WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

DD

 

จับเข่า ดีดี 'จรัมพร' รีดไขมัน-ฟื้น'บินไทย'

     เกิดข้อสงสัยขึ้นมาหลายประการกับการที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ตัดสินใจยกเลิก รวมทั้งปรับลดเส้นทางบินในช่วงที่ผ่านมา ตามมาด้วยล่าสุดยกเลิกเส้นทางบินกรุงเทพฯ-โซล-ลอสแองเจลิส ในวันที่ 25 ตุลาคมนี้ ประกอบกับแผนปรับลดพนักงานกว่า 1.4 พันคน 

 มติชนออนไลน์ :

หลายคนเริ่มเป็นห่วงสายการบินแห่งชาติของไทยว่าจะสามารถทำธุรกิจต่อไปได้หรือ 
      เพื่อไขข้อสงสัยและความเป็นห่วงนี้ จรัมพร โชติกเสถียร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นว่า เป็นการเดินตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ทำมาตั้งแต่ต้นปี 2558 เริ่มด้วยการลดการขาดทุนโดยปิดเส้นทางบิน ในช่วงต้นปีได้ปิดเส้นทางไปโจฮันเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้, เส้นทางบินมอสโก ประเทศรัสเซีย และเส้นทางมาดริด ประเทศสเปน เป็นต้น ในช่วงหน้าหนาวปีนี้ก็จะปิดเส้นทางลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา และเส้นทางโรม ประเทศอิตาลี
     "ในช่วงไตรมาสแรกที่ขาดทุนชัวร์ๆ มี 10 เส้นทาง ก็ลดไป ต่อมาก็มาดูอีก 10 เส้นทางที่ขาดทุน ก็สรุปว่าเป็นแอลเอและโรม ที่เหลือก็เป็นการลดแค่เที่ยวบิน ไม่ได้ยกเลิก เช่น กัลกัตตา ประเทศอินเดีย และอีก 3 เส้นทาง ก็จะเอาเครื่องบินขนาดเล็กไปให้บริการ เช่น เอาเครื่องบินของสายการบินไทยสมายล์ไปลงไฮเดอราบัด ฉางชา และหลวงพระบาง เป็นต้น ก็ถือว่าจบในการปรับลดในช่วงนี้"
      ดีดีการบินไทยบอกว่า หากพูดเรื่องเส้นทางบินที่ขาดทุนจริงๆ ตอนนี้มีประมาณ 50 เส้นทาง แต่เอาที่ขาดทุนมากสุดก่อน บางเส้นทางขาดทุนต่อเนื่อง 5-10 ปี ก็ต้องปิดเพราะไม่คุ้ม ขณะเดียวกันการบินไทยก็มีการลดจำนวนเครื่องบินเก่าอยู่แล้ว เมื่อลดเครื่องก็ต้องลดเส้นทางบินด้วย แต่เลิกที่แย่สุดไปก่อน
      ที่มีการตั้งข้อสังเกตเรื่องการลดเส้นทางบินไปสหรัฐ อาจเป็นผลมาจากไทยถูกจัดอันดับการค้ามนุษย์อยู่ระดับเทียร์ 3 เขายืนยันว่าไม่เกี่ยวข้องกันเลย ขาดทุนขนาดนี้ เมื่อเห็นตัวเลขก็ลด สำหรับการลดเครื่องบิน ตอนนี้ขายได้ 19 ลำ จากทั้งหมด 38 ลำ ที่เหลือยังอยู่ในกระบวนการเดินหน้าแผนลดขาดทุนไปแล้ว ก็เป็นเรื่องของการเพิ่มรายได้ ดีดีจรัมพรชี้แจงว่า ต้องดูเรื่องการบริหารราคา ใช้ระบบเข้ามาช่วยบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น คือต้องบริหารกลุ่มลูกค้า หาฐานลูกค้าใหม่มากขึ้น เช่น กลุ่มองค์กร เป็นต้น หรือการปรับปรุงบริการคอลเซ็นเตอร์ ตอนนี้ดีขึ้นมาก จากเดิมโทรศัพท์เข้ามาแล้วทิ้งสายสูงมาก ประมาณ 1 ใน 4 คือโทรมาแล้วไม่รอ วางหูไป 27% ตอนนี้ลดเหลือ 5% รวมทั้งปรับวิธีการบริหารตัวแทนจำหน่ายตั๋วโดยสาร (เอเยนต์) จะหารืออย่างใกล้ชิดมากขึ้นว่าเส้นทางไหนอยากให้โปรโมตอะไร มีพิเศษอะไร
