WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Aอาคม1บริโภค-ลงทุนดันจีดีพี ไตรมาส 4 ปี’57 โต 2.3% สภาพัฒน์การันตีเศรษฐกิจฟื้น

    แนวหน้า : สศช.สรุปจีดีพีทั้งปี’57 ขยายตัว 0.7% ยืนยันเศรษฐกิจยังเติบโตได้ดี พร้อมคงเป้าจีดีพีปี’58 ที่ 3.5-4.5% โดยมีแรงสนับสนุนจากการส่งออก การลงทุนภาคเอกชนและการท่องเที่ยว รวมถึงการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ แต่ยังต้องระวังปัจจัยเสี่ยงจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ เศรษฐกิจโลกผันผวน ค่าเงินบาทแข็ง

    นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) ไตรมาส 4 ปี 2557 พบว่าจีดีพีขยายตัว 2.3% ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนจากการขยายตัว 0.6% ในไตรมาส 3 ปี 2557 โดยปัจจัยสนับสนุนทำให้เศรษฐกิจไตรมาส 4 ปรับตัวดีขึ้น มาจากการบริโภค การลงทุนของภาคเอกชน การส่งออก และรายจ่ายเพื่อการอุปโภคของภาครัฐ ทั้งหมดปรับตัวดีขึ้น

    โดยพบว่าการใช้จ่ายครัวเรือนขยายตัว 1.9% ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 69.6 สูงกว่าระดับ 69.3 ในไตรมาสที่ผ่านมา ขณะที่การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภคของภาครัฐเพิ่มสูงขึ้นจากละ 0.4% ในไตรมาส 3 ขณะที่การลงทุนรวมขยายตัว 3.2% และการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 4.1%

    ส่วนการส่งออกขยายตัว 1.5% ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวติดลบ 1.7% ในไตรมาส 3 คิดเป็นมูลค่าส่งออก 56,763 ล้านบาท ดังนั้น ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นส่งผลให้เศรษฐกิจไทยโดยรวมทั้งปี 2557 ขยายตัว 0.7% ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2558 สศช.ยังคงตัวเลขการขยายตัวไว้ที่ 3.5-4.5% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวอย่างช้าๆ ของภาคส่งออกตามทิศทางการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก การฟื้นตัวของการลงทุนจากภาคเอกชนและการท่องเที่ยว รวมถึงการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณโครงการสำคัญของภาครัฐ การลดลงของราคาน้ำมันตลาดโลก

   สำหรับ ปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยปี 2558 ประกอบด้วย 1.ราคาสินค้าเกษตรที่ยังอยู่ระดับต่ำมาจากสินค้าเกษตรบางชนิดมีสต๊อกอยู่มาก ขณะที่ปริมาณการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรบางชนิดผลิตออกสู่ตลาดยังมีปริมาณสูงเมื่อเทียบกับความต้องการ ทำให้เป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่ง 2.เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวไม่แน่นอน 3.การแข็งค่าของเงินบาทที่ยังแข็งค่ามากกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค และ 4.อัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มลดลง อาจส่งผลกระทบอัตราดอกเบี้ยแท้จริงมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวผู้ที่กำกับนโยบายด้านการเงินจะต้องดูแลให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในภาวะที่เหมาะสม เพื่อเอื้อต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจด้วย

  “การขยายตัวทางเศรษฐกิจยังมีข้อจำกัด และปัจจัยเสี่ยงจากราคาสินค้าเกษตรที่ยังอยู่ในภาวะตกต่ำ ความผันผวนของระบบเศรษฐกิจ และการเงินโลกที่ยังอยู่ในเกณฑ์สูง และแนวโน้มการอ่อนค่าของสกุลเงินในประเทศสำคัญๆ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงยังปรับตัวเพิ่มขึ้น” นายอาคมกล่าว

  ส่วนปัจจัยเงินเฟ้อที่ลดลงกำลังนำไปสู่ภาวะเงินฝืดหรือไม่นั้น นายอาคม กล่าวว่า การพิจารณาปัจจัยว่าจะมีภาวะเงินฝืดหรือไม่ ต้องดูจากหลายปัจจัยทั้งราคาสินค้า รวมทั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเติบโตของรายได้ ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยหลังยังเป็นไปในทิศทางที่ดี อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าเงินฝืดเป็นปัจจัยที่ต้องเฝ้าระวัง โดยหลายประเทศหากอัตราเงินเฟ้อลดลงใกล้ระดับ 0 ก็จะมีมาตรการออกมาทันที ดังนั้น ย้ำอีกครั้งว่าผู้ดูแลนโยบายการเงินจะต้องดูแลให้อัตราดอกเบี้ยสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศ

    สิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการในการบริหารทิศทางเศรษฐกิจปี 2558 นี้ก็คือภาครัฐต้องให้ความสำคัญเรื่องการค้าชายแดน โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก ขณะเดียวกันต้องดูแลให้การเติบโตด้านการค้าสอดรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี) รวมทั้งเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณโครงสร้างพื้นฐานและใช้เงินลงทุนพัฒนาเขตเศรษฐกิจต่างๆ โดยในช่วงไตรมาส 1/2558 คาดว่าจะเติบโตมากกว่า 2.3% เนื่องจากเศรษฐกิจโลกปรับตัวดีขึ้น ความเชื่อมั่นภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจและนักลงทุนต่างชาติ การลดลงของราคาน้ำมันและสถานการณ์ในประเทศที่มีความสงบเรียบร้อยมากขึ้น

    “ปีนี้ยังคงต้องจับตาการผลักดันการส่งออกและการท่องเที่ยวให้ขยายตัวต่อเนื่อง และเป็นศักยภาพการเร่งรัดการลงทุนของภาคเอกชน และภาครัฐควบคู่ไปกับการดูแลภาคเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากความตกต่ำของราคาสินค้าในตลาดโลก การชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า และการเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน” นายอาคม กล่าว

   นายอมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการสำนักวิจัย สายบริหารความเสี่ยง ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัว โดยการบริโภคภายในประเทศปรับตัวดีขึ้น แต่ที่ยังน่าเป็นห่วงคือ ภาคการส่งออก ที่คาดว่า ปีนี้จะขยายตัวเพียง 1-2% เพราะยังมีความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก และสินค้าส่งออกของไทย ยังไม่ทันสมัย จึงทำให้ไม่ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ ดังนั้นผู้ประกอบการไทยควรปรับโครงสร้างการผลิต นำเข้าเครื่องจักรที่ทันสมัย เพื่อการผลิตสินค้าส่งออกที่มีมูลค่ามากขึ้น

    โดยในช่วงเวลานี้ถือว่า เหมาะสม เนื่องจากเงินบาทมีทิศทางแข็งค่า และสภาพคล่องในระบบยังไม่ตึงตัว ไม่ควรรอการลงทุนของภาครัฐเป็นตัวนำเพราะหากจะนำเข้าในช่วงปลายปี อาจเกิดปัญหาสภาพคล่องลดลง จากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐที่จะมีผลให้เงินทุนไหลออก และเงินบาทอาจอ่อนค่า โดยเห็นว่า อัตราแลกเปลี่ยนไม่ใช่ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการส่งออก เพราะตลอด 2 ปีที่ผ่านมา แม้เงินบาทอ่อนค่า แต่การส่งออกก็ยังหดตัว ดังนั้นจึงเห็นว่า เอกชนไม่ควรกดดันธนาคารแห่งประเทศไทย(แบงก์ชาติ) ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต่ำคือ 2% เพื่อให้เงินบาทอ่อนค่า

สศช.รับต้องระวังเงินฝืด นายกฯ สั่งแบงก์ชาติดูแลเรื่องอัตราเงินเฟ้อและดอกเบี้ย

     บ้านเมือง : สศช. คาดจีดีพี ทั้งปี 57 ขยายตัวร้อยละ 0.7 หลังพบแนวโน้มเศรษฐกิจยังเติบโตได้ดี ยืนยันปัจจุบันเงินเฟ้อที่ลดลงยังไม่ทำให้เกิดภาวะเงินฝืดแต่ต้องระวัง เนื่องจากเศรษฐกิจยังเติบโตได้ดี ขณะที่ นายกฯ สั่งแบงก์ชาติดูเรื่องเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ย เน้นกระตุ้นการท่องเที่ยว เร่งแก้ปัญหาสินค้าเกษตร

       นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 4 ปี 2557 พบว่าจีดีพีขยายตัวร้อยละ 2.3 ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนจากการขยายตัวร้อยละ 0.6 ในไตรมาส 3 ปี 2557 โดยปัจจัยสนับสนุนทำให้เศรษฐกิจไตรมาส 4 ปรับตัวดีขึ้น มาจากการบริโภค การลงทุนของภาคเอกชน การส่งออก และรายจ่ายเพื่อการอุปโภคของภาครัฐ ทั้งหมดปรับตัวดีขึ้น โดยพบว่าการใช้จ่ายครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 1.9 ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 69.6 สูงกว่าระดับ 69.3 ในไตรมาสที่ผ่านมา ขณะที่การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภคของภาครัฐเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 0.4 ในไตรมาส 3 ขณะที่การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 3.2 และการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 4.1

     ส่วนการส่งออกขยายตัวร้อยละ 1.5 ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวติดลบร้อยละ 1.7 ในไตรมาส 3 คิดเป็นมูลค่าส่งออก 56,763 ล้านบาท ดังนั้น ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นส่งผลให้เศรษฐกิจไทยโดยรวมทั้งปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 0.7 ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2558 สศช.ยังคงตัวเลขการขยายตัวไว้ที่ร้อยละ 3.5-4.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวอย่างช้าๆ ของภาคส่งออกตามทิศทางการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก การฟื้นตัวของการลงทุนจากภาคเอกชนและการท่องเที่ยว รวมถึงการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณโครงการสำคัญของภาครัฐ การลดลงของราคาน้ำมันตลาดโลก

