WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

INTUCH ไขรหัสโฮลดิ้งส์  9 ภารกิจปั้นรายได้...ปลดแอกการเมือง

22 พ.ค. 2557 เวลา 13:15:12 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ สัมภาษณ์

     หลังรัฐประหารเมื่อเดือน ก.ย. 2549 หลายธุรกิจที่อยู่ภายใต้ร่มเงาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในช่วงนั้น จำเป็นต้องแบกรับความเสี่ยงจากวิกฤตการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมถึง บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น ที่ปีนี้เพิ่งเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บมจ.อินทัช โฮลดิ้งส์ หรือ INTUCH และถือเป็นหน้าที่ของ "สมประสงค์ บุญยะชัย" ประธานกรรมการบริหาร บมจ.อินทัช โฮลดิ้งส์ที่จะต้องหาหนทางรับมือกับปัญหา ควบคู่ไปกับการคิดกลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้ม่านหมอกความขัดแย้งของภาคการเมือง

สมประสงค์ บุญยะชัย

 

การเติบโตของอินทัชในปีนี้จะเป็นอย่างไร

     การทำธุรกิจในปีนี้ อินทัชก็น่าจะขยายตัวประมาณ 5-7% ตามที่ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯไว้ หลังจากที่ไตรมาสแรกกำไรลดลงเล็กน้อยจากภาวะเศรษฐกิจ แต่หลังจากนี้ไปเชื่อว่าผลดำเนินงานจะดีขึ้น เพราะด้วยสถานการณ์การเมืองที่เริ่มเห็นสัญญาณว่ามีการพยายามคุยกันมากขึ้น ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าจะดี อีกอย่างที่ผ่านมาเราถูกการเมืองพัดพาไป แต่เราก็ทำ "ข้อสอบไปหลายครั้ง" แล้ว เวลาม็อบมาเราก็ไม่ได้ต่อล้อต่อเถียง แต่พยายามชี้แจงว่าเราไม่ได้เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องยอมรับว่า เรื่องการเมืองเป็นปัจจัยภายนอกที่เราควบคุมไม่ได้

 

 

ความเสี่ยงต่ออินทัชมีอะไรบ้าง         

     ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำธุรกิจมี 3 เรื่องที่สัมพันธ์กัน คือวัฏจักรการเมือง วัฎจักรเศรษฐกิจ และวัฏจักรทางธุรกิจ ถ้าการเมืองนิ่ง เศรษฐกิจก็จะเติบโตได้ ธุรกิจเราก็ได้รับผลดี แต่ถ้าการเมืองมีความอ่อนไหว ก็จะเกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อตัวธุรกิจ

      ขณะที่รายได้หลักของเรายังมาจาก บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) หรือ AIS และ บมจ.ไทยคม (THCOM) ดังนั้น เราต้องสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง เพราะในภาวะเศรษฐกิจการเมืองมีปัญหา ผู้บริโภคก็จะเลือกตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปก่อน

      สิ่งที่เราทำได้ คือพยายาม "รักษาสถานะ" ของธุรกิจ เน้นสร้างบริการใหม่ ๆให้ลูกค้า เน้นประสิทธิภาพ การบริหารงาน และการคิดค้นพัฒนา เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นถึงความตั้งใจจริง โดยใช้กลยุทธ์ "สร้างความแตกต่าง" เพื่อทำให้สินค้าและบริการของเราเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อผู้บริโภค

เป้าหมายเส้นทางเติบโตของธุรกิจอินทัช

      ด้วยปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทางด้านกฎกติกาการกำกับ ด้านเทคโนโลยี และพฤติกรรมผู้บริโภค ทำให้เมื่อ 2 ปีก่อนเราได้คิดสิ่งที่เรียกว่า "Breakthrough" ซึ่งหมายถึงการก้าวข้ามข้อจำกัดทุกอย่าง ด้วยการวางแผนงานให้กับบริษัทที่เราถือหุ้น มีทั้งหมด 9 ข้อโดย ADVANC มีภารกิจที่ต้องทำ 4 ข้อ คือ 1) การมี 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้ว 2) การประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz และ 900 MHz เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งาน 4G