     "สมัยก่อนอาจจะไม่เคยโทรไปคุยกับเขา ก็ต้องโทรไป ติดตามว่าที่จองไว้ยังคอนเฟิร์มอยู่หรือไม่ เป็นต้น ยอมรับว่าเอเยนต์ตอนนี้ยังขายให้การบินไทยน้อย ถ้าเทียบกับสายการบินอื่น ส่วนแบ่งการตลาดเราน้อยลง ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาตลาดเอาต์บาวด์ (ต่างประเทศ) ลดพอสมควร ดังนั้นตอนนี้หน้าที่ของเซลล์การบินไทยต้องให้เอเยนต์ขายตั๋วการบินไทยให้มากขึ้นกว่าเดิม เพราะขายเจ้าอื่นเยอะไป"
     ขณะเดียวกัน การบินไทยกำลังเดินหน้าปรับลดต้นทุน ดีดีจรัมพรสั่งให้แต่ละหน่วยงานต้องรีดไขมัน โดยกำหนดว่าต้องลดค่าใช้จ่ายให้ได้ 20% ภายใน 18 เดือน ตอนนี้ผ่านไป 6 เดือน ลดลงได้แล้วประมาณ 6% ยังถือว่าน้อยอยู่ รวมถึงการลดขนาดองค์กรและคนคือ องค์กรผู้บริหารเยอะ จะปรับให้ใกล้เคียงมาตรฐานสากลมากขึ้น แต่ละหน่วยงานต้องไปปรับ โดยเทียบเคียงกับสายการบินคู่แข่ง 
    "ตอนนี้กล่องมีแต่ว่าง มีการเปิดโครงการสมัครใจออกไป มีเกษียณอายุไป บางกล่องที่ว่างก็ยุบกล่องเลย บางครั้ง 2 คน ดูแล 6 หน่วยงาน ก็เป็น 1 คน ดูแล 6 หน่วยงาน เป็นต้น โดยช่วงนี้เป็นช่วงดีที่มีการปรับ เพราะถึงแม้จะมีกล่องเยอะ แต่ไม่มีคนในกล่องแล้ว" 
    เราวางเป้าหมายการลดพนักงานคือ 20% ของค่าใช้จ่าย โดยไม่ได้กำหนดว่า จะต้องเป็นจำนวนคนเท่าไร อย่างเช่นโครงการร่วมใจจากองค์กร รอบแรกลดไปแล้ว 1,401 คน ก็ใช้งบ 5,300 ล้านบาท เป็นไปตามแผน 
   เมื่อเดินตามแผนตัดขาดทุน ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ แต่ดีดีจรัมพร ยอมรับว่า ผลดำเนินงานไตรมาส 2 ยังไม่ดี เพราะเป็นช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว (โลว์ซีซั่น) แต่ในเดือนมกราคม 2559 จะต้องมีกำไร และหลังจากนั้นทุกเดือนในปี 2559 ก็จะมีกำไรด้วยเช่นเดียวกัน เพราะลดต้นทุนไปแล้ว ความสามารถในการหารายได้ก็มากขึ้น ระบบมาแล้ว คนเริ่มขายมากขึ้น โดยในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วประมาณ 8% เพราะผู้โดยสารเข้าไทยมากขึ้น ส่วนใหญ่ยังเป็นเอเชียเหนือ ส่วนยุโรปยังไม่ดี 
   การบินไทย ยังมีทีเด็ดเพื่อบรรลุเป้าหมายพลิกฟื้นธุรกิจ อีกหนึ่งหัวใจสำคัญคือวางระบบบริหารจัดการใหม่ ซึ่งดีดีจรัมพรอธิบายว่า จะเริ่มใช้ในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน เป็นการอัพเกรดเทคโนโลยีที่จะนำมาช่วยในการจัดเส้นทางบิน ช่วยการจัดตารางบินในแต่ ฤดู คาดว่าจะเพิ่มรายได้ไม่ต่ำกว่า 5-6% จากรายได้ประมาณ 1.5 แสนล้านบาทต่อปี หรือประมาณ 8 พันล้านบาท 
    ระบบใหม่นี้จะรู้ว่าแต่ละเส้นทางก่อนถึงวันบินจริงขายตั๋วไปได้เท่าไร ราคาควรจะเป็นเท่าไร จะคำนวณให้เลย จะลดราคาหรือปรับขึ้นราคาเพื่อให้ได้ราคาดีที่สุด ขณะเดียวกันก็จะเห็นคู่แข่งทุกวัน ข้อมูลราคาคู่แข่ง ขายตั๋วได้กี่ใบรู้หมด จริงๆ ถ้าแข่งกันในระดับพรีเมียมด้วยกันคงไม่เท่าไร เพราะราคาไม่ต่างกันมาก แต่ตอนนี้มีโลว์คอสต์แอร์ไลน์ที่มีระบบนี้อยู่แล้ว คือปรับเป็นชั่วโมง ในขณะที่ระบบการบินไทยเป็นระบบเก่า ไม่ได้ปรับเร็วแบบนั้น แต่ระบบใหม่จะดีกว่าแน่นอน 
    จากนี้ไปการบินไทยจะแข่งทั้งพรีเมียม ทั้งโลว์คอสต์ฯ แข่งทั้งบนทั้งล่าง 
     แต่ถ้ามองกันจริงๆ แล้ว ก็คือ แข่งกับตัวเองมากกว่า

