WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1Amdocs

คุณกล้าพอที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมในระยะยาวไหม?...

     สตีฟ จอบส์ ,ผู้ก่อตั้งบริษัท แอปเปิ้ล, ทำให้ผลกำไรของผู้บริหารบริษัทเทคโนโลยีรายอื่นๆลดลง อย่างไรก็ตาม สตีฟ จอบส์ ยังเป็นผู้บริหารที่เปรียบเสมือนแรงกระตุ้นให้กับพวกเขาเหล่านั้นอีกด้วย

     ผลสำรวจจากทั่วโลกล่าสุดของเราเผยว่า สตีฟ จอบส์ กลายเป็นตำนานทางด้านนวัตกรรมการสื่อสารไปแล้ว แอปเปิ้ลและบริษัทอื่นๆประสบความสำเร็จในการคว้าส่วนแบ่งของตลาดการสื่อสาร ทำให้ผู้ให้บริการทางด้านโทรคมนาคมเข้าใจถึงความสำคัญของการวางแผนนวัตกรรมในระยะยาว

     ผลสำรวจดังกล่าวยังเผยอีกว่า การหาผู้บริหารอย่างสตีฟ จอบส์ไม่ใช่ทางเลือกที่ถูกต้องสำหรับการสร้างนวัตกรรมอีกต่อไป ในอนาคต นวัตกรรมใหม่ๆจะไม่ได้ถูกสร้างขึ้นจากคนเพียงคนเดียว แต่จะเป็นร่วมมือกันของทีมผู้เชี่ยวชาญจากแต่ละสายงาน ผู้ให้บริการทางด้านโทรคมนาคมจำเป็นต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและกลุ่มลูกค้าอย่างต่อเนื่อง การวางแผนในระยะยาวจึงถือเป็นเรื่องที่ยาก

      หากถามว่า ผู้ให้บริการทางด้านโทรคมนาคมควรจัดการกับปัญหาเหล่านี้อย่างไร? อันดับแรกคือ พวกเขาต้องไม่มองข้ามความสำคัญของเป้าหมายในระยะยาว และวางเป้าหมายสำหรับ 5 หรือ 10 ปีข้างหน้าเพื่อเป็นทิศทางให้กับองค์กร อันดับที่สองคือ คิดค้นกลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อน้อมรับการแปลงเปลี่ยนอย่างต่อเนื่องและไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปอาจจะต้องกลับไปปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ดังกล่าวปรับตัวและเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ และอันดับสุดท้าย ผู้ให้บริการควรคิดคำนึงว่าสำหรับพวกเขาแล้ว นวัตกรรม คืออะไร

สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่จะช่วยส่งเสริมนวัตกรรม

    การคิดค้นนวัตกรรมไม่ควรจำกัดอยู่ในแผนกๆหนึ่งหรือห้องปฏิบัติการเพียงแห่งเดียว เนื่องจากไอเดียที่ดีมักจะติดอยู่ในกระบวนการและไปไม่ถึงการปฏิบัติการ ถึงแม้การมีทีมงานที่มีหน้าที่คิดค้นนวัตกรรมจะเป็นสิ่งสำคัญ แต่นวัตกรรมนั้นควรเป็นสิ่งที่ทุกคนในองค์กรคำนึงถึง และทำให้เป็นวัฒนธรรมขององค์กร ทุกๆคนควรมีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม พนักงานทุกคนจึงควรถามตัวเองว่า ฉันสามารถพัฒนาอะไรได้อีก? ฉันจะทำงานให้ดีขึ้นได้อย่างไร?

     ยกตัวอย่างจากแอมดอกซ์เป็นต้น แผนกวิจัยและพัฒนา (research and development) ของเราทุ่มเทและให้เวลากับการตอบคำถามดังกล่าวในทุกๆวัน  เรามองหาปัญหาการใช้งานในชีวิตปัจจุบันและพยายามหาวิธีทำให้สิ่งเหล่านั้นดีขึ้น เพื่อนำเสนอบริการที่ลูกค้าต้องการก่อนที่พวกเขาจะรู้ตัวว่าพวกเขาต้องการมัน จากนั้นเราจะนำอเดียเหล่าไปทดลองใช้ในสถานการณ์จริง เรามักจะขยำไอเดียที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับเราแต่ไม่ช่วยลูกค้าทิ้งอยู่บ่อยครั้ง

