WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

01 C.Bigสศช

รองนายกฯ สมคิด ประชุมหารือ สศช. แนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจปี 63 แนะจัดลำดับโครงการสำคัญ

     ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เดินทางมาตรวจเยี่ยมและประชุมหารือแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปี 2563 ร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร สศช. ให้การต้อนรับและร่วมประชุมหารือ ณ ห้องประชุม 521 สศช.

      รองนายกฯ กล่าวว่า เหตุที่เลือกมาตรวจเยี่ยมช่วงใกล้สิ้นปี เพื่อขอบคุณสภาพัฒน์ ด้วยรู้ว่า ทุกคนทำงานหนัก ย้ำว่าหน้าที่ของสภาพัฒน์คือการวางพื้นฐานเศรษฐกิจและสังคมให้แก่ประเทศ ว่าบ้านเมืองควรไปทางไหน และจะไปด้วยวิธีหรือกลไกใด ปัจจุบันมีทั้งแผนยุทธศาสตร์ชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 แต่จะทำอย่างไรให้สิ่งที่คิดและเขียนเกิดขึ้นได้จริง โดยหลังผ่านพ้นช่วงปีใหม่ ขอให้สภาพัฒน์ร่วมกันคิดว่าในปีหน้ามีโครงการใดบ้างที่ต้องเร่งผลักดันเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันและลดความเหลื่อมล้ำ ประสานหน่วยงานต่างๆ ให้ผลักดันโครงการและขับเคลื่อนงานไปตามแผนที่วางไว้

      รองนายกฯ กล่าวต่อว่า สำหรับประเด็นสำคัญที่ขอหารือ ได้แก่ (1) โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งขอให้ สศช. พิจารณาว่าจะมีโครงการใดบ้างที่สามารถเชื่อมโยงอีอีซีไปกับการพัฒนาด้านสังคมอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การพัฒนาการเกษตร การท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อม เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับอานิสงส์ ดังนั้น ต้องมีผู้ที่ดูแลเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ (2) การลดความเหลื่อมล้ำ ทำให้ชนบทเข้มแข็ง ทันสมัย สภาพัฒน์ต้องคิดล่วงหน้า มีทีมงานร่วมวางแผนเพื่อให้การเสนอโครงการเป็นไปอย่างสอดคล้อง ไม่เช่นนั้นต่างกระทรวงจะต่างคิดต่างทำ (3) การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

      โดยมีขั้นตอนคือทำให้พวกเขาหลุดจากภาระหนี้สิน อยู่ได้อย่างเข้มแข็ง และใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และ (4) การพัฒนาคน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการต้องเดินตามแนวทางของสภาพัฒน์ นอกจากนี้ ยังมีเรื่องอื่นๆที่ต้องให้ความสำคัญ เช่น การท่องเที่ยว การช่วยเหลือคนตัวเล็กในภาคเศรษฐกิจต่างๆ และการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุในอนาคต

       ด้าน เลขาธิการ สศช. กล่าวว่า เป้าหมายในการบริหารการพัฒนาในปี 2563 จะเน้นการลงทุนของภาครัฐในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ รวมถึงการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภายในประเทศ จากการพึ่งพิงการส่งออกมาเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจภายในประเทศ โดยในช่วงปี 2563-2565 นั้น จะมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่เกิดขึ้นมูลค่ากว่าหนึ่งล้านล้านบาท ซึ่งสภาพัฒน์จะพยายามผลักดันให้กระทรวงต่างๆเดินตามแผนงานที่วางไว้ ส่วนข้อเสนอการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ของประเทศเพื่อกระจายความมั่งคั่งสู่ทุกภูมิภาคนั้น จะทำให้ประเทศไทยเติบโตด้วยเครื่องยนต์กลไกหลายตัว นอกจากอีอีซีแล้ว ในอนาคตจะมีพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน(SEC) เขตเศรษฐกิจสร้างสรรค์ล้านนา (LCC) เขตพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ (BEC) และเมืองนวัตกรรมเกษตรมูลค่าสูง (Agl) โดยกลไกการขับเคลื่อนพื้นที่เศรษฐกิจใหม่นั้นในระยะแรกคือคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ สำนักงานขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ ภายใต้ สศช.

       นอกจากนี้ จะเร่งพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล จากปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในลำดับ 4 ของภูมิภาค รองจากอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม โดยประเทศเหล่านี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนสูงกว่าไทยมาก ส่วนแนวทางการลดความยากจนและความเหลื่อมล้ำนั้น สศช. ใช้แนวทาง Personalized approach มากขึ้น โดยอาศัยการระบุเป้าหมายครัวเรือนยากจนด้วยระบบ TPMAP เพื่อระบุความยากจนเป็นรายพื้นที่และสามารถระบุสถานะความยากจนรายครัวเรือนทำให้รู้ว่าความยากจนอยู่ตรงไหนและยากจนเพราะอะไร ซึ่งจะช่วยให้แก้ไขปัญหาความยากจนได้ตรงจุดและตรงตามสภาพปัญหา

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!