     3) Fix Broadband และ 4) คอนเวอร์เจนซ์ด้วยการรวมคลื่นความถี่ 3G-4G และ Fix Broadband ให้ทำงานสัมพันธ์กันส่วน THCOM ได้รับมอบหมายภารกิจ 1 ข้อ คือการปล่อยดาวเทียมดวงใหม่ ๆ นอกจากนี้ มี บมจ.ซีเอส ล็อกซอินโฟ (CSL) ที่ได้รับมอบหมายทำภารกิจ Cloud Computing เพื่อรองรับการใช้งานทั้งในส่วนของบริษัทและประชาชนทั่วไป และ INTUCH จะเดินหน้าในภารกิจ 3 ข้อ คือ 1) การเข้าไปร่วมลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ ที่มีศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนให้แก่บริษัท 2) การดำเนินการด้านทีวีดิจิทัล และ 3) การทำดิจิทัลคอนเทนต์ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ และโครงสร้างของธุรกิจ น่าจะเห็นความชัดเจนภายในปีนี้

     โดยแผนทั้ง 9 ข้อได้มีการดำเนินการไปแล้ว แต่อยู่ในขั้นตอนที่ต่างกัน ซึ่งเราก็จะดำเนินการไปจนถึง 5 ปีข้างหน้า

 

แผนใช้เงินลงทุนของธุรกิจในกลุ่มเป็นอย่างไร

    การลงทุนโดยรวมของบริษัทในกลุ่มเราจะใช้เงินหลายหมื่นล้านบาท โดยเงินลงทุนในปีนี้แบ่งเป็นเงินลงทุนในส่วนของอินทัชประมาณ 200 ล้านบาท ขณะที่เอไอเอสปีนี้ใช้เงินลงทุนหนักราว 4 หมื่นล้านบาทสำหรับการลงทุนใน 3G ส่วนไทยคม การใช้เงินลงทุนจะขึ้นอยู่กับแผนการยิงดาวเทียมดวงใหม่ ซึ่งดาวเทียมไทยคม 8 ที่เราจะส่งขึ้นไปในปี 2558 คาดว่าจะใช้เงินลงทุนราว 178.5 ล้านเหรียญสหรัฐ

     การลงทุนเพื่อขยายงานต่างๆ ค่อนข้างมากนั้น เราก็จะต้องหาแหล่งเงินที่มีต้นทุนไม่สูง ซึ่งจะมีทั้งการใช้เงินทุนหมุนเวียนของบริษัท และถ้าจะกู้ ก็จะดูเท่าที่จำเป็นต่อการลงทุนในแต่ละโครงการ บางอย่างก็ออกหุ้นกู้ บางอย่างก็เป็นโปรเจ็กต์ ไฟแนนซ์ เป็นต้น

     ถึงแม้ปีนี้เราจะมีการลงทุนค่อนข้างมาก แต่ยืนยันว่านโยบายจ่ายปันผลยังต่อเนื่อง เราตั้งใจจ่ายเงินปันผลให้เต็มที่ สิ่งที่เราทำ คือพยายามทำให้บริษัทเป็นหุ้นที่มีเสถียรภาพ

      เป้าหมายของผม คืออยากให้ธุรกิจของกลุ่มอินทัชเติบโตอย่างยั่งยืน โดยฐานรายได้จะกระจายจากหลายธุรกิจที่ได้บอกไปและใน 5 ปีข้างหน้า ฐานรายได้จากเอไอเอสก็จะมีสัดส่วนลดลงมาเหลือที่ 75% ของรายได้รวม เพราะมีรายได้อื่นเข้ามาเพิ่ม

     และนี่คือเส้นทางโตของธุรกิจกลุ่มอินทิช ที่มองข้ามการเมืองในวันนี้

 

INTUCH แจงธุรกิจไม่เกี่ยวข้องการเมือง ไร้ตระกูลชินวัตรถือหุ้น

     กลุ่ม บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น(INTUCH) โดย INTUCH, บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส(ADVANC), บมจ.ไทยคม(THCOM)ชี้แจงกรณีเลขาธิการ คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(กปปส.)ประกาศจะยกระดับการชุมนุมพุ่งเป้าโจมตีธุรกิจของกลุ่มชินฯ โดยเตือนให้นักลงทุนรีบขายหุ้นบริษัทเหล่านี้ออกให้หมดนั้น

    นางวิไล เคียงประดู่ โฆษกกลุ่ม INTUCH ชี้แจงว่า กลุ่ม INTUCH ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมือง อีกทั้งปัจจุบันผู้ก่อตั้งไม่ได้ถือหุ้นในกลุ่มบริษัท จึงไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มบริษัทแต่อย่างใด

