WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Awareness จุดเริ่มต้นของธุรกิจยั่งยืน สังคมยั่งยืน

      ก่อนหน้านี้ ผมไม่ได้มีความรู้มากนักในเรื่องของความยั่งยืน หรือ Sustainabilty และในปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น การใช้ปลาป่นซึ่งมีผลกระทบต่อทะเลมานำทำเป็นอาหารกุ้ง โดยมีปลาป่นประมาณ 10%ในการผลิตอาหารกุ้ง แต่ไม่ว่าจะใช้ในปริมาณเท่าไร มีส่วนร่วมเท่าไร ก็ต้องถือว่ามีส่วนร่วม ต้องมีบทบาทและมีความรับผิดชอบ เพราะในที่สุดผลกระทบนั้นก็ตกอยู่ทั้งประชาชนผู้บริโภคและตัวบริษัท

ความตระหนักรู้ หรือ Awareness จึงเป็นสิ่งสำคัญ ในส่วนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่ผ่านมานั้น ให้ความสำคัญคือเรื่อง Food Safety และถือได้ว่าเป็นผู้ที่ค่อนข้างจะรู้เรื่องของ Sustainability ในระดับหนึ่ง เพราะส่งออกทั้งกุ้ง ทั้งไก่ ทั้งหมู และได้รับ Requirement จากทั่วโลก เช่น จากยุโรปก็ดี  จากญี่ปุ่น  อเมริกาก็ดี เพราะว่า ประเทศเหล่านั้นมีการตระหนักรู้กับเรื่องเหล่านี้อยู่ในระดับหนึ่ง 

       ด้วยเหตุนี้ เครือฯจึงคิดว่า การทำงาน การสร้างฟาร์ม ไม่ว่าจะฟาร์มกุ้ง ฟาร์มไก่ ฟาร์มหมูต่างๆ จะต้องได้มาตรฐานโลก และจะต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบต่าง ๆ ทั้งเรื่องแรงงาน และอื่นๆ ที่สำคัญ  เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานโลกอยู่แล้ว นั่นคือการรับรู้ของเครือฯในหลายปีก่อน และเมื่อได้มีโอกาสร่วมการประชุม UN Global Compact ก็ทำให้ได้เปิดหูเปิดตาและมีความตระหนักรู้เรื่อง Sustainability สูงมากขึ้น และเข้าใจว่า Sustainability มีความหมายอย่างไรบ้าง ซึ่งทำให้สรุปได้ว่า Sustainability เป็นเรื่องของ awareness หรือ ความตระหนักรู้

      ประเด็นในส่วนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ก็คือ เราทำหลายอย่างเพื่อจะปรับปรุง เปลี่ยนแปลง สิ่งที่คิดว่าเราทำได้ดีแล้ว แต่ยังไม่พอ และยังต้องทำอีก สิ่งที่เราต้องเปลี่ยนอันดับแรกคือ ความคิด(Mentality)ของผู้บริหาร  ความคิดของชุมชนของเราเอง  เครือเจริญโภคภัณฑ์เป็นชุมชนที่มีประชากร หรือมีพนักงานร่วม ๆ 350,000 คน ถือเป็นชุมชน หรือ Community ที่ใหญ่มาก เราจะต้องเปลี่ยนชุมชนของเราก่อน และวิธีคิดของคนในชุมชนนี้ก่อน ซึ่งอันดับแรกที่ต้องทำคือนโยบายจากระดับบนของเครือฯและการ Cascade เชื่อมโยงลงไป และการให้ความรู้ เพื่อทำความเข้าใจว่า Sustainability นั้นคืออะไร มีอะไรบ้าง ซึ่งจุดนี้เป็นส่วนที่สำคัญมาก

     นอกจากนี้ ผมได้ค้นพบอีกหลายอย่างว่าความตระหนักรู้ของแต่ละภาคฝ่ายก็เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเรามี Awareness ก็จะมีการเปลี่ยนแปลง อาทิ การตระหนักรู้ของทางภาครัฐก็ถือเป็นตัวสำคัญเพราะรัฐมีอิทธิพลต่อชุมชนมาก เพราะการเปลี่ยนแปลงทุกการเปลี่ยนแปลงจะต้องเกิดขึ้นจากชุมชน 

      ยกตัวอย่าง ชุมชนเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งก็คงไม่ได้เปลี่ยนแปลงได้เร็วและง่าย แต่เปลี่ยนแปลงได้  โดยการสร้างเป้าหมายใหม่ โดยการให้ความรู้ โดยการบอกว่า Sustainability คืออะไร พวกเราเข้าใจตรงกันหรือไม่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราสร้างได้ เพราะเราเป็นภาคเอกชน ซึ่งภาครัฐก็ต้องทำเหมือนกัน ลักษณะเดียวกัน 

