WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Aอาคมสภาพัฒน์ หั่นเป้าจีดีพีปี 58 เหลือโต 2.7-3.2 % จากเดิมคาดโต 3-4% หลังศก.โลกทรุดต่ำสุดในรอบ 3 ปี ชี้ ค่าเงินบาทหากอ่อนค่าเกิน 7% จากปัจจุบันอยู่ที่ 5-6% อาจกระทบศก.ไทย

      สภาพัฒน์ หั่นเป้าจีดีพีปี 58 เหลือโต2.7-3.2 % จากเดิมคาดโต 3-4% หลังศก.โลกทรุดต่ำสุดในรอบ 3 ปี  พร้อมหั่นเป้าส่งออกปี 58 เป็น -3.5% จากเดิมคาดโต 0.2% คาดเงินเฟ้อปี 58 ติดลบ 0.2-0.7 % ลั่นยันไทยยังไม่อยู่ในภาวะเงินฝืด จี้ รัฐเบิกจ่ายงบลงทุนช่วงครึ่งปีหลังราว 1.6 ล้านลบ. แนะจับตาสงครามค่าเงินประเทศมหาอำนาจ ชี้ หากค่าเงินบาทอ่อนค่าเกิน 7%  จากปัจจุบันอยู่ที่ 5-6% อาจกระทบศก.ไทย

     นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม และเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ฯ เปิดเผยว่า สภาพัฒน์ฯปรับประมาณการจีดีพีลงเหลือ 2.7-3.2% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวได้ 3-4% โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา คือ การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่ต่ำสุดในรอบ 3 ปี โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนที่ยังมีแนวโน้มชะลอตัวลงในช่วงครึ่งปีหลัง การอ่อนค่าของสกุลเงินในประเทศคู่ค้าและคู่แข่ง ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกตกต่ำ และผลกระทบจากภัยแล้ง

     สำหรับ ปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจมาจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐขยายตัวต่อเนื่องในครึ่งปีแรก การขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวที่อัตราการเข้าพักสูงสุดในรอบ 8 เดือน การอ่อนค่าของเงินบาทซึ่งจะทำให้มูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทในครึ่งปีหลังปรับตัวเพิ่มขึ้น และราคาน้ำมันและเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ

     นายอาคม กล่าวต่อถึง เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 หรือว่า ขยายตัว 2.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และครึ่งปีแรกของปี 58 ขยายตัว 2.9% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของนักลงทุนของภาครัฐและการส่งออกบริการ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว การขยายตัวต่อเนื่องของการใช้จ่ายภาครัฐและภาคครัวเรือน

    สำหรับ แนวโน้มการส่งออกมองว่ายังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่องตามภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้สภาพัฒน์ฯ ปรับลดประมาณการส่งออกปีนี้คาดติดลบ 3.5% จากเดิมคาดโต 0.2% และปรับประมาณการนำเข้าทั้งปี 58 เป็นติดลบตัว 5.5% จากเดิมคาดติดลบ 0.8% โดยคาดดุลการค้าปี 58 เกินดุล 27.7 พันล้านดอลลาร์ จากเดิมคาด เกินดุล 26.6 พันล้านดอลลาร์

     ขณะที่การส่งออกไทยไตรมาส 2 ปีนี้มีมูลค่า 52,657 ล้านดอลลาร์หรือติดลบ  5.5% โดยปริมาณการส่งออกลดลง  3.8%  ราคาสินค้าส่งออกลดลง  1.8% เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักขยายตัวต่ำและชะลอตัวลงจากไตรมาสแรก การอ่อนค่าของสกุลเงินในประเทศคู่ค้าโดยเฉพาะเงินยูโร  และเงินเยน  ราคาสินค้าส่งออกลดลงตามราคาน้ำมันดิบและราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก การลดลงของการส่งออกยานยนต์  เนื่องจากการปรับเปลี่ยนรุ่นรถกระบะ และการตัดสิทธิทางการค่า  หรือ  จีเอสพี  ในสินค้าส่งออกของไทยไปยุโรป  ส่วนครึ่งปีแรก  มูลค่าการส่งออก 105,654  ล้านดอลลาร์  ลดลง  4.9%