    "เราเชื่อว่า นักลงทุนและผู้ถือหุ้นจะลงทุนในบริษัทใดย่อมทำการตรวจสอบการดำเนินงาน ความโปร่งใส ความแข็งแกร่งของบริษัทก่อนที่จะทำการลงทุน"นางวิไล กล่าว

    ทั้งนี้ หุ้นของกลุ่มบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานความเป็นมืออาชีพ โปร่งใส ตั้งอยู่บนหลักธรรมาภิบาล สิ่งเหล่านี้จะเป็นเครื่องยืนยันและสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนกับกลุ่มบริษัทต่อไป

                INTUCH ชี้แจงว่าผู้ก่อตั้งได้ขายหุ้นทั้งหมดให้กับกลุ่มเทมาเส็กแห่งสิงคโปร์ ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2549 โดยผู้ถือหุ้น

ใหญ่ 10 รายแรก ณ วันที่ 27 สิงหาคม 56 ประกอบด้วย

ลำดับที่                    รายชื่อผู้ถือหุ้น                                        จำนวนหุ้นสามัญ                    สัดส่วน

การถือหุ้น

(%)

1                    บริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด                          1,334,354,825                             41.62

2                    บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด                                 735,175,315                          22.93

3                    CHASE NOMINEES LIMITED 28                        26,492,700                            0.83

4                    LITTLEDOWN NOMINEES LIMITED                   24,352,900                            0.76

5                    กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (EQ-TH)            21,760,000                           0.68

6                    STATE STREET BANK EUROPE LIMITED            21,134,366                           0.66

7                    นายประชา ดำรงค์สุทธิพงศ์                                 21,090,200                           0.66

8                    นายบำรุง ศรีงาน                                              20,900,001                            0.65

9                    กองทุนเปิด กรุงศรีหุ้นระยะยาวปันผล                     20,873,800                            0.65

10                 CHASE NOMINEES LIMITED                               19,060,176                           0.59

----------------------------------------

ถอดรหัสก้าวกระโดดของกลุ่มอินทัช

     หากได้ศึกษาความเจริญก้าวหน้าและความเสื่อมถอยขององค์กร จะเห็นได้ว่ามี 2 สิ่งที่น่าสนใจนำมาประกอบการพิจารณา นั่นคือ การเติบโตและ ความเปลี่ยนแปลง

      โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงที่จะทำให้บริษัทก้าวไปอยู่อีกสถานะหนึ่ง เพราะถ้าสามารถทำให้บริษัทก้าวไปสู่อีกสถานะหนึ่งเรื่อยๆ ย่อมหมายความว่า องค์กรนั้นก็จะตั้งมั่นและมีอายุยาวนาน นั่นคือแนวคิดอันเกิดจากการเฝ้ามององค์กรที่มีอายุยาวนานของ สมประสงค์บุญยะชัยประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้อำนวยการบมจ.ชินคอร์ปอเรชัน (INTUCH) และเฉกเช่นเดียวกับกลุ่มอินทัชนั่นแหละ ที่ในห้วงเวลานี้ สมประสงค์กำลังผลักดันให้ก้าวกระโดดไปอยู่ในอีกสถานะหนึ่ง ด้วยการ Breakthrough

     ทั้งนี้ สมประสงค์ ขยายความ Breakthrough ให้เข้าใจในที่นี้ด้วยว่า Breakthrough ไม่ได้เกิดขึ้นทุกๆ ปี ทว่าในรอบ 30-40 ปีจึงอาจจะเกิดครั้งหรือสองครั้งเท่านั้น และ Break-through ก็ไม่ใช่ growth แต่ยิ่งใหญ่กว่าหลายเท่า เนื่องเพราะ growth เป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่มีแต่เดิม แต่การ Breakthrough นั้น จะทำให้ธุรกิจมีขนาดที่ใหญ่มากขึ้นกว่าเดิมมหาศาล และในระยะเวลาที่ยาวนานมากกว่าเดิม

    สิ่งที่ทำให้สมประสงค์มีความมั่นใจ ก็เป็นเพราะว่ากำแพงอุปสรรคของการทำธุรกิจที่มีอยู่เดิมนั้นได้ถูกทลายลง และสิ่งที่ทำให้กลุ่มอินทัชสามารถที่จะ Breakthrough มี 3 ปัจจัยสำคัญ คือ

