสทช.ชุดที่แล้วได้ออกประกาศ แผนการบริหารสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม ฉบับที่ 1 มาตั้งแต่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 และ กสทช.ชุดปัจจุบันได้ดำเนินการจัดให้มีการประมูลสำหรับการอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package) เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2566 ทำให้กิจการดาวเทียมสื่อสารได้เปลี่ยนผ่านจากระบบสัมปทานไปสู่ระบบใบอนุญาต เกิดการเปิดตลาดและการแข่งขันอย่างเสรี อย่างไรก็ตามในการจัดให้มีการประมูลที่ผ่านมายังคงมีสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมอีก 2 ชุด ที่ยังไม่มีผู้ประกอบการที่ประสงค์จะใช้งาน ได้แก่ ชุดที่ 1 ที่ตำแหน่ง 50.5 E และ 51 E และ ชุดที่ 5 ที่ 142 E ดังนั้น กสทช. จึงมีมติให้สำนักงานฯ พิจารณาดำเนินการปรับปรุงแผนการบริหารสิทธิฯ ดังกล่าว และจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ในวันที่ 17 ตุลาคม 2566 ณ หอประชุม ชั้น 1 อาคารสำนักงาน กสทช. กรุงเทพฯ และมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งออนไซต์และออนไลน์กว่า 200 คนโดยมี กสทช. พลอากาศโท ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ และ กสทช.รองศาสตราจารย์ ดร.สมภพ ภูริวิกรัยพงศ์ ร่วมเป็นประธานฯ 

          ประเด็นหลักในการปรับปรุงแผนการบริหารสิทธิฯ

          ประเด็นหลักในการปรับปรุงแก้ไขและนำมารับฟังความคิดเห็น ที่สำคัญ สรุป คือ

          1. แนวทางการรักษาสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมขั้นสมบูรณ์ ที่แนวทางการดำเนินการอนุญาตของ กสทช. ในแผนฯ เดิม กำหนดให้ มีการ “คัดเลือก” ผู้ประกอบการหรือหน่วยงาน (Satellite Operator) ที่ประสงค์จะใช้งาน ในแผนฯ ใหม่ แก้ไขเป็น มีการ “คัดเลือกหรือจัดสรรโดยวิธีการอื่นตามที่ กสทช. กำหนด” ทั้งนี้เพื่อให้มีทางเลือกวิธีการอนุญาตที่หลากหลายมากขึ้น จะได้สอดคล้องกับสภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมดาวเทียมและส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบกิจการดาวเทียมได้มากรายขึ้น

          2. การนำข่ายงานดาวเทียมมาอนุญาต ในแผนฯ เดิม กำหนดให้ กสทช. ต้องนำข่ายงานดาวเทียมที่เข้าข่ายตามกรณีดังกล่าว มาจัดชุด (Package) ในแผนฯ ใหม่ สามารถนำมาคัดเลือกหรือจัดสรรได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องจัดเป็นชุด เนื่องจากคงเหลือข่ายงานดังกล่าวไม่มาก เพื่อการอ่อนตัวในการคัดเลือกหรือจัดสรร อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ทั้งในทางเทคนิคและทางธุรกิจรวมทั้งด้านความมั่นคง เช่นเดิม

          3. การปรับปรุงรายละเอียดสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมให้เป็นปัจจุบัน ทั้งประเภทวงโคจรดาวเทียมประจำที่ (Geostationary Orbit: GSO) และประเภทวงโคจรดาวเทียมไม่ประจำที่ (Non-Geostationary Orbit: NGSO) ที่ประเทศไทยต้องดำเนินการตามข้อบังคับวิทยุของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) เพื่อให้ได้รับมาดำเนินการให้ข้อมูลในแผนฯ ใหม่ ถูกต้องเป็นปัจจุบัน ทั้งในส่วนของสิทธิขั้นต้นและสิทธิขั้นสมบูรณ์

          “การปรับปรุงแผนบริหารสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะจะเป็นแนวทางในการนำไปสู่การปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตสิทธิวงโคจรที่เหลือ โดยที่ กสทช.ต้องสร้างสมดุลระหว่างการรักษาสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ และการให้ได้มาซึ่งผู้ประกอบการหรือหน่วยงานที่ประสงค์จะใช้งานโดยที่รัฐไม่เสียผลประโยชน์ รวมทั้งแผนฯ ดังกล่าวก็ต้องเป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศหรือข้อบังคับของ ITU ที่เป็นไปตามหลักสากล และสอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายแต่ก็ต้องดำเนินการ อย่างไรก็ตามในการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในวันนี้ ได้รับข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์เพื่อจะได้นำมาใช้ในการปรับปรุงแผนฯ ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป” พลอากาศโท ดร.ธนพันธุ์ฯ กล่าว

 

 

A10568

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

iconmotor

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!