WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Aอาคม เตมพทยาไพสฐกนพ.เร่งขับเคลื่อนเขตเศรษฐกิจพิเศษระยะ 2 และพื้นที่ตอนใน พร้อมหนุน SME

     นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ(กนพ.) ครั้งที่ 3/2558 ว่า ที่ประชุมมีมติสำคัญ 7 เรื่องในการสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชน ประกอบด้วย 1.เห็นชอบกิจการเป้าหมายรายพื้นที่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษระยะที่ 2 ที่จังหวัดหนองคาย, เชียงราย, กาญจนบุรี และนครพนม ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ระดับสูง โดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)จะพิจารณาออกประกาศต่อไป ส่วนจังหวัดนราธิวาสได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุดภายใต้เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้

       ส่วนการกำหนดเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ตอนในนั้น รัฐบาลจะเน้นการพัฒนาพื้นที่ในอีสเทิร์นซีบอร์ด โดยจะเน้นในด้านอุตสาหกรรมเป้าหมายและส่งเสริมให้บริษัทต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศ เบื้องต้นมีแผนจะให้จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดปราจีนบุรีกำหนดเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตอนใน ซึ่งจะมีการออกประกาศและเสนอต่อที่ประชุม กนพ.ครั้งต่อไป นอกจากนี้ยังจะมีการกำหนดกลุ่มนวัตกรรมที่จะกำหนดพื้นที่ที่ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรม เบื้องต้นกำหนด จังหวัดปทุมธานี เนื่องจากมีความพร้อมด้านโรงงาน มหาวิทยาลัย และอุทยานวิทยาศาสตร์รองรับ

     2.เห็นชอบการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยให้ผ่อนปรนเงื่อนไข เช่น ลดเงินลงทุนขั้นต่ำจาก 1 ล้านบาทเหลือ 5 แสนบาท และอนุญาตให้นำเครื่องจักรที่ใช้แล้วในประเทศ มาใช้ในโครงการที่ขอรับการส่งเสริมได้มีมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท

      3.ให้คณะอนุกรรมการด้านโครงสร้างพื้นฐานและด่านศุลกากรและสำนักงบประมาณ ทบทวนแผนพัฒนาตามความจำเป็นเร่งด่วนของโครงการ โดยกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษระยะแรกและระยะที่ 2 4.ให้กระทรวงพานิชย์ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย บีโอไอ และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) พิจารณาแนวทางศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ เพื่อเผนแพร่ข้อมูลในแนวทางเดียวกัน 5.ให้สภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักพิจารณาเปิดจุดผ่านแดนในพื้นที่บ้านป่าไร่ จ.สระแก้ว และช่องอานม้า จ.อุบลราชธานี เสนอต่อคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา(JBC) และเร่งศึกษารายละเอียดภูมิประเทศ

       6.เห็นชอบการจัดสรรที่ดินให้หน่วยงานราชการใช้ประโยชน์ และให้เอกชนนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเช่า ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 5+1 ประกอบด้วย ตาก สระแก้ว มุกดาหาร ตราด สงขลาและหนองคาย ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ขอให้กระทรวงการคลังทบทวนหลักเกณฑ์กำหนดอัตราเช่าที่ดินและผลประโยชน์ตอบแทนการเช่าที่ดินราชพัสดุเพื่อเพิ่มแรงจูงใจในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเสนอคณะกรรมการ กนพ.ต่อไป และ 7.ให้อนุกรรมการด้านจัดหาที่ดินและบริหารจัดการกำหนดพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์ในระยะที่ 2 และให้กระทรวงมหาดไทย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ดำเนินการถอนสภาพที่ดินของรัฐเพื่อให้กรมธนารักษ์ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษต่อไป

   ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอีก 4 จังหวัด คือ หนองคาย, เชียงราย, กาญจนบุรี และนครพนม ขณะเดียวกันได้กำหนดความชัดเจนในรายละเอียดของโครงการที่ อ.แม่สอด จ.ตาก และ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ที่จะทำเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรม และกำหนดพื้นที่ที่ให้เอกชนเช่าเพื่อทำธุรกิจ

   ที่ประชุมได้มีการรายงานความคืบหน้าการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ เกี่ยวกับที่ดินและสิทธิประโยชน์ต่างๆ และประเภทกิจการ การเชื่อมโยงเศรษฐกิจจากในประเทศไปนอกประเทศ ซึ่งจะให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการ แต่ภาคประชาชนต้องเข้มแข็ง โดยจะมีการตั้งเศรษฐกิจเพื่อสังคม ซึ่งเป็นการส่งเสริมจากธุรกิจของชุมชนที่เข้มแข็งในรูปแบบสหกรณ์ ซึ่งรัฐจะส่งเสริมงบประมาณ เพื่อให้รับซื้อสินค้าจากเกษตรกรโดยตรง ลดปัญหาพ่อค้าคนกลาง รวมถึงการกำหนดเขตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และเศรษฐกิจชายแดน เพื่อเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยได้มีการกำหนดให้เป็นจุดผ่านแดนพิเศษ แต่จะไม่มีผลกับการปักปันเขตแดนในอนาคต