                1. กฎหมาย ระเบียบ

                2. เทคโนโลยีแพลตฟอร์ม

                3. พฤติกรรมผู้บริโภค

                ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัยล้วนจะช่วยผลักดันให้ธุรกิจของกลุ่มอินทัชเบ่งบานไปอีกยาวนาน

    เพื่อไม่ให้ธุรกิจสะเปะสะปะ เราต้องจำกัดไว้คมชัดว่าธุรกิจของเราประกอบไปด้วย เทเลคอม มีเดีย ไอที และดิจิทัลคอนเทนต์ เมื่ออินทัชเป็นโฮลดิ้งคอมพานี บทบาทของอินทัชจะเป็นผู้ริเริ่มธุรกิจใหม่ๆ นอกเหนือไปจากที่มีอยู่เดิม ขณะเดียวกันบทบาทของบริษัทย่อย ก็ทำหน้าที่เป็นโอเปอเรชันบนเส้นทางของตนเองให้เป็นที่หนึ่ง ทั้งเอไอเอส ไทยคม และซีเอสล็อกอินโฟร์สมประสงค์ กล่าวถึงบทบาทของกลุ่มอินทัชและบริษัทในเครือเช่นนั้น

    เมื่อโฟกัสบทบาทของแต่ละองค์กรแจ่มชัด ในขั้นต่อไปสมประสงค์ลงมือกำหนดแผนการขึ้นมาถึง 5 แผนด้วยกัน ที่เขาเรียกว่า 5 Breakthrough ซึ่งหากสามารถ Break-through ออกไปได้ จะเป็นอนาคตอีก 15-20 ปีของกลุ่มอินทัช ที่สำคัญ จะทำให้บริษัทมีขนาดการเติบโตที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมมากมายทีเดียว

Breakthrough ที่ 1 บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส

    ณ วันนี้ ถือว่ากำแพงที่เคยขวางกั้นการเติบโตของเอไอเอส ได้ถูกทลายลง และกลายเป็นโอกาสที่จะนำพาให้เอไอเอสไปสู่การก้าวกระโดดที่ไกลขี้นกว่าเดิม

     ประการแรก จากการเข้ามาของ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกกะเฮิร์ต ซึ่งทำภายใต้ใบอนุญาต จาก กสทช. ในระยะเวลา 15 ปี ฉะนั้น แน่นอนว่าเอไอเอสจะมีระยะเวลาดำเนินธุรกิจนี้ออกไปอย่างน้อยอีก 15 ปี ประการที่สอง ตามมาด้วยเทคโนโลยีแพลตฟอร์มจาก 2G มาสู่ 3G และประการที่สาม พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งทั้ง 3 ล้วนส่งผลมีความเกี่ยวพันเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน

     อย่างที่รู้กัน ในอดีตเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เอไอเอส ให้บริการ 2 เรื่อง คือ โทรศัพท์ และโทรศัพท์ในขณะที่เคลื่อนที่ได้ ขณะที่คนที่ผลิตคอนเทนต์คือผู้เรียกสาย ผู้บริโภคคอนเทนต์คือผู้รับสาย แต่ด้วยเทคโนโลยีแพลตฟอร์มใหม่ จาก 2G มาสู่ 3G ทำให้ความเร็วสูงขึ้น ฉะนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นจึงไม่มีมาก่อนในอดีต นั่นคือ จะก่อให้เกิด แอพพลิเคชั่นที่ไม่มีขีดจำกัดซึ่งสิ่งนี้ส่งผลต่อไปยังพฤติกรรมผู้บริโภค ทำให้ผู้ใช้เกิดความปรารถนาที่จะได้รับสิ่งใหม่ๆ ด้วยเหตุนี้ พฤติกรรมผู้บริโภคจะถูกพัฒนาขึ้นในลักษณะวิธีการบริโภคที่ลึกซึ้งและกว้างขวางขึ้นกว่าเดิม

    ยกตัวอย่าง ที่เห็นๆ กันอยู่ คือการที่แมกกาซีนถูกทรานฟอร์มมาอยู่ในรูปดิจิทัล ทำให้ผู้บริโภคๆ คอนเทนต์ที่เปลี่ยนรูปไป แถมยังได้รับประสิทธิภาพ ความสะดวกสบาย และความสนุกสนานเพิ่มเติมเข้ามา ซึ่งทั้ง ประสิทธิภาพ ความสะดวกสบาย และความสนุกสนาน นี้จะเป็น 3 องค์ประกอบที่เอไอเอส นำมาเป็นแกนหลักในการพัฒนาแอพพลิเคชันต่อไปด้วย