     แต่สำหรับผู้ให้บริการทางด้านโทรคมนาคมขนาดใหญ่ การดำเนินธุรกิจในแต่ละวันมีแนวโน้มที่จะบดบังความสำคัญของนวัตกรรม เนื่องจากมีปัญหามากมายที่ต้องแก้ไขในวันต่อวัน สามารถเป็นข้อจำกัดให้กับการสร้างนวัตกรรม โดยเฉพาะเมื่อการแข่งขันในตลาดดุเดือดยิ่งขึ้น, กฎข้อบังคับที่มากขึ้น และ การสั่นคลอนของ ARPU (Average Revenue Per User) ผู้ให้บริการจำเป็นต้องรับมือกับความท้าทายเหล่านั้น ซึ่งในปัจจุบัน ผู้ให้บริการทางด้านโทรคมนาคมส่วนใหญ่มักจะลงทุนไปกับระบบ LTE แต่พวกเขากลับไม่ได้ลงทุนสำหรับอีก 5 ปีข้างหน้าเลย

   อันที่จริง ผลสำรวจของเราเผยว่า ผู้ให้บริการส่วนมากทราบถึงปัญหาของการไม่มองการณ์ไกล เนื่องจากพวกเขาจำเป็นต้องบริหารบริการของพวกเขาวันต่อวัน ซีอีโอและผู้บริหารระดับสูงภายในอุตสาหกรรมที่ร่วมตอบแบบสำรวจเชื่อว่าการสร้างโครงสร้างองค์กรเพื่อสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับซีอีโอที่จะประสบความสำเร็จในอีกห้าปีข้างหน้า โดยส่วนตัว ผมคิดว่าองค์กรควรใส่องค์ประกอบใหม่ให้กับประโยค การทำงานที่มีประสิทธิภาพซึ่งก็คือ ความฝันเพราะอันที่จริง นวัตกรรมนั้นเกิดขึ้นมาจากความฝันนั่นเอง

    แน่นอนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะการที่องค์กรจะส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ที่จะนำไปสู่นวัตกรรมนั้น แปลว่าองค์กรจะต้องยอมรับกับความผิดพลาดและล้มเหลวของบุคคลที่พยายามสร้างนวัตกรรม ผู้ให้บริการส่วนใหญ่ต้องการกลยุทธ์ที่ปราศจากความเสี่ยง แต่ถ้าพวกเขาจะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ความเสี่ยงเป็นสิ่งจำเป็น พวกเขาจะต้องเรียนรู้จากความล้มเหลว และนำความรู้ที่ได้มาปรับกลยุทธ์อย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเดิมซ้ำอีก อาจจะพูดได้เลยว่าการวางแผนระยะยาวที่จะประสบความสำเร็จนั้น จะต้องมีผู้บริหารที่สามารถมองเห็นผลลัพธ์ที่เลวร้ายที่สุดได้อย่างชัดเจน เพื่อผลักดันพวกเขาให้ออกมานอกกรอบ สถาณการณ์คับขันเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะก่อให้เกิดความคิดใหม่ๆ

