WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

8549 ปปช

ป.ป.ช. เปิดช่องทางรับฟังความคิดเห็น (ร่าง) พ.ร.บ. ป.ป.ช. (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีร่ำรวยผิดปกติ และให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน

          สำนักงาน ป.ป.ช. สร้างการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน เปิดช่องทางรับฟังความคิดเห็น (ร่าง) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ในด้านกระบวนการยื่นคำร้อง ไต่สวนคดีร่ำรวยผิดปกติ และให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพื่อให้กระบวนการดำเนินการทางกฎหมายมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น พร้อมรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชนทั่วไป โดยแสดงความเห็นได้ที่ https://law.go.th/listeningDetail?survey_id=MjQ0MkRHQV9MQVdfRlJPTlRFTkQ= ภายในวันที่ 18 สิงหาคมนี้ 

          นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. เปิดเผยว่า กระบวนการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นส่วนสำคัญในการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้นำไปสู่การบังคับใช้ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการเปิดรับฟังความคิดเห็น (ร่าง) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ในครั้งนี้ เป็นส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับการมีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เพื่อกำหนดผู้มีหน้าที่ยื่นคำร้องขอและกระบวนการในการยื่นคำร้องขอให้ทรัพย์สิน รวมทั้งบรรดาทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้มาแทนทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติ ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ โดยให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหน้าที่และอำนาจในการดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ เพื่อขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติตกเป็นของแผ่นดิน เพื่อให้การดำเนินการตามกฎหมายมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น อันเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพแก่กระบวนการร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน 

          โดย (ร่าง) พระราชบัญญัติฉบับนี้มีจำนวน 6 มาตรา มีเนื้อหาสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติประกอบด้วย มาตรา ๓ กำหนดให้อัยการสูงสุดต้องหารือกับคณะกรรมการ ป.ป.ช. กรณีที่จะไม่อุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนแล้วและมีความเห็นว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระร่ำรวยผิดปกติ และกำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาของศาล ได้เสมือนเป็นโจทก์ มาตรา 4 กำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหน้าที่และอำนาจดำเนินการยื่นคำร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติได้เอง มาตรา 5 กำหนดให้นำการหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา การถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งรวมทั้งผลของการถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ตามความในมาตรา 81 มาใช้โดยอนุโลมกับกรณีที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบประทับฟ้องคดีตามร่างมาตรา 4 แล้ว เป็นต้น 

          ประชาชนทั่วไป ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สามารถเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ (ร่าง) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ในรายละเอียด ดังกล่าว ได้ตามคิวอาร์โค้ดแนบท้าย ภายในวันที่ 18 สิงหาคม 2566 

 

 

A8549

Click Donate Support Web  

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!