    และนี่จึงเป็นโอกาสใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเป็นการ Breakthrough ที่หนึ่ง ที่ทำให้เอไอเอสพลิกสินค้าที่ไม่ได้ขายนาที ไม่ใช่เคไบท์ และไม่ใช่เมกะไบท์ แต่เป็นสินค้ามีความลึกซึ้งกว่านั้นมากดังกล่าวข้างต้น

Breakthrough ที่ 2 บริษัทไทยคม จำกัด (มหาชน)

    ไทยคมจะส่งดาวเทียมดวงใหม่ปีนี้และกำลังจะส่งดาวเทียมอีกดวงในปีหน้าภายใต้ใบอนุญาต ซึ่งจะมีอายุ 20 ปี ฉะนั้น ดาวเทียมก็จะมีอายุการทำงานไปอีก 20 ปี และเป็นช่วงเวลาอนาคตที่ชัดเจนของไทยคมที่จะนำมาซึ่งความมั่นใจในการดำเนินธุรกิจ

     ไม่เพียงอนาคตในเชิงระยะเวลาเท่านั้น แต่ในวิถีการดำรงอยู่ของดาวเทียมๆ จะโคจรเคลื่อนไปพร้อมๆ กับวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์

     โดยในเรื่องนี้มีการวิจัยสนับสนุนความสำคัญของดาวเทียมกับมนุษย์ว่า ไม่ว่าอย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่จะยังคงอยู่ในบ้านของมนุษย์ตลอดไปในอนาคต คือ TV Screen in Living Room กล่าวคือ ไม่ว่าในบ้านหลังหนึ่งจะมีโทรทัศน์กี่เครื่องก็ตาม แต่อย่างน้อยในห้องนั่งเล่นจะต้องมีโทรทัศน์ที่ที่ทุกคนจะมานั่งรวมกัน

     เมื่อมีความต้องการเช่นนี้ สมประสงค์ บอกว่า จึงย่อมจะมีสิ่งที่เกิดขึ้นตามมา 2 ประการคือ สถานีโทรทัศน์ จะพยายามเพิ่มช่องสัญญาณเพื่อรองรับความต้องการ และผู้ที่ไม่เคยทำก็อยากที่จะเข้ามาเป็นหนึ่งในผู้ทำช่องสัญญาณ

    ไม่เพียงแค่นั้น ในวันนี้สิ่งที่เห็นขึ้นชัดเจนขึ้นคือการเข้ามาของเทคโนโลยีไฮเดฟฟินิชั่น ที่ราคาถูกลงเรื่อยๆ ฉะนั้น ตัวสถานีเองก็ต้องพยายามเพิ่มรายการที่เป็นไฮเดฟ คอนเทนต์ทั้งหลายที่เป็นคอนเทนต์ธรรมดาก็ต้องทำใหม่เป็นไฮเดฟ ทั้งหลายทั้งปวงแล้วการมีไฮเดฟทำให้ต้องมีช่องสัญญาณเพิ่มขึ้นนั่นเอง

    เมื่อ 10 ปีที่แล้วมีคนบอกว่าดาวเทียมไม่มีอนาคต เพราะมีไฟเบอร์ ผมไม่เห็นด้วยเพราะดาวเทียมกับไฟเบอร์ให้จุดแข็งคนละด้านกัน ไฟเบอร์ให้จุดแข็งในเรื่องปริมาณเดต้าที่สูงมาก ดาวเทียมให้ในเรื่องพื้นที่บริการที่กว้างขวางมาก ไม่มีทางที่ไฟเบอร์จะเอาชนะดาวเทียมในเส้นนี้ได้เลย เพราะว่าคนจำนวนมากอยู่ไกลจะเดินสายไฟเบอร์ไปทุกบ้านก็เป็นไปไม่ได้ แต่ดาวเทียมกับไฟเบอร์จะทำงานร่วมกัน ดังนั้น ดาวเทียมจะมีศักยภาพของตัวมันอยู่ต่อไปในอนาคต

     การที่ไทยคมได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. 20 ปี พฤติกรรมผู้บริโภคจะเปลี่ยนไปกลายเป็นดูรายการไฮเดฟมากขึ้น นี่จึงเป็นการ Breakthrough ที่สองของสมประสงค์