บทบาทของผู้บริหารระดับสูงรูปแบบใหม่

     การนำความเสี่ยงกลับสู่ธุรกิจอีกครั้ง นั้นต้องการความสนับสนุนและคำแนะนำจากผู้นำระดับสูง การศึกษาของเราแสดงให้เห็นว่าความกดดันที่จะต้องคิดค้นความกดดันที่จะต้องคิดค้นรูปแบบใหม่ของการเป็นซีอี-โอและผู้บริหารระดับสูงภายในอุตสาหกรรมที่ร่วมตอบแบบสำรวจควรเปลี่ยนรูปแบบการบริหารเพื่อรักษาผลสำเร็จในปี 2020 เปลี่ยนจากการวางมาตรฐานที่สูงเกินไปให้กับตนเองและพนักงานคนอื่น (อันดับที่ 1) และการสร้างภาพผลลัพธ์อันสวยหรู (อันดับที่ 2) ซึ่งการบริหารรูปแบบนี้ผู้บริหารจะต้องรู้ว่าองค์กรกำลังจะเดินทางไปในทิศทางใดและเป็นผู้นำทางองค์กร  เปลี่ยนมาเป็นรูปแบบการบริหารที่ผู้บริหารฝึกฝนพนักงาน (อันดับที่ 1) และรูปแบบการบริหารที่ทุกคนทำงานเป็นทีมเพื่อไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ (เสมอกับการวางมาตรฐานที่สูงเกินไปให้กับตนเองและพนักงานคนอื่น (อันดับที่ 2) ซึ่งผู้บริหารเหล่านี้ควรคิดถึงการสร้างตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงขึ้นมาอีกตำแหน่งหนึ่ง ในขณะที่ผู้บริหารระดับสูงฝ่ายหนึ่งรับผิดชอบทางด้านประสบการณ์การใช้งานของลูกค้า, กิจกรรมเชิงพาณิชย์และนวัตกรรม การสร้างตำแหน่ง ‘Chief Innovation Officer’ หรือผู้บริหารทางด้านนวัตกรรม จะเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าผู้ให้บริการเริ่มกระบวนการวางแผนในระยะยาวและสร้างนวัตกรรมแล้ว จึงทำให้การสร้างนวัตกรรมไม่ได้เกิดขึ้นจากแผนกวิจัยและพัฒนาเพียงแห่งเดียวอีกต่อไป

     มองย้อนกลับที่เส้นทางชีวิตของสตีฟ จอบส์ ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเขาเกิดขึ้นหลังจากที่เขากลับมาที่แอปเปิ้ล หลังจากถูกไล่ออกจากบริษัทที่เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งคือเพราะตามบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างไมโครซอฟท์ไม่ทัน นี้แสดงให้เห็นความสำคัญของมุมมองจากภายนอก เพราะเมื่อองค์กรจมอยู่กับความคิดเดิมๆมากเกินไป การสร้างนวัตกรรมถือเป็นสิ่งที่ยาก

    มีหลากหลายเหตุผลว่าทำไมผู้ให้บริการทางด้านโทรคมนาคมไม่ควรพึ่งพาความคิดของตัวเองในระยะยาวเพียงอย่างเดียว หากพวกเขาต้องการกลยุทธ์ที่ยั่งยืน ในภาคส่วนใหม่อย่างดิจิตอลและคลาวด์ ผลสำรวจเผยว่าผู้ให้บริการต้องการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์แบบผสมผสานรูปแบบเก่าให้เข้ากับรูปแบบใหม่ รวบรวมกลยุทธ์ทั้งภายในและภายนอก นอกจากนี้ยังมองหาพาร์ทเนอร์ที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อมาช่วยเหลือในส่วนต่างๆ นี่อาจเป็นวิธีเดียวที่จะเข้าถึงการบริการระดับที่ผู้ใช้บริการคาดหวังได้เร็วที่สุดในตลาดที่ไม่เคยหยุดนิ่งอย่างโทรคมนาคม

เกี่ยวกับแอมดอกซ์                         โดย: สเตฟาน คูเดนเนคผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานลูกค้าแอมดอกซ์ ประเทศไทยและเวียดนาม

      กว่า 30 ปี แอมดอกซ์ช่วยให้ผู้ให้บริการ )service provider) ก้าวสู่ความสำเร็จและฟันฝ่าความท้าทายต่างๆ ได้ และเพื่อให้ได้ชัยชนะในโลกแห่งการสื่อสาร )connected world) ผู้ให้บริการต่างเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของแอมดอกซ์เพื่อลดความซับซ้อนของการบริการลูกค้า จัดการปริมาณข้อมูลมหาศาล ก้าวล้ำนำหน้าด้วยบริการใหม่ๆ และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ในฐานะบริษัทชั้นนำระดับโลก แอมดอกซ์ผสานขอบข่ายผลิตภัณฑ์ด้าน BSS, OSS และ network control เข้ากับบริการแบบมืออาชีพที่ให้ความคุ้มค่าและการดำเนินงานด้าน managed services ได้อย่างดีเยี่ยม แอมดอกซ์มีรายได้ 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีการเงิน 2014 ปัจจุบันแอมดอกซ์และพนักงาน 22,000 คนให้บริการลูกค้าในกว่า 80 ประเทศทั่วโลก ภายใต้สโลแกน Amdocs: Embrace Challenge, Experience Success. ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.amdocs.com

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!