WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

9486 ปปช

คณะผู้แทนไทยและสำนักงาน ป.ป.ช. เข้าร่วมประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติ ต่อต้านการทุจริต สมัยที่ 14

          ... สานต่อเจตนารมย์พัฒนาการด้านการต่อต้านการทุจริตของประเทศไทยสู่ระดับสากล เข้าร่วมประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญการประเมินติดตามการปฏิบัติตามอนุสัญญาสหประชาชาติ ต่อต้านการทุจริต สมัยที่ 14

          โดยคณะผู้แทนไทยประกอบด้วย นายชีวินท์ ณ ถลาง อุปทูตรักษาราชการ สถานเอกอัครราชทูต ประจำกรุงเวียนนา นายสุวิทย์ แสวงทอง รองอัยการสูงสุด และเจ้าหน้าที่สำนักกิจการและคดีทุจริตระหว่างประเทศ สำนักงาน ป.ป.ช. เข้าร่วมการประชุมต่อเนื่องของ การประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญการประเมินติดตามการปฏิบัติตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต สมัยที่ 14 (Resumed 14th Session of the Implementation Review Group: IRG) ที่กรุงเวียนนา ประเทศสาธารณรัฐออสเตรีย

          ในการประชุมในวันแรก (วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2566) อุปทูตรักษาราชการ สถานเอกอัครราชทูต ประจำกรุงเวียนนา ได้กล่าวแถลงการณ์รายงานเกี่ยวกับพัฒนาการด้านการต่อต้านการทุจริตของประเทศไทยในฐานะรัฐผู้ถูกประเมิน ตามที่ได้รับข้อเสนอแนะจากฝ่ายเลขานุการ UNODC จากกลไกการประเมินการปฏิบัติตามอนุสัญญา UNCAC 

          คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะหน่วยงานกลางของประเทศไทย ได้แสดงความมุ่งมั่นในการพัฒนากฎหมาย มาตรการ และแนวปฏิบัติโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการให้ความมือระหว่างประเทศ และการติดตามทรัพย์สินคืน ให้สอดคล้องกับพันธกรณีแห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตอย่างต่อเนื่อง

          สำหรับ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (United Nations Convention against Corruption: UNCAC) เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ ว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตในระดับนานาชาติฉบับแรก โดยมีพันธกรณีต่อรัฐภาคีแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1.) พันธกรณีที่รัฐภาคีจะต้องปฏิบัติตาม 2.) พันธกรณีที่รัฐภาคีมีสิทธิเลือกที่จะกระทำหรือไม่ก็ได้ และ 3.) พันธกรณีที่รัฐภาคีจะต้องพิจารณา โดยแบ่งเนื้อหาหลักในอนุสัญญา UNCAC ได้ 5 หมวดหมู่ คือ หมวดการป้องกันการทุจริต หมวดการกำหนดความผิดทางอาญาและการบังคับใช้กฎหมาย หมวดความร่วมมือระหว่างประเทศ หมวดการติดตามทรัพย์สินคืน และหมวดความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการแลกเปลี่ยนข้อมูล ปัจจุบัน มีรัฐภาคีรวม 187 ประเทศ (แบ่งเป็น ทวีปยุโรปตะวันตก 27 ประเทศ ยุโรปตะวันออก 23 ประเทศ ละตินอเมริกาและแคริบเบียน 29 ประเทศ แอฟริกา 53 และทวีปเอเชีย 55 ประเทศ โดยจะมีตัวแทนจากสหภาพยุโรปเข้าร่วมประชุมด้วยทุกสมัย) สำหรับประเทศไทยได้ลงนามและให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา UNCAC ตั้งแต่เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2546 และวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2554 ตามลำดับ

          การประชุมระหว่างประเทศภายใต้อนุสัญญา UNCAC มีการประชุมเป็นระยะเพื่อเสริมสร้างศักยภาพประเทศสมาชิกและความร่วมมือระหว่างประเทศในการต่อต้านการทุจริต ซึ่งประกอบด้วย