    ในแง่สเกลไทยคมจะใหญ่เป็น 2 เท่าในอีก 3 ปีข้างหน้า เพราะปัจจุบันมี 2 ดาวเทียม ในอีก 3 ปีข้างหน้ามี 4 ดาวเทียม และ ใน 4 ปีข้างหน้าไทยคมก็จะริเริ่มยิงดาวเทียมอีก 2 ดวง ฉะนั้นในอีก 5-6 ปีข้างหน้าไทยคมจะมีขนาดใหญ่เป็น 3 เท่าของปัจจุบัน

Breakthrough ที่ 3 ที่เวนเจอร์ แคปปิตอล

     คนไทยมีความสามารถ ฉลาด เพียงแต่ยังไม่มีโอกาสใช้ความฉลาดอย่างสมบูรณ์ นี่เป็นเรื่องจริงที่ยากจะปฏิเสธ

     ถ้าเรามีกำลังคือมีเงินแล้วมีจำนวนธุรกิจอย่างนี้เราช่วยเขาลงทุน ช่วยให้คำแนะนำ เขาก็จะเจริญขึ้นมาได้ เราเลยตั้งโครงการเวนเจอร์ แคปปิตอลขึ้นมา เวนเจอร์ แคปปิตอลเราก็จะไปลงทุนบริษัทของที่มีความทันสมัยใน 4 เรื่อง แล้วลงทุน 25-30% ปล่อยให้เขาใช้ความสามารถเขาเต็มที่ แล้วเราเป็นผู้มีโอกาสได้ประโยชน์จากความสำเร็จของบริษัทนี้

     สมประสงค์ พูดถึงการตั้งโครงการอินเว้นท์ (InVent) ซึ่งอันที่จริงไม่ได้มีประโยชน์เพียงในเชิงการลงทุนเท่านั้น แต่มีประโยชน์ที่เกิดขึ้นถึง 4 ทาง คือ 1. เป็นการช่วยให้คนที่ประกอบกิจการตั้งเนื้อตั้งตัว และสร้างความสำเร็จขึ้นมาได้ 2. ก่อให้เกิดบริการใหม่ๆ ให้กับลูกค้าเอไอเอส 3. ในฐานะผู้ถือหุ้นย่อมได้รับผลประโยชน์ และ 4. บริษัทนี้ก็จะช่วยสร้างงานให้ประเทศ และในวันหนึ่งก็จะไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

    ขณะเดียวกันการลงทุนในบริษัทที่ทันสมัยที่สมประสงค์บอกนั้น ประกอบด้วย เทเลคอม มีเดีย ไอที และดิจิทัลคอนเทนต์ โดยวิธีคิดของเวนเจอร์ แคปิตอล จะคิดในแบบฉบับของผู้ประกอบการ เช่น ดูถึงตัวสินค้านี้มีอนาคตหรือไม่ ความรู้ประสบการณ์ของบริษัท ความสามารถทางการแข่งขัน และดูถึงทัศนคติแนวทางความคิด เป็นต้น

    ตั้งงบ 200 ล้านบาทต่อปี สมมติลงไป 200 ล้านบาทเลยแล้วเกิดไม่สำเร็จก็ไม่เป็นไร ปีหน้าค่อยลงใหม่ บอกแล้วเวนเจอร์ คิดแบบผู้ประกอบการ เหตุที่เราพูดอย่างนี้ได้เพราะเรามีเงินอยู่ในบริษัท 2 พันกว่าล้าน เราไม่มีหนี้ การที่ขอบอร์ดคือ 10% การจะทำอันนี้เป็นการสร้างโอกาสให้บริษัท โดยที่เมื่อมีความเสียหายบริษัทไม่กระเทือน ดูอย่างนกเหยี่ยวจับหนู จับกระต่ายพอไหวขึ้นไปได้ จับวัวทั้งตัวไหวมั้ย ก็บินไม่ขึ้น ฉะนั้นเราต้องรู้จักประมาณพอดิบพอดี

