WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AINSUR

ฝึกทักษะด้านการสื่อสาร ถ่ายทอดอย่างไรให้ผู้อื่นเข้าใจตรงกัน

โดยคุณนพวรรณ จุลกนิษฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด

    ทักษะการสื่อสารเป็นทักษะที่สำคัญมากในการใช้ชีวิต และในการทำงาน แม้ว่าเราจะมีความคิด ไอเดีย ดีแค่ไหน แต่หากไม่รู้จักสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ ก็คงไม่สามารถทำให้ผู้อื่นรับรู้ และเข้าใจได้ ที่ต้องพึงระวังไปมากกว่านั้นคือการที่พยายามจะสื่อสาร แต่ไม่มีความชำนาญอาจถึงขั้นทำให้หลายฝ่ายเข้าใจผิด เกิดปัญหาขึ้น และทำให้เกิดความผิดพลาด เสียหายในที่สุด

     หลายๆ คนมักมองว่า การสื่อสารเป็นเรื่องที่ง่าย เลยไม่ได้ให้ความสำคัญ หรือใส่ใจมากเท่าที่ควร ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วการสื่อสารเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่จะว่ายาก ก็ไม่ยากขนาดนั้น ขอเพียงแค่ต้องใส่ใจ ฝึกฝนและคิดตามดังข้อแนะนำต่างๆ ต่อไปนี้

    1. ถ้าจำไม่ได้ต้องจด - บ่อยครั้งที่เราอยู่ในการประชุมอันยาวนาน และมีข้อถกเถียง ข้อสรุปเกิดขึ้นมากมาย ที่เราต้องน้อมรับไปปฏิบัติต่อ หรือต้องนำไปถ่ายทอดให้คนอยู่นอกห้องประชุมฟัง เพื่อนำไปปฏิบัติติดตามงาน โดยส่วนใหญ่แล้วมักมีมากมายหลายข้อ หลายเงื่อนไข เพื่อกันพลาด อย่าลืมจดบันทึก หรือวาดภาพเก็บไว้เพื่อไม่ให้ลืม ยิ่งสมัยนี้ทันสมัยกว่า แค่คว้าสมาร์ทโฟนมาถ่ายภาพ เก็บเอาไว้ก็ได้เช่นกัน เอาที่ตัวเองอ่านเข้าใจ และนำไปถ่ายทอดได้อย่างมีประสิทธิภาพจะดีที่สุด

    2. จับประเด็นสำคัญ - ในหนึ่งเรื่องราว หนึ่งคำสั่งที่เราได้ยินมา อาจจะเป็นเรื่องอารัมภบทต่างๆ นานา หรืออาจจะเป็นกลยุทธ์ยุทธศาสตร์อะไรที่ยาวเหยียด ถ้าคุณได้รับการมอบหมายให้เป็นผู้ส่งต่อสาร ก่อนจะไปบอกไปสั่งงานใคร กรุณาเรียบเรียงใจความสำคัญในสมองตัวเองสักนิด ว่าเราจะไปเล่าต่ออย่างไรดี ให้กระชับ และเหมาะสมกับบริบทของเนื้องานมากที่สุด การสื่อสารที่ดีไม่ใช่ว่าต้องไปพูดในทุกสิ่งที่คุณได้ยินมา ให้ผู้ฟังรับทราบ ถ้ามันไม่ได้เกี่ยวอะไรเลยกับเนื้องาน ก็ไม่จำเป็นต้องพูด

    3. สื่อสารให้ตรงประเด็น - เมื่อเรียบเรียงจับประเด็นสำคัญได้แล้ว เวลาต้องถ่ายทอดต่อ ควรสื่อสารให้ตรงประเด็น อย่าพูดอ้อมค้อมให้เกิดความสับสนไปอีก สารเมื่อได้รับการสื่อต่อหลายๆทอด ก็ย่อมเกิดความบิดเบือนได้มากอยู่แล้ว อย่าพยายามปั้นคำพูดให้ดูสวยงามแต่น้ำท่วมทุ่ง จนทำให้ผู้ฟังต้องไปจับประเด็นอีกรอบหนึ่ง พูดให้ตรงประเด็น จะย่นระเวลาได้อีกเยอะ