    สำหรับ ปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยปี 2558 ประกอบด้วย 1.ราคาสินค้าเกษตรที่ยังอยู่ระดับต่ำมาจากสินค้าเกษตรบางชนิดมีสต๊อกอยู่มาก ขณะที่ปริมาณการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรบางชนิดผลิตออกสู่ตลาดยังมีปริมาณสูงเมื่อเทียบกับความต้องการ ทำให้เป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่ง 2.เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวไม่แน่นอน 3.การแข็งค่าของเงินบาทที่ยังแข็งค่ามากกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค และ 4.อัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มลดลง อาจส่งผลกระทบอัตราดอกเบี้ยแท้จริงมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวผู้ที่กำกับนโยบายด้านการเงินจะต้องดูแลให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในภาวะที่เหมาะสม เพื่อเอื้อต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจด้วย

    ส่วนปัจจัยเงินเฟ้อที่ลดลงกำลังนำไปสู่ภาวะเงินฝืดหรือไม่นั้น นายอาคม กล่าวว่า การพิจารณาปัจจัยว่าจะมีภาวะเงินฝืดหรือไม่ ต้องดูจากหลายปัจจัยทั้งราคาสินค้า รวมทั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเติบโตของรายได้ ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยหลังยังเป็นไปในทิศทางที่ดี อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าเงินฝืดเป็นปัจจัยที่ต้องเฝ้าระวัง โดยหลายประเทศหากอัตราเงินเฟ้อลดลงใกล้ระดับ 0 ก็จะมีมาตรการออกมาทันที ดังนั้น ย้ำอีกครั้งว่าผู้ดูแลนโยบายการเงินจะต้องดูแลให้อัตราดอกเบี้ยสอดคล้องกับภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศ

    ปัจจัยที่ต้องเร่งดำเนินการในการบริหารทิศทางเศรษฐกิจปี 2558 ว่า ภาครัฐจะต้องดูแลให้ความสำคัญเรื่องการค้าชายแดน โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก ขณะเดียวกันต้องดูแลให้การเติบโตด้านการค้าสอดรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) รวมทั้งเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณโครงสร้างพื้นฐานและใช้เงินลงทุนพัฒนาเขตเศรษฐกิจต่างๆ .

   ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดูแล 2 เรื่อง คือเรื่องอัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ย ขณะที่เชื่อว่าเศรษฐกิจโดยรวมในปีนี้โตได้ 3-4% ซึ่งมาจากภาคการส่งออกที่ดีขึ้น การลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ ที่จะช่วยในเรื่องของการจ้างงานมากขึ้น ทั้งนี้รัฐบาลจะติดตามปัญหาหนี้สินครัวเรือน ซึ่งจะให้ธนาคารภาครัฐไปติดตามให้ความช่วยเหลือ แต่จะให้เคลียร์หนี้ทั้งหมดเป็นเรื่องยาก ซึ่งในปีนี้รัฐบาลจะเน้นในเรื่องของการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้มากขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

    ขณะเดียวกัน รัฐบาลได้ติดตามความคืบหน้าการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง และให้ทำความเข้าใจกับชาวสวนยางว่า รัฐบาลสามารถนำเงินกองทุนมูลภัณฑ์กันชนมาใช้จ่ายซื้อยางในท้องตลาดได้เพียง 10% ซึ่งรัฐบาลต้องการเข้าไปซื้อยางของเกษตรกรเพื่อต้องการยกระดับราคายางในตลาดให้สูงขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ รัฐบาลได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามแก้ไขปัญหาเรื่องข้าว

    ส่วนการดูแลราคาสินค้า รัฐบาลจะกระตุ้นโดยการจัดงานธงฟ้า เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เพราะขณะนี้ประชาชนไม่กล้าใช้จ่าย จึงขอร้องให้ยึดหลักพอเพียง มีมากใช้มาก มีน้อยใช้น้อย ไม่ใช่ไม่ใช้เลย แต่มีน้อยก็เลือกใช้ให้ถูกต้อง ทั้งนี้เชื่อว่าหลังจากการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษก็จะมีการค้าขายตามแนวชายแดนมากขึ้น โดยเชื่อว่าจะส่งผลต่อภาพรวมทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น อย่างไรก็ตาม มองว่าตั้งแต่ตนเองเข้ามาแก้ปัญหาบ้านเมืองได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชน โดยส่วนหนึ่งมาจากการชี้วัดของสถานการณ์ในภาพรวม รวมถึงการประเมินจากฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!