     แม้ดูเหมือนว่า โจทย์นี้จะไม่ง่าย แต่อินเว้นท์สามารถทำได้ และทำได้ดีเสียด้วย เพราะในตอนนี้มีเกือบ 30 บริษัททีเดียวที่เข้ามาเสนอขอร่วมลงทุน อีกทั้งโครงการแรกที่ได้รวมทุนกับ อุ๊คบี40 ล้านบาท เพื่อทำโครงการอิเล็กทรอนิกส์บุ๊ค ในเวลานี้กลายเป็นแพลตฟอร์มของอิเล็กทรอนิกส์บุ๊คไปแล้ว ซึ่งไม่เพียงแต่ในเมืองไทยเท่านั้นที่ใช้ ต่างประเทศก็มีความสนใจอยากที่จะมาร่วมด้วย

Breakthrough ที่ 4 คลาวด์คอมพิวติ้ง

    คลาวด์คอมพิวติ้ง จะเป็นมาตรฐานสำหรับคนในยุคสังคมต่อไปอย่างแน่นอน !!

    หากถามผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการรายเล็ก กลาง ใหญ่ ร้อยทั้งร้อยไม่มีใครอยากสร้าง IT Department เนื่องเพราะเป็นภาระทั้งในแง่ เงินลงทุน อุปกรณ์ และการดูแลรักษาบุคลากร ฉะนั้น ถ้ามีใครสักคนมาบริการ ก็ย่อมยินดี ดังนั้น ซีเอส ล็อกซอินโฟร์จะเข้ามาตอบโจทย์ความต้องการตรงนี้ โดยจะกำหนดเป็นนโยบายชัดเจนว่าสิ่งนี้จะต้อง 1. มีความเสถียรที่สามารถยืนยันได้ทางวิศวกรรมได้ 2. มีความยืดหยุ่นพร้อมรองรับความต้องการของลูกค้า หากลูกค้ามีความต้องการใช้จะต้องสามารถตอบสนองทันที 3. รับประกันเวลาการกู้คืนระบบหากระบบล่ม และ 4. ความปลอดภัย

      ในส่วนของเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งนี้ สมประสงค์ คาดว่า จะก่อให้เกิดธุรกิจในระดับ 2,000 ล้านบาทขึ้นไป ภายในระยะเวลา 3-4 ปี ซึ่งถือว่าเป็นขนาดที่ใหญ่เมื่อเทียบเคียงกับซีเอส ล็อกซ์อินโฟร์ ณ ปัจจุบัน

Breakthrough ที่ 5 ดิจิทัลทีวี

      ต้องมีการวิจัยเพื่อมีความรู้เพียงพอว่าคนดูแต่ละกลุ่มเป็นอย่างไร มีความต้องการอะไร ลักษณะการใช้ชีวิตเป็นอย่างไร มีกำลังซื้อหรือไม่และซื้ออะไร สิ่งต่างๆ เหล่านี้ จะทำให้เราสามารถเลือกได้ว่าจะเซิร์ฟคนดูกลุ่มไหน มาร์เก็ตติ้งโพซิชั่นนิ่งของช่องจะคมชัด แล้วจึงกำหนดผังรายการควรจะเป็นอย่างไร ที่จะเข้าไปตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ เหล่านี้สมประสงค์กล่าวถึงอีกหนึ่งธุรกิจที่กลุ่มอินทัชกำลังจับตาและต้องการจะเข้าไปสู่ธุรกิจนี้ นั่นคือ ทีวีดิจิทัลที่ กสทช. กำลังจะเปิดใบอนุญาตในปีนี้

     แน่นอนว่า ถ้าโทรทัศน์มีจำนวนช่องมากขึ้น ย่อมจะทำให้ทั้งอุตสาหกรรมของฟรีทีวีซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าโฆษณาสูงสุด เติบโตแบบก้าวกระโดด ขนาดของอุตสาหกรรมใหญ่ขึ้น ผู้เล่นมากขึ้น รายการมีความหลากหลายมากขึ้น และจะช่วยทำให้สินค้าที่ไม่ได้โฆษณา แต่อยากโฆษณาเพราะโดนจำกัดด้วยพื้นที่ มีพื้นที่ให้โฆษณาให้เลือกมากขึ้น

     จากการวิจัยพบด้วยว่าขณะนี้โฆษณาฟรีทีวีมีมูลค่าประมาณ 6.5 หมื่นล้านบาทต่อปี ถ้ามีดิจิทัลทีวีเข้าไปเสริมทัพจะสามารถโตไปได้ถึงแสนล้านบาทต่อปี