    4. รู้ว่าต้องพูดอะไร กับใคร - ต้องวิเคราะห์ผู้รับสาร ว่าเขาจำเป็นต้องรู้เรื่องไหน แล้วไม่ควรรู้เรื่องไหนบ้าง ต้องพูดอย่างไรเพื่อประสานประโยชน์ของหลายๆ ฝ่ายให้ลงตัว ในเรื่องเดียวกัน ถ้าเราให้ผู้บังคับบัญชาฟัง ก็ควรหยิบเอาประเด็นที่ผู้บังคับบัญชาสนใจมาเล่าให้ฟัง เพราะอาจมีผลต่อนโยบายบริหาร แต่ถ้าเราให้ผู้ใต้บังคับบัญชาฟัง อาจจะต้องเล่าอีกมุมหนึ่ง เป็นต้น

    5. พยายามทำความเข้าใจกับทั้ง 2 ฝ่าย - สิ่งที่ยากที่สุดของการสื่อสาร คือ การเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อระหว่างหลาย ฝ่าย ในเบื้องต้นเราต้องเข้าใจคนทั้ง 2 ฝ่าย ว่าแต่ละฝั่งมีความต้องการแบบไหน ในเรื่องใด และเค้าเหล่านั้นมี พื้นความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มาดีมากน้อยแค่ไหน จะเห็นได้บ่อยครั้งว่า บางคนไม่ได้ทำการบ้านมาก่อนทำการสื่อสาร แล้วหลุดพูดอะไรที่อีกฝ่ายไม่ควรรู้ออกมา หรือพูดในสิ่งที่อีกฝ่ายตามไม่ทัน เพราะไม่มีการปูพื้นฐานเล่าย้อนเรื่องราวที่น่าจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจก่อนเลย ทำให้ผู้ฟังอาจจะต้องหาจุดเชื่อมเรื่องราวเอาเองจนอาจเกิดเป็นความเข้าใจผิด ดังนั้นจึงควรใส่ใจ และทำการบ้านก่อนให้มากก่อน จะเชื่อมประสานประโยชน์ระหว่างหมู่คณะ ไม่ใช่ทุกคนจะรู้ทุกเรื่องแบบที่เราคิดว่าเค้าน่าจะรู้ และไม่ใช่ทุกคนจะเข้าใจในมุมมองแบบเรา โปรดระวังให้ดี

    6. อย่าใส่อารมณ์ตัวเอง - เมื่อเราเป็นคนกลาง จะพูดจะคุยอะไรต้องระมัดระวัง อย่าใส่อารมณ์ เหตุผล และทัศนคติตนเองลงไปปรุงแต่งในสาร เพราะอาจจะทำให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงยิ่งกว่าเดิมได้ อย่าได้ออกความเห็นจนกว่าจะโดนขอร้องให้แสดงความคิดเห็น ได้รับสารมาอย่างไร หยิบประเด็นสำคัญมาสื่อสารไปก่อน

    ไอบีเอ็มจับมือสมาคมเทนนิสสหรัฐอเมริกา ส่งเทคโนโลยีค็อกนิทิฟ ไอบีเอ็ม วัตสันรังสรรค์สุดยอดประสบการณ์ให้แฟนเทนนิสถึงขอบสนามผ่านแอพผู้ช่วยอัจฉริยะ ยูเอสโอเพ่น’ (US Open)

     แอพยูเอสโอเพ่นผสานความสามารถเชิงปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ก้าวล้ำ ที่ทำงานบนแพลตฟอร์มคลาวด์ไฮบริด ไอบีเอ็ม บลูมิกซ์ผนวกความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกได้แบบเรียลไทม์ ผ่านบริการต่างๆ อาทิ

    - บริการข้อมูลเกี่ยวกับทัวนาเมนท์ อาทิ เส้นทางและการเดินทาง อาหารและเครื่องดื่ม บริการและสิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณสนามแข่ง เป็นต้น โดยแฟนๆ สามารถถามคำถามเป็นภาษาธรรมชาติที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น จะซื้อโซดาได้ที่ไหนหรือ ‘จุดขึ้นแท็กซี่อยู่ที่ไหนจากนั้นระบบที่ใช้เอพีไอแนเชอรัลแลงเกวจ (Natural Language) จะแสดงคำตอบในทันที โดยแอพดังกล่าวสามารถเรียนรู้จากการปฏิสัมพันธ์ทุกครั้งที่เกิดขึ้น เพื่อปรับคำตอบที่ได้ให้ถูกต้องมากขึ้นเรื่อยๆ

