WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

9820 ปปช99

1 ต.ค.66 ป.ป.ช.เปิดรับยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

          เจาะประเด็นคืบหน้า กรณีเปลี่ยนผ่านรัฐบาล “ประยุทธ์”สู่ “เศรษฐา” ป.ป.ช. เดินหน้าเปิดรับยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กําหนดเวลา 60 วันหลังจากที่เข้ารับตำแหน่ง

          นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ประกาศรับรองสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ครบ 500 คน แบ่งเป็น ส.ส.แบบแบ่งเขต 400 คน และ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 100 คน ซึ่งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 102 ได้กำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ โดยได้ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าพนักงานของรัฐต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไปนั้น    

          ล่าสุด สำนักงาน ป.ป.ช. ได้กำหนดให้เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ จำนวน 53 ราย ที่ห้องแสดงบัญชีฯ อาคาร 1 ชั้น 1 สำนักงาน ป.ป.ช. สนามบินน้ำ มีระยะเวลาเปิดเผยตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน ถึงวันที่ 14 ตุลาคม 2566 

          ขณะเดียวกัน ป.ป.ช.ก็เตรียมจะเปิดให้ ยื่นบัญชีทรัพย์สินออนไลน์ สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามมาตรา 102 (9) เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป  

          นายนิวัติไชย เลขาธิการฯ ป.ป.ช. กล่าวต่อว่า ในกรณีการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกรณีเปลี่ยนผ่านรัฐบาลว่า สำหรับนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ให้ถือวันถวายสัตย์ปฏิญาณฯ เป็นวันเข้ารับตำแหน่ง ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ให้ถือวันปฏิญาณตนในที่ประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นวันเข้ารับตำแหน่ง ต้องยื่นภายในกําหนดเวลา 60 วันหลังจากที่เข้ารับตำแหน่ง แต่หากมีเหตุผลความจำเป็น อาจยื่นขอขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกิน 30 วัน โดยชี้แจงเหตุของการยื่นบัญชีล่าช้าต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.และต้องยื่นคำขอก่อนวันครบกำหนด    

          ดังนั้น ตามที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ในรัฐบาลของ นายเศรษฐา ทวีสิน ซึ่งได้ถวายสัตย์ปฏิญาณฯ ไปเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2566 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ส่งผลให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา สิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ สำนักงาน ป.ป.ช. จึงได้ขอชี้แจงรายละเอียดการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินพร้อมเอกสารประกอบของคณะรัฐมนตรีทั้งสองคณะ ประกอบด้วย 

          1.) นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีในรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินพร้อมเอกสารประกอบ ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. กรณีพ้นจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2566 โดยมีระยะเวลาในการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินภายใน 60 วัน ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน ถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2566 หากไม่สามารถยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินได้ทันภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว สามารถยื่นคำขอขยายระยะเวลาการยื่นบัญชีฯ ได้ไม่เกิน 30 วัน โดยต้องยื่นคำขอดังกล่าวภายในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2566 และ 

          2.) นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีในรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินพร้อมเอกสารประกอบต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. กรณีเข้ารับตำแหน่ง เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2566 โดยมีระยะเวลาในการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินภายใน 60 วัน ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน ถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2566 หากไม่สามารถยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินได้ทันภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว สามารถยื่นคำขอขยายระยะเวลาการยื่นบัญชีฯ ได้ไม่เกิน 30 วัน โดยต้องยื่นคำขอดังกล่าวภายในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2566 โดยหากมีรัฐมนตรีในรัฐบาลของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน ภายใน 30 วันหลังพ้นจากตำแหน่ง ก็จะได้รับการยกเว้นโดยไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินกรณีพ้นจากตำแหน่ง และกรณีเข้ารับตำแหน่งใหม่ แต่ไม่ต้องห้ามที่จะยื่นไว้เป็นหลักฐาน    

          กรณีดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่ง ได้รับการยกเว้นไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินกรณีเข้ารับตำแหน่งใหม่ แต่ไม่ต้องห้ามที่จะยื่นไว้เป็นหลักฐานและกรณีพ้นจากตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน จะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีพ้นจากตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ตามมาตรา 102 (9) และต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินกรณี เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรี ตามมาตรา 102 (1)    

          ในการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะต้องยื่นพร้อมเอกสารประกอบ ซึ่งเป็นหลักฐานที่พิสูจน์ความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สิน รวมทั้งหลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในรอบปีภาษีที่ผ่านมา กรณียื่นเป็นเอกสารผู้ยื่นจะต้องลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องกำกับไว้ในบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินและสำเนาหลักฐานที่ยื่นไว้ทุกหน้า พร้อมทั้งจัดทำรายละเอียดของเอกสารประกอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินที่ยื่นด้วย สามารถยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินได้ 3 ช่องทาง ได้แก่   

          1.) จัดส่งด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้บุคคคลอื่นจัดส่งแทน ที่ สำนักงาน ป.ป.ช. ส่วนกลาง หรือสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัด    

          2.) จัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ และ   

          3.) ให้ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินออนไลน์ผ่านระบบ ODS ซึ่งสะดวกรวดเร็ว เพียงเตรียมไฟล์และเอกสารประกอบให้อยู่ในรูปแบบ PDF โดยสามารถยื่นได้ที่ เว็บไซต์ https://asset.nacc.go.th

 

 

A9820

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

iconmotor

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!