WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

9646 ปปช84

ป.ป.ช. ประชุมหน่วยงานภายใน ขับเคลื่อนเพิ่มประสิทธิภาพ CPI ขององค์กร งบปี 2567

          สำนักงาน ป.ป.ช. นำทีมผู้บริหาร จัดกิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการและเพิ่มค่า ดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ของสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 

          พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. นางสาวสุภา ปิยะจิตติ กรรมการ ป.ป.ช. นายวิทยา อาคมพิทักษ์ กรรมการ ป.ป.ช. นางสุวณา สุวรรณจูฑะ กรรมการ ป.ป.ช. นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข กรรมการ ป.ป.ช. นายณัฐจักร ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา กรรมการ ป.ป.ช. พร้อมด้วยผู้บริหารสำนักงาน ป.ป.ช. ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ร่วมสัมมนา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการของสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 7-9 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา ที่โรงแรมดุสิตธานีหัวหิน อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ทั้งนี้ กิจกรรมสัมมนาดังกล่าวเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตของหน่วยงาน และผลักดันการยกระดับดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) โดยกำหนดแนวทางการดำเนินงานภายในสำนักงาน ป.ป.ช. ให้มีความเชื่อมโยงสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อมีการนำแผนไปสู่การปฏิบัติจะต้องมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยอาศัยตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือในการกำกับติดตามและประเมินความสำเร็จของงาน ซึ่งการกำหนดตัวชี้วัดจะเชื่อมโยงและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนงาน เพื่อที่จะสามารถวัดผลสำเร็จได้อย่างชัดเจน 

          โดยส่วนสำคัญประการหนึ่งของการกำหนดตัวชี้วัด ก็คือ การสร้างจิตสำนึกพื้นฐานให้บุคลากรและเจ้าหน้าที่ในองค์กรทุกคน เกิดความตระหนักและความรู้สึกที่มีส่วนร่วมและรับผิดชอบต่อเป้าหมายขององค์กรและขับเคลื่อนงานตามภารกิจให้เกิดผลสำเร็จไปในทิศทางเดียวกัน ขณะเดียวกันยังเป็นการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการและแผนการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ

          สำนักงาน ป.ป.ช. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานเจ้าภาพหลัก ในการจัดทำแผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ได้กำหนดกรอบการดำเนินงานของแผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ เพื่อมุ่งตอบสนองต่อ 6 แผนแม่บทระดับประเทศ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561–2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566–2570) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561–2580) แผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566–2570) แผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566–2570) และ ยุทธศาสตร์การจัดสรร งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อเป้าหมายภาพรวม ให้ประเทศไทยปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยมีตัวชี้วัดภาพรวมดังนี้

 

ตัวชี้วัด

ค่าเป้าหมาย

2561-2565

2566-2570

2571-2575

2576-2580

ดัชนีการรับรู้ การทุจริต (CPI) ของประเทศไทย

อันดับ 1 ใน 54

และ/หรือได้คะแนน

ไม่ต่ำกว่า 50 คะแนน

อันดับ 1 ใน 43

และ/หรือได้คะแนน

ไม่ต่ำกว่า 57 คะแนน

อันดับ 1 ใน 32

และ/หรือได้คะแนน

ไม่ต่ำกว่า 62 คะแนน

อันดับ 1 ใน 20

และ/หรือได้คะแนน

ไม่ต่ำกว่า 73 คะแนน

 

          สำนักงาน ป.ป.ช. ได้กำหนดแนวทางภายใต้แผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายตามแผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประกอบด้วย 3 แนวทาง โดยในแต่ละแนวทางได้กำหนดลักษณะโครงการ/กิจกรรม ที่สำคัญและหน่วยงานรับผิดชอบหลักตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ สามารถ ขับเคลื่อนการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาการทุจริต ผ่านการปลูกฝังจิตสำนึกความซื่อสัตย์สุจริตให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชน การขับเคลื่อนมาตรการป้องกันการทุจริต และการปราบปรามการทุจริตที่มีประสิทธิภาพ โดยเชื่อมโยงภารกิจและเป้าหมายการดำเนินงานของหน่วยงาน รวมทั้งมุ่งเน้นการยกระดับค่าคะแนนดัชนีการรับรู้ การทุจริต (Corruption Perceptions Index: CPI) ของประเทศไทย ดังนี้ 

          1.) ปลูกฝังวิธีคิด ปลุกจิตสำนึก ให้มีวัฒนธรรมและพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต มุ่งเน้นการสร้างจิตสำนึกการเป็นพลเมืองที่ดี น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน ปรับพฤติกรรม “คน” ทุกกลุ่มในสังคมให้มีจิตสำนึกและพฤติกรรมยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตผ่านหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา เน้นการสร้างวัฒนธรรมและพฤติกรรมสุจริต รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในการต่อต้านการทุจริตในทุกรูปแบบ 

          2.) ป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ ที่มุ่งเน้นการขับเคลื่อนมาตรการและข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ส่งเสริมสนับสนุนการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนการทุจริตภายในหน่วยงานภาครัฐและการยกระดับดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) 

          3.) การยกระดับดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) โดยต้องเร่งการแก้ไขปัญหาสินบน พร้อมกับการแก้ไขปัญหาการตรวจสอบและลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำความผิด และแก้ไขปัญหาความไม่โปร่งใสในระบบงบประมาณและจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

 

 

A9646

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

iconmotor

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!