WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

9982 ปปช ปัญหาคอร์รัปชัน

ปัญหาคอร์รัปชันกับ การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) เป้าหมายที่ 16

          ช่วงปีที่ผ่านมา มีเรื่องส่วยรถบรรทุก การรับสินบน การทุจริตอาหารกลางวัน การฟ้องปิดปากจากกลุ่มทุนพลังงาน การฮั้วงานประมูลของรัฐ และอื่นๆ ล้วนเป็นข่าวที่เกิดขึ้นสังคมไทยที่สะท้อนถึงปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ความไม่โปร่งใส บนหน้าสื่ออย่างต่อเนื่อง ทั้งที่รัฐบาลและหลายหน่วยงานพยายามแก้ไข แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นที่รับรู้ทั่วกันว่า ปัญหาการทุจริต เป็นปัญหาระดับโลก เพราะเกิดขึ้นในทุกประเทศ มาก น้อย แตกต่างกัน

          หากเชื่อมโยงเรื่องการทุจริตกับกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เมื่อพิจารณาทั้ง 17 เป้าหมาย เป้าหมายย่อยทั้ง 169 ข้อ ต้องถือเป็นหนึ่งในประเด็นภายใต้การพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมาย16 สันติภาพ ยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง โดยพิจารณาจาก เป้าหมายย่อยของเป้าหมายที่ 16 ได้แก่

          16.1 ลดความรุนแรงทุกรูปแบบและอัตราการตายที่เกี่ยวข้องในทุกแห่งให้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

          16.2 ยุติการข่มแหง การใช้หาประโยชน์อย่างไม่ถูกต้อง การค้ามนุษย์ และความรุนแรงและการทรมานทุกรูปแบบที่มีต่อเด็ก

          16.3 ส่งเสริมนิติธรรมทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศและสร้างหลักประกันว่า จะมีการเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมแก่ทุกคน

          16.4 ลดการลักลอบเคลื่อนย้ายอาวุธและเงิน เสริมความแข็งแกร่งของกระบวนการติดตามและการส่งคืนสินทรัพย์ที่ถูกขโมยไป และต่อสู้กับอาชญากรรมที่จัดตั้งในลักษณะองค์กรทุกรูปแบบ ภายในปี 2573

          16.5 ลดการทุจริตในตำแหน่งหน้าที่และการรับสินบนทุกรูปแบบ

          16.6 พัฒนาสถาบันที่มีประสิทธิผลมีความรับผิดชอบและโปร่งใสในทุกระดับ

          16.7 สร้างหลักประกันว่าจะ มีกระบวนการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ ครอบคลุม มีส่วนร่วมและมีความเป็นตัวแทนที่ดีในทุกระดับการตัดสินใจ

          16.8 ขยายและเสริมความ แข็งแกร่งของการมีส่วนร่วมของประเทศกำลังพัฒนาในสถาบันโลกาภิบาล

          16.9 จัดให้มีเอกลักษณ์ทาง กฎหมายสำหรับทุกคนโดยรวมถึงการให้มีสูติบัตรภายในปี 2573

          16.10 สร้างหลักประกันว่าสาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและมีการปกป้องเสรีภาพขั้นพื้นฐานโดยเป็นไปตามกฎหมายภายในประเทศและความตกลงระหว่างประเทศ

          ย้อนหลังกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2558 องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้เสนอวาระการพัฒนา Sustainable Development Goals (SDGs) ทั้งหมด 17 เป้าหมาย และมุ่งบรรลุให้ได้ภายในปี 2573 เป้าหมายดังกล่าวได้รับการตอบรับอย่างดีจากประเทศสมาชิก และมีทั้งหมด 193 ประเทศร่วมลงนามรับรอง รวมถึงไทยด้วย ถึงวันนี้ นับเป็นปีที่ 7 ของการขับเคลื่อน SDGs เรียกว่าดำเนินการมาครึ่งทางแล้ว แต่โลกยังไม่บรรลุเป้าหมายใดเลย และ SDG16 เป็น 1 ใน 6 เป้าหมายที่อยู่ในสถานะท้าทายมาก (สีแดง) หรือเรียกอีกอย่างว่าอยู่ในสถานการณ์วิกฤติมีความท้าทายอย่างมาก และยังเป็น 1 ใน เป้าหมายที่ “ไม่คืบหน้า” เมื่อเทียบกับปีเริ่มต้นของการเริ่มต้นเป้าหมาย

          หากพิจารณาตามรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG Index 2023 ที่จัดทำโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ซึ่งมีการจัดอันดับประเทศทั้งสิ้น 166 ประเทศ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว (2565) 163 ประเทศ พบว่า ไทยอยู่ในอันดับ 43 ของโลก คะแนนดัชนีอยู่ที่ 74.7 อันดับดีขึ้น 1 อันดับจากปี 2565 ซึ่งอยู่อันดีบที่ 44 และมีเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 0.6 คะแนน 

          เมื่อพิจารณสถานะเป้าหมาย SDG เฉพาะในประเด็นของเป้าหมายที่ 16 เท่านั้น ของประเทศไทยจะพบว่า นับตั้งแต่ปี 2560 ถึงปัจจุบัน อยู่ในสถานะท้าทาย (สีส้ม) จนถึงท้าทายมาก (สีแดง) และที่ขยับจากท้าทาย มาเป็นท้าทายมาก ในปี 2565 และ 2566 เนื่องจากมีการเปลี่ยนตัวตัวชี้วัด SDG Index ใหม่ ทำให้สามารถแสดงให้เห็นสถานการณ์จริงมากขึ้นจนนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงของสถานะ

          ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ เพราะที่ผ่านมารัฐบาล กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ประเทศไทย โดยให้ความสำคัญ มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมในบางประเด็น เช่น โมเดลเศรษฐกิจ BCG การส่งเสริมการผลิตพลังงานไฟฟ้า นโยบายคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (net zero carbon) แต่ไม่มียุทธศาสตร์ ใดที่มุ่งขับเน้นการแก้ปัญหาในประเด็น เสรีภาพ ความเป็นธรรม ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังและซับซ้อนของสังคมไทยมานาน

          สอดคล้องกับ SDG Move จัดทำแบบสำรวจการรับรู้ความก้าวหน้าในการแก้ปัญหาที่เป็นความท้าทายของไทย ผ่านการทำแบบสอบถาม “Thailand’s Unsustainable Development Review: 7 ปีผ่านไป ไทยยั่งยืนแค่ไหน ในสายตาคุณ” พร้อมท้ังการประมวลผลร่วมกับรายงาน Sustainable Development Report 2022 โดย SDSN รายงานความก้าวหน้า SDGs ของประเทศไทย พ.ศ. 2559-2563 โดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่ผู้ตอบแบบสำรวจมองว่าถดถอยมากที่สุด ได้แก่ 

          การทุจริตและการติดสินบน นับเป็นประเด็น มีความถดถอยในการแก้ปัญหามากที่สุดเป็นอันดับที่ 1 สอดคล้องกับข้อมูลของ SDG Index ปี 2565 ที่พบว่าประเทศไทยมีความท้าทายอย่างมากใน SDG 16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง เรื่องดัชนีการรับรู้การทุจริตคอร์รัปชัน (Corruption perception index: CPI) ติดอันดับตัวชี้วัดที่มีแนวโน้มที่แย่ลง อันดับที่ 7 ของข้อมูล SDG Index ปี 2564 ด้วยเช่นเดียวกัน นั่นหมายความว่า ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนและข้อมูลแนวโน้มความยั่งยืนในประเด็นการทุจริตและการติดสินบน มีความเห็นตรงกันว่า “มีแนวโน้มแย่ลง”

          ความรุนแรงสุดโต่ง มีความถดถอยในการแก้ปัญหามากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ข้อมูลของ World Population Review ประจำปี 2565 เผยผลสำรวจประเทศที่มีกรณีการเสียชีวิตด้วยอาวุธปืนมากที่สุดในโลก ประจำปี 2022 กลับพบว่าประเทศไทย ติดอันดับที่ 15 ที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยอาวุธปืนจำนวน 2,804 คน และมีอัตราการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับอาวุธปืน เฉลี่ย 3.91 คน ต่อประชากร 1 แสนคน สอดคล้องกับปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น เช่น เหตุกราดยิงโคราช ปี 2563 มีผู้เสียชีวิต 30 ราย เหตุกราดยิงจังหวัดหนองบัวลำภู ปี 2565 มีผู้เสียชีวิต 36 ราย และเหตุกราดยิงสายไหม

          ค่าครองชีพไม่สอดคล้องกับรายได้ มีความถดถอยในการแก้ปัญหามากที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ผลสำรวจสถานการณ์แรงงานไทยปี 2565 โดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รายงานว่า แรงงานไทยดำรงชีพด้วยค่าแรงขั้นต่ำต่อวันที่ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย เนื่องด้วยราคาสินค้าที่แพงขึ้น เช่นเดียวกันกับ ข้อมูลของรายงาน Area Need ที่ระบุว่า ในมิติเศรษฐกิจ พื้นที่มีความต้องการระดับภาคในการแก้ไขปัญหาเรื่องค่าครองชีพที่สวนทางกับค่าจ้าง 

          การจัดการกับมลพิษทางอากาศ มีความถดถอยในการแก้ปัญหามากที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ข้อมูลรายงานความก้าวหน้าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2559-2563 ที่จัดทำโดย สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่า สถานการณ์ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 รุนแรงขึ้นทุกปี ซึ่งรายงานสถานการณ์มลพิษของไทยปี 2562 มีการวัดค่าเฉลี่ยฝุ่น 24 ชั่วโมงสูงกว่าค่ามาตรฐานในหลายพื้นที่และนำมาซึ่งอาการเจ็บป่วยหลายประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กและผู้สูงอายุ โดยสถานการณ์ของประเทศไทยยังคงมีแนวโน้มที่แย่ลงต่อเนื่องหลายปี

          ความรุนแรงในกระบวนการยุติธรรม มีความถดถอยในการแก้ปัญหามากที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ข้อมูลดัชนีหลักนิติธรรม (Rule of Law Index) ประจำปี 2565 จัดทำโดยกลุ่มนักวิจัย The World Justice Project พบว่า ประเทศไทย ได้คะแนนจากดัชนีหลักนิติธรรม เพียง 0.50 คะแนน จากคะแนนเต็ม 1 คะแนน จัดอยู่ในลำดับที่ 80 ของโลก ซึ่งแสดงว่าประเทศไทย มีหลักนิติธรรมอ่อนแอที่สุด นับเป็นข้อมูลเชิงสถิติที่ยังคงน่ากังวล

          ปี 2566 นี้ ประเทศไทยมีประเด็นความท้าทายอย่างมาก ในส่วน SDG16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะเรื่องตัวชี้วัดเรื่องดัชนีการรับรู้การทุจริตคอร์รัปชัน (Corruption perception index) ระดับความชอบด้วยกฎหมายของการเวนคืนและความเป็นธรรมในการจ่ายค่าชดเชย จึงเป็นไปได้ยากยิ่งที่ประเทศไทยจะบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ โดยมิได้ให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมสังคมที่สงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างกระบวนการยุติธรรมที่ทุกคนเข้าถึงได้ และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิภาพ ตรวจสอบได้ และเปิดกว้างในทุกระดับ 

 

 

A9982

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

iconmotor

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!