       ในเรื่อง Community Engagement ขอยกตัวอย่างปีนี้ ข้าวโพด ที่แม่แจ่มมีการเผาเพื่อรอรอบการเพาะปลูกใหม่ลดลงถึง 80% ซึ่งเกิดขึ้นจากภาครัฐร่วมกับเอกชนลงไปให้ความรู้ชุมชน ให้แรงจูงใจ เพื่อที่จะไม่เผา หรือใช้วิธีการอื่นเพื่อที่จะไม่เผา ก็ปรากฏว่าสามารถลดการเผาลงได้ถึง 80% ที่แม่แจ่ม จะเห็นได้ว่าเป็นเรื่อง Awareness ของชุมชน เป็นเรื่อง Awareness ของระบบ ของผู้มีส่วนร่วมในซัพพลายเชนของกลุ่มธุรกิจที่เราต้องสร้างด้วย ไม่ใช่เฉพาะพนักงานเท่านั้น เมื่อเราทำแล้วก็ต้องถามว่าคู่ค้าของเรามีใครบ้าง นี่คือสิ่งที่เราต้องไปทำต่อ เพราะว่าชุมชนของเราขยายใหญ่ออกไปเรื่อยๆ  

     การได้มีโอกาสไปร่วมกับ UN ซึ่งเป็นชุมชนระดับโลก (Global Community) ก็ถือว่าเป็นเรื่องของ Global Awareness ที่ทำให้มีโอกาสมาสร้างการตระหนักรู้ต่อเนื่อง และได้บอกว่าเราทำอะไรไปบ้าง

      เรื่องของ Sustainability ในที่สุดนั้น เชื่อว่าเป็นเรื่องการให้ความรู้แก่ชุมชน ตั้งแต่ชุมชนระดับมหภาค รัฐบาล เอกชน ลงมาจนถึงชุมชนเล็กๆ  ซึ่งปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้นั้นก็ต้องบอกว่าคือตัวผู้นำชุมชน ถ้าบอกว่าเครือเจริญโภคภัณฑ์จะเปลี่ยนแปลง ก็คือตัวผู้นำซึ่งต้องเห็นด้วย ให้การสนับสนุนและมี Commitment ในเรื่องนี้ แต่องค์ความรู้ที่จะทำให้เกิดความเข้าใจทั้งหมดเป็นสิ่งที่แม้กระทั่งตัวผู้นำของเครือฯเองก็ต้องเรียนรู้ ตัวผมเองก็ต้องเรียนรู้ และที่เหลือทั้งหมดต้องเรียนรู้ ชุมชนลงไปจนถึงชุมชนที่เล็กที่สุด ตัวผู้นำชุมชนต้องมี commitment และต้องเรียนรู้ เราจะทำยังไงถึงจะทำให้ผู้นำชุมชนมี Commitment และเรียนรู้พร้อม ๆ กันไป  โรงเรียนซึ่งเป็นผู้ที่สร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่ออกมา  โรงเรียนเองมี Commitment เรื่องนี้หรือไม่ โรงเรียนจะสอนเด็กรุ่นใหม่ว่าSustainability คืออะไรกันแน่ และทำไมมันถึงจะเป็นการตอบโจทย์ว่ามันดีกับตัวเราเองในที่สุด

     ความเปลี่ยนแปลงที่เราทำกันอยู่ทุกวันนี้ คือ เราทำตัวเราเอง และผลที่ย้อนกลับมาคือมาสู่จุดที่เราอยู่ คือตัวของเราเอง สิ่งเหล่านี้เยาวชนจะรู้ไหม  ขอพูดถึง ลูกชายของผม ตอนอายุ 10ขวบ คุณปู่สั่งหูฉลามมารับประทานบนโต๊ะเป็นอาหารฉลองวันเกิดให้คุณย่า  ลูกชายผมก็ Walk out จากห้องดินเนอร์ เพราะต่อต้านการกินหูฉลาม เนื่องจากเขามีโอกาสได้เรียนรู้ว่าการได้มาซึ่งหูฉลามได้ทำลายอะไรไปบ้าง จากการได้ดูสารคดีทำให้เกิดการตระหนักรู้ ในเรื่องนี้จึงคิดว่ามีหลาย ๆ ระดับ หลาย ๆ ชุมชนตั้งแต่ภาพใหญ่สุดจนไปถึงภาพเล็กสุด แต่ภาพเล็กที่สุดต้องเป็นโรงเรียนกับชุมชน ซึ่งเห็นว่าตรงนี้มีความสำคัญที่สุด