    - การใช้เอพีไอวัตสันสปีช-ทู-เท็กซ์ (Watson Speech-to-Text) ในการ ฟัง คลิปวิดีโอการสัมภาษณ์ผู้เล่น พร้อมสร้างซับไตเติลและบทพูดอัตโนมัติก่อนเผยแพร่ลงบนเว็บไซต์ของยูเอสโอเพ่นและแพลตฟอร์มดิจิทัลอื่นๆ

    - การใช้เอพีไอวัตสันวิช่วลเร็คค็อกนิชั่น (Watson Visual Recognition) ในการวิเคราะห์ภาพที่ช่างภาพของสมาคมฯ ถ่าย เพื่อช่วยระบุว่าคนที่อยู่ในภาพเป็นผู้เล่นหรือเซเลบคนไหน แทนที่จะต้องอาศัยเจ้าหน้าที่มานั่งดูทีละภาพ ช่วยให้สามารถเผยแพร่ภาพผ่านช่องทางดิจิทัลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว

เทคโนโลยี 'สแลมแทร็กเกอร์'ผ่านสมาร์ทโฟน

      นอกจากนี้ ไอบีเอ็มยังได้นำเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก สแลมแทร็กเกอร์’(SlamTracker) เข้ามาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลผู้เล่น แมตช์การแช่งขัน และข้อมูลทัวนาเมนท์ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน โดยเฉพาะในช่วงที่การแข่งขันกำลังเข้มข้น เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกับสถานการณ์แบบเดียวกันที่เกิดขึ้นในอดีต แสดงเป็นแพทเทิร์นที่ซ่อนอยู่ รวมถึงรูปแบบการเล่นของผู้เล่นคนนั้นๆ ในสถานการณ์ลักษณะเดียวกัน โดยแฟนเทนนิสที่ใช้แอพยูเอสโอเพ่นยังสามารถแชร์มุมมองการวิเคราะห์เชิงลึกเหล่านั้นผ่านโซเชียลมีเดียได้ในคลิกเดียว

     เทคโนโลยี 'สแลมแทร็กเกอร์'สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเทนนิสแกรนด์สแลมย้อนหลัง 8 ปี รวมข้อมูลกว่า 41 ล้านดาต้าพอยท์ เพื่อหารูปแบบการเล่น 3 แนวทางที่ผู้เล่นแต่ละคนต้องทำให้ได้หากอยากเอาชนะในแมตช์นั้น (Keys to the Match) โดยแฟนๆ ยังสามารถดูข้อมูลจุดแข็งของผู้เล่นแต่ละคนก่อนเกมเริ่ม และตรวจสอบระหว่างการแข่งขันว่านักเทนนิสสามารถดึงรูปแบบการเล่นที่จะช่วยให้พิชิตแมตช์นั้นๆ ออกมาได้มากน้อยเพียงใด

     ทั้งนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก วิดีโอสตรีม และข้อมูลเรียลไทม์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการแข่งขันยูเอสโอเพ่นนี้ มีไฮบริดคลาวด์ของไอบีเอ็มทำหน้าที่เป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับ ช่วยให้ระบบสามารถรับมือปริมาณการใช้งานที่พุ่งสูงเกินคาดในบางช่วงของการแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบดังกล่าวเป็นไฮบริดคลาวด์ที่ใช้ร่วมกับการแข่งขันออสเตรเลียโอเพ่น โรแลนด์การ์รอส เดอะมาสเตอร์ทัวนาเมนท์ โทนี่อวอร์ดส์ และ ibm.com เป็นไพรเวทคลาวด์ 3 จุด และพับลิคคลาวด์ 4 จุดในประเทศต่างๆ

    แอพยูเอสโอเพ่นสำหรับไอโอเอสและแอนดรอยด์ ที่มีเทคโนโลยีอัจฉริยะไอบีเอ็ม วัตสัน อยู่เบื้องหลัง เปิดให้ดาวน์โหลดแล้ววันนี้ ที่แอพสโตร์และเพลย์สโตร์ โดยแฟนๆ ยังสามารถใช้บริการแอพนี้ได้ผ่านหน้าจออินเตอร์แรคทีฟที่อยู่บริเวณสนาม

   ลิงค์วิดีโอ: https://www.youtube.com/watch?v=QabkYYLE27M

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!