     ด้านการนำเข้าของไทยในไตรมาส 2 มีมูลค่า 44,810 ล้านดอลลาร์ ลดลง  10.1% โดยมีสาเหตุจากการลดลงของราคานำเข้า  9.7% ตามการลดลงของราคาน้ำมันดิบ  ผลิตภัณฑ์ปิโตรดลียม  และเคมีภัณฑ์ ขณะที่ครึ่งปีแรกการนำเข้ามีมูลค่า 90,382 ล้านดอลลาร์  ลดลง  8.7% ขณะที่ดุลการค้าเกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 โดยดุลการค้าไตรมาส 2 เกินดุล 7,847 ล้านดอลลาร์ ส่วนครึ่งปีแรกดุลการค้าเกินดุล  15,272 ล้านดอลลาร์ 

    ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดไตรมาส 2 เกินกุล  4,134 ล้านดอลลาร์  ครึ่งปีเกินดุล  12,322 ล้านดอลลาร์  ด้านทั้งปีคาดเกินดุล 18.8  พันล้านดอลลาร์ จาก  16.0 พันล้านดอลลาร์

    นอกจากนี้ สภาพัฒน์ฯปรับลดประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปปีนี้เป็นติดลบ 0.2-0.7 % จากเดิม จากเดิมคาดติดลบ 0.3-0.7%

    ด้านเงินเฟ้อทั่วไปไตรมาส 2 อยู่ที่ติดลบ 1.1% ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนที่ -0.5% เนื่องจากการลดลงของราคาพลังงานและอาหารสด ซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศมีการปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก การปรับลดค่าไหฟ้าผันแปร ในรอบพ.ค.-ส.ค. 58  ที่ลดลง  9.35 สตางค์ต่อหน่วย ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 1.0% ส่วนครึ่งปีแรกอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่  -0.8% เงินเฟ้อพื้นฐาน 1.2%

      อย่างไรก็ตาม สศช.ยืนยันว่า แม้อัตราเงินเฟ้อที่ติดลบมาอย่างต่อเนื่อง เป็นเพียงเงินฝืดทางเทคนิคเท่านั้น  เนื่องจากเงินเฟ้อติดลบในปัจจุบันเกิดจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลงมาอย่างต่อเนื่อง 

     ทั้งนี้ สภาพัฒน์มองเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังจะต้องเร่งผลักดันให้เติบโตเฉลี่ยไตรมาสละ 3% เพื่อผลักดันทั้งปีโต 3% จากรัฐเร่งเบิกจ่าย โดยคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังภาครัฐจะมีการเบิกจ่ายอีก 1.60 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ประกอบด้วย งบประมาณรายจ่ายประจำปีในไตรมาสสุดท้ายของปีงบประมาณ 58 ประมาณ 541,600 ล้านบาท และไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 59  ประมาณ 783,400 ล้านบาท งบลงทุนรัฐวิสาหกิจ 131,700 ล้านบาท งบเหลื่อมปี 119,700 ล้านบาท งบเบิกจ่ายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 4 รวม 4,200 ล้านบาท และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 ภายใต้เงินกู้โครงการพัฒนาระบบขนส่งถนนและโครงการน้ำเร่งด่วน 16,000 ล้านบาท และเม็ดเงินภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 อีก 4,200 บาท

     นายอาคม กล่าวถึงความเป็นห่วง เรื่องสงครามค่าเงินนั้น ว่า เป็นการสู้กันนอกทฤษฎีของประเทศมหาอำนาจ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความผันผวนในตลาดการเงินบ้าง

    "ในมุมของไทยนั้นจะต้องเร่งดูแลเสถียรภาพการเงิน เพื่อลดความผันผวนให้เอกชนให้สามารถแข่งขันได้ รวมถึงการหาตลาดใหม่ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพการส่งออกด้วย" นายอาคมกล่าว

    นายอาคม กล่าวต่อถึงสถานการณ์ค่าเงินบาทว่า หากค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเกินระดับ 7% ค่อนข้างน่าเป็นห่วงจากปัจจุบันอ่อนค่า 5-6% เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อการขยาวตัวทางเศรษฐกิจได้ ส่วนเงินหยวนของจีนนั้นปัจจุบันอ่อนค่าที่ระดับ 2-3%

    ส่วนค่าเงินบาทในปีนี้คาดอยู่ในกรอบ 33.50-34.50 บาทต่อดอลลาร์

    "เงินบาทไม่ว่าจะอ่อนค่า หรือ แข็งค่าเราก็ต้องดูแลทั้งหมด เพื่อให้กระทบกับผู้ประกอบการ แต่ในมุมผู้ประกอบการเองก็จะต้องเร่งปรับตัวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของตัวเอง และมองหาตลาดใหม่ๆด้วย"นายอาคม กล่าว

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!