          1. การประชุมรัฐภาคี (Conference of the State Parties) จะจัดขึ้นทุก 2 ปี โดยในครั้งนี้เป็น การประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญการประเมินติดตามการปฏิบัติตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต สมัยที่ 14 (Resumed 14th Session of the Implementation Review Group: IRG จัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-8 กันยายน พ.ศ. 2566 ที่กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย

          2. การประชุมคณะทำงาน มีทั้งสิ้น 4 รายการ ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ที่กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 1.) การประชุมคณะทำงานว่าด้วยการป้องกันการทุจริต หรือ “Working Group on Prevention” เป็นโอกาสให้ผู้เข้าร่วมการประชุมได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ การดำเนินการในปัจจุบันของรัฐภาคีในการป้องกันการทุจริต รวมถึงการนำข้อแนะนำในข้อมติต่างๆ จากที่ประชุมรัฐภาคี UNCAC ไปปฏิบัติตามที่ได้รับมอบหมายไว้เบื้องต้น 2.) การประชุมคณะทำงานว่าด้วยการติดตามทรัพย์สินคืน หรือ “Working Group on Asset Recovery” เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล แนวปฏิบัติที่ดี และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศผู้ร้องขอความร่วมมือในการดำเนินการติดตามและริบทรัพย์สินคืน กับประเทศผู้รับการร้องขอ 3.) การประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศ หรือ “Expert Meeting on International Cooperation” เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการเสริมสร้างขีดความสามารถตามความต้องการของรัฐภาคี และ 4.) การประชุมกลุ่มทบทวนการปฏิบัติตามอนุสัญญา UNCAC หรือ “Implementation Review Group” (IRG) เพื่อติดตามความคืบหน้าของรัฐภาคีในการปฏิบัติตามอนุสัญญาฯ โดยมีกลไกการทบทวนเป็นการเฉพาะกิจ

          3. ย้อนไปในปี พ.ศ. 2561 ได้มีการจัดการประชุมในหัวข้อ “การป้องกันการทุจริตในกีฬา” (Safeguarding Sport from Corruption Conference) เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 – 6 มิถุนายน พ.ศ.2561 ที่กรุงเวียนนา ซึ่งเป็นการดำเนินการที่สืบเนื่องมาจากข้อมติที่ประชุมรัฐภาคี UNCAC ที่ 7/8 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2560 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการรับรองข้อมติเรื่องการทุจริตในวงการกีฬาเป็นการเฉพาะ

          กลไกการทบทวนการปฏิบัติตามอนุสัญญา UNCAC ได้มีกลไกทบทวน (Review Mechanism) เพื่อประเมินผลการปฏิบัติตามอนุสัญญาฯ ของรัฐภาคี โดยมีการทบทวนในลักษณะจัดสรรรัฐผู้ประเมินและผู้ถูกประเมินโดยการจับสลาก และมีสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime – UNODC) เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะผู้ประเมิน โดยมีผู้เชี่ยวชาญของรัฐที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ประเมินดำเนินการประเมินในนามของประเทศตน การประเมินแต่ละวงจะมีระยะเวลาในการประเมิน 6 ปี โดย 2 ครั้งที่ผ่านมา เป็นการประเมินผลการปฏิบัติตามอนุสัญญาฯ รอบแรก ระหว่างปี 2553 – 2558 กำหนดให้เป็นความผิดทางอาญาและการบังคับใช้กฎหมาย (Criminalization and Law Enforcement) และความร่วมมือระหว่างประเทศ (International Cooperation) ส่วนรอบที่ 2 ระหว่างปี 2559 – 2564 ประเมินผลการปฏิบัติ เรื่องมาตรการป้องกัน (Preventive Measures) และการติดตามทรัพย์สินคืน (Asset Recovery)

 

 

A9486

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

iconmotor

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!