     สมมติว่าถ้าเราสามารถทำได้ 10% ของมาร์เก็ตแชร์ เราจะมีธุรกิจประมาณหมื่นล้านบาทต่อปี ซึ่งอาจจะขึ้นสัก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งตัวนี้จะเท่ากับไทยคมอีกบริษัทหนึ่ง

     นอกเหนือจากเหตุผลในแง่การเติบโตการเป็นอุตสาหกรรมที่หอมหวนแล้ว หากสำรวจดูความพร้อมจุดแข็งของกลุ่มอินทัชก็ต้องยอมรับว่ามีความได้เปรียบหลายด้าน โดยสมประสงค์ แจกแจงให้เห็นภาพของความเชื่อมั่นว่ามาจาก ประการแรก การมีวิสัยทัศน์ ซึ่งมาจากประสบการณ์จากการทำไอทีวีมาก่อน ประการถัดมา เป็นเรื่องความสามารถทางการแข่งขัน อันเนื่องมาจากการมีความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย ประการที่สาม เป็นเรื่องเงินลงทุน เนื่องจากอินทัชไม่มีหนี้และมีเครดิตดีในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา

     “Business model เรากำหนดนโยบายเป็นในลักษณะการเปิดกว้าง เราไม่มีนิสัยผูกขาด คนที่เข้ามาทำคอนเทนต์แบ่งแชร์กัน เราไม่มีนิสัยบอกว่าจะเอา 100% จึงสามารถทำงานร่วมกับทุกคนได้ แล้วสามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ของเขาได้สมบูรณ์ แล้วเราไม่ได้ทำธุรกิจด้วยความรู้สึกรักชอบเกลียดชัง เราทำด้วยวิจัย ส่วนเรื่องเงินทุน ผมถือว่าเครดิตเป็นของสำคัญ เราไม่เคยผิดนัดชำระเงิน ผิดนัดชำระดอกเบี้ย โดยได้กำหนดไว้หลายปีก่อนว่าเครดิตถือเป็นสินทรัพย์ของบริษัทที่สร้างได้ยากแต่สูญหายได้ง่าย ฉะนั้นเราต้องสร้างเครดิต

    ทั้งนี้ สำหรับรายการที่กลุ่มอินทัชสนใจ สมประสงค์ บอกว่า เป็นรายการวาไรตี้และรายการเด็ก

    ทั้งหลายทั้งปวง อาจสรุปได้ว่า กลุ่มอินทัชขยายทั้ง 2 มิติ คือ ในแง่ของระยะเวลาซึ่งการกระทำเช่นนี้จะสามารถวางรากฐานไปอีก 15-20 ปีข้างหน้า และในแง่การเติบโต โดยปีนี้มีแผนงาน 5 เรื่องสำคัญใน 4 บริษัท โดย อินทัชจะลงมือทำ 2 เรื่อง คือ เวนเจอร์แคปปิตอล และทีวีดิจิทัล

   ที่สำคัญ ทั้งหมดนั้นจะเป็นการ synergy กันและกัน กล่าวคือ ในอนาคตคนเราจะดูทีวี 3 ลักษณะ คือ หนึ่ง ดูจากเสาอากาศที่อยู่บนหลังคา ดูจากเสาอากาศตัวเครื่อง สอง ดูจากจานรับสัญญาณดาวเทียม และ สาม ดูจากสมาร์ทดีไวซ์ โดยมีไวร์เลส คอมมูนิเคชั่น เน็ตเวิร์ก เป็นเครื่องมือที่จะแพร่ภาพและเสียงออกไป ขณะเดียวกัน ในแง่ผู้บริโภคในอนาคตจะเป็นการบริโภคในลักษณะพหุมิติ กล่าวโดยละเอียดคือ คนไม่ได้บริโภคสินค้าในมิติเดียวแบบเมื่อ 20 ปี แต่จะมีการไหลรวมกันของสินค้ามากขึ้น เช่น การรวมกันของกล้องที่เข้าไปอยู่ในโทรศัพท์ เป็นต้น

    ดังนั้น จะมีการทรานฟอร์มคอนเทนต์มาอยู่ในรูปของดิจิทัลมากขึ้น เรามีทั้งเอ็นจิเนียร์และมาร์เก็ตติ้ง เรามีการทำวิจัยและพัฒนาซอฟต์แวร์ แล้วเราบูรณาการ 4 อย่าง คือ เทเลคอม มีเดีย ไอที และดิจิทัลคอนเทนต์