 

จรัมพร โละทรัพย์สินล้างหนี้'ทีจี'เล็งขายทิ้งบ้านพัก-ออฟฟิศแผนลดรายจ่าย'หลุดเป้า'

        ไทยโพสต์ * ;จรัมพร' เล็งโละทิ้งบ้าน-ออฟฟิศ 30 แห่ง ในไทยและทั่วโลก หลังแผนลดค่าใช้จ่าย 6 เดือนพลาดเป้า ทำได้แค่ 6% จากเป้า 20% คาดชงบอร์ดพิจารณาเดือน ก.ย.58 ฝันปั๊มรายได้เพิ่มได้ปีละ 8 พันล้าน

       นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.การบินไทย เปิดเผยว่า แผนบริหารจัดการสินทรัพย์ได้เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยใน เบื้องต้นอาจจำเป็นต้องขายทิ้ง สำนักงาน บ้านพักพนักงาน และสำนักงานขายที่ไม่ได้ใช้งานประมาณ 30 แห่ง ทั้งตั้ง อยู่ในต่างประเทศ 19 แห่ง และ ในไทยอีก 11 แห่ง อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าว ไม่ได้ขายทรัพย์สินเพื่อให้บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ต้อง การลดต้นทุนค่าบริหารจัดการทรัพย์สินมากกว่า เบื้องต้นจะ ขายก่อน 3-4 แห่ง เช่น สำนัก งานที่ซิดนีย์ ออสเตรเลียและบ้านพนักงานในกรุงลอนดอน แต่จะขายหรือไม่ รอผลการพิจารณาของบอร์ดในเดือน ก.ย.58 นี้

      สำหรับ ผลการดำเนินงาน ตามแผนฟื้นฟูระยะเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาขาดทุนของบริษัทว่า การบินไทยได้ดำเนินการมาแล้ว 6 เดือนนับตั้งแต่เดือน ม.ค.2558 ที่ผ่านลดค่าใช้จ่ายได้เพียง 6% ซึ่งต่ำกว่าเป้าที่วางไว้ที่ 20% ภายใน 18 เดือน

    ส่วนการหารายได้มีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยในไตรมาสแรก ของปี 2558 มีรายได้ 51,649 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียว กันของปีที่ผ่านมาที่มีรายได้ 49,981 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1,668 ล้านบาท ดังนั้นมั่นใจว่าภายใน 18 เดือน แผนการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้จะเป็นไปตามเป้า และตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2559 การบินไทยจะต้องเริ่มต้นมีกำไรอย่างต่อเนื่องทุกๆ เดือน

     "ผ่านมา 6 เดือน ลดค่าใช้จ่ายได้แค่ 6% เท่านั้น ผมยังไม่พอใจ อยากให้ลงได้เร็วกว่านี้ ส่วนแผนเพิ่มรายได้ก็พอใจเพียง 50% เท่านั้น เรายังต้องทำงานให้เข้มข้นมากขึ้น แม้ว่ารายได้ไตรมาสแรกของปีนี้จะดีกว่าปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม อัตราการบรรทุกผู้ โดยสารเดือน ก.ค.ที่ผ่านมาเพิ่มสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนมากถึง 8% เพราะจำนวนนักท่องเที่ยวจากเอเชียเพิ่มขึ้นมาก" นายจรัมพรกล่าว

     นายจรัมพร กล่าวว่า ส่วนแผนการเพิ่มรายได้ช่วงเดือน ต.ค.-พ.ย.นี้ การบินไทยจะนำระบบการบริหารจัดการกำหนดราคาตั๋วโดยสาร และระบบบริหารจัดการตารางบิน แบบใหม่มาใช้ เพื่อเพิ่มประ สิทธิภาพในการบริหารต้นทุน ซึ่งจะทำให้การกำหนดราคาตั๋วโดยสารจะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น สามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาตามความต้องการของตลาด เพื่อให้สามารถแข่ง ขันกับสายการบินต้นทุนต่ำได้

      "หากนำทั้ง 2 ระบบมาใช้จะทำให้การบินไทยมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5-6% หรือประ มาณปีละ 8,000 ล้านบาท ในขณะเดียวกันจะต้องเร่งขยายตลาดลูกค้าให้มากขึ้น โดยเฉพาะ กลุ่มลูกค้าองค์กรธุรกิจ พร้อมทั้งปรับระบบการจองตั๋วผ่านคอลเซ็นเตอร์ให้สะดวกรวดเร็วขึ้น และส่งเสริมการขายตั๋วผ่านเอเยนต์มากขึ้น โดยเสนอให้สิทธิพิเศษด้านราคาเพื่อเป็นแรงจูงใจ รวมทั้งการเพิ่มสัดส่วนการขายระบบออนไลน์ เนื่องจากปัจจุบันมีที่นั่งว่างมากถึง 30% จึงต้องเพิ่มการขายทุกช่องทาง" นายจรัมพรกล่าว. 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!