      เราต้องปลูกฝังเรื่องความยั่งยืนกันตั้งแต่เด็กๆ ด้วยการกระทำ สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆก็คือโรงเรียน  เพราะโรงเรียนจะขับเคลื่อนให้เกิดการสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ ตัวโรงเรียนจึงต้องรู้ว่าบทบาทเขาคืออะไร และบทบาทของโรงเรียนคือการ Transfer Values Knowledge  ผมใช้คำว่า Values คือคุณธรรม จริยธรรม คือ Core Values กับ Knowledge  แต่โรงเรียนจำกัดบทบาทแค่สอนนักเรียนให้รู้แต่ละวิชาแล้วสอบได้ ซึ่งจริงๆ แล้วบทบาทของโรงเรียนคือพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนที่มีทั้ง ไอคิว อีคิว รวมถึงความตระหนักรู้ในเรื่องของ Sustainability หรือถ้าตามหลักศาสนาพุทธคือ Connectivity ทุกอย่างเชื่อมโยงกันหมดคือมี Compassion ซึ่งต้องเริ่มตั้งแต่เด็ก โรงเรียนมีส่วนสำคัญ ไม่ใช่แค่สอนเด็กนักเรียน แต่ว่าสอนชุมชน ยิ่งชุมชนที่อยู่ห่างไกลออกไป ยิ่งโอกาสรับรู้จะยิ่งน้อย เพราะอยู่ใน Survival Mode (การดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด) เพราะฉะนั้นการสอนชุมชนว่า Values ที่ยั่งยืนจริงๆ คืออะไร การพัฒนาโรงเรียนซึ่งเข้าไปถึงทุกชุมชน จึงมีสำคัญมากๆ 

      เรื่อง Sustainability นั้น จะบอกว่าไกลก็ไกล ใหญ่ก็ใหญ่ จะบอกว่าเล็กก็เล็ก หมายความว่าอย่างไร  คือถ้าเราเองมี Awareness เรื่องนี้ และถ่ายทอดต่อให้คนรอบข้างของเรา เชื่อมโยงในจุดสำคัญ เช่น จะเป็นโรงเรียนก็ดี หรือผู้ปกครองก็ดี เราก็สามารถสร้าง Impact  ในเรื่อง Awareness ได้ เพราะตามสถิติแล้วในชีวิตของมุนษย์  1 คนนั้นเราจะได้พบเจอคนถึง 80,000 คน จะบอกว่าเอาแค่ Basic ของคนรอบ ๆ เรามา Compassion  หรือมา Connectivity ก่อน และก็จะสามารถทำต่อไปในเรื่องของ Sustainability ได้ ทุกอย่างไม่ได้เริ่มไกลมาก  เราต้องเริ่มที่องค์กร เริ่มที่ตัวเรากับคนรอบข้างเราและในที่สุดก็จะสามารถ Create Impact ได้ไม่ต้องไปไกลมาก

     หมายเหตุ : การอภิปรายของคุณศุภชัย เจียรวนนท์ ในหัวข้อ"สถานการณ์บริโภคยึดจริยธรรม และธุรกิจที่ยั่งยืนในประเทศไทย” (The state of ethical consumerism and sustainable business in Thailand) บนเวทีสัมมนนา"ธุรกิจยึดจริยธรรมและธุรกิจที่ยั่งยืน" (Thailand’s Ethical and Sustainable Business Forum) จัดโดย OXFAM ป่าสาละ Change Fusion เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2559   ณ โรงแรม Crowne Plaza Lumpini โดยมีผู้ร่วมอภิปรายประกอบด้วย คุณสฤณี อาชวานันทกุล บ.ป่าสาละ  คุณบดินทร์ อูนากูล รองผจก.ตลาดหลักทรัพย์ฯ  Mr.Alex Mavro ประธานบริหารฝ่ายปฏิบัติการ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์  คุณวรวัฒน์ ศรียุกต์ Vice President ด้านCorporate Sustainabilty บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด  ดำเนินรายการโดยคุณสุนิตย์ เชรษฐา กรรมการผู้จัดการ Change Fusion

โดย CP Group / วันที่โพสต์ 18 มี.ค. 2559 โดย ศุภชัย เจียรวนนท์ รองประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!