    ขณะเดียวกันต้องสร้างการรับรู้ให้ประชาชนในพื้นที่ ไม่ให้เกิดการต่อต้าน พร้อมทั้งมีการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ และทุกโครงการจะมีการจัดทำประชาพิจารณ์ ส่วนปัญหาที่ดินราคาแพงนั้น ยืนยันว่าต้องเป็นไปตามราคาประเมินกฎหมายที่ดิน จะไม่มีการเอื้อประโยชน์ให้ใครทั้งสิ้น

                อินโฟเควสท์

nesdb-กนพ.เร่งขับเคลื่อนเขตเศรษฐกิจพิเศษระยะ 2 และพื้นที่ตอนใน พร้อมหนุน SME

    นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ(กนพ.) ครั้งที่ 3/2558 ว่า ที่ประชุมมีมติสำคัญ 7 เรื่องในการสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชน ประกอบด้วย 1.เห็นชอบกิจการเป้าหมายรายพื้นที่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษระยะที่ 2 ที่จังหวัดหนองคาย, เชียงราย, กาญจนบุรี และนครพนม ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ระดับสูง โดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)จะพิจารณาออกประกาศต่อไป ส่วนจังหวัดนราธิวาสได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุดภายใต้เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้

      ส่วนการกำหนดเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ตอนในนั้น รัฐบาลจะเน้นการพัฒนาพื้นที่ในอีสเทิร์นซีบอร์ด โดยจะเน้นในด้านอุตสาหกรรมเป้าหมายและส่งเสริมให้บริษัทต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศ เบื้องต้นมีแผนจะให้จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดปราจีนบุรีกำหนดเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตอนใน ซึ่งจะมีการออกประกาศและเสนอต่อที่ประชุม กนพ.ครั้งต่อไป นอกจากนี้ยังจะมีการกำหนดกลุ่มนวัตกรรมที่จะกำหนดพื้นที่ที่ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรม เบื้องต้นกำหนด จังหวัดปทุมธานี เนื่องจากมีความพร้อมด้านโรงงาน มหาวิทยาลัย และอุทยานวิทยาศาสตร์รองรับ

     2.เห็นชอบการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยให้ผ่อนปรนเงื่อนไข เช่น ลดเงินลงทุนขั้นต่ำจาก 1 ล้านบาทเหลือ 5 แสนบาท และอนุญาตให้นำเครื่องจักรที่ใช้แล้วในประเทศ มาใช้ในโครงการที่ขอรับการส่งเสริมได้มีมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท

     3.ให้คณะอนุกรรมการด้านโครงสร้างพื้นฐานและด่านศุลกากรและสำนักงบประมาณ ทบทวนแผนพัฒนาตามความจำเป็นเร่งด่วนของโครงการ โดยกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษระยะแรกและระยะที่ 2 4.ให้กระทรวงพานิชย์ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย บีโอไอ และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) พิจารณาแนวทางศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ เพื่อเผนแพร่ข้อมูลในแนวทางเดียวกัน 5.ให้สภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักพิจารณาเปิดจุดผ่านแดนในพื้นที่บ้านป่าไร่ จ.สระแก้ว และช่องอานม้า จ.อุบลราชธานี เสนอต่อคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา(JBC) และเร่งศึกษารายละเอียดภูมิประเทศ

     6.เห็นชอบการจัดสรรที่ดินให้หน่วยงานราชการใช้ประโยชน์ และให้เอกชนนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเช่า ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 5+1 ประกอบด้วย ตาก สระแก้ว มุกดาหาร ตราด สงขลาและหนองคาย ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ขอให้กระทรวงการคลังทบทวนหลักเกณฑ์กำหนดอัตราเช่าที่ดินและผลประโยชน์ตอบแทนการเช่าที่ดินราชพัสดุเพื่อเพิ่มแรงจูงใจในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเสนอคณะกรรมการ กนพ.ต่อไป และ 7.ให้อนุกรรมการด้านจัดหาที่ดินและบริหารจัดการกำหนดพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์ในระยะที่ 2 และให้กระทรวงมหาดไทย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ดำเนินการถอนสภาพที่ดินของรัฐเพื่อให้กรมธนารักษ์ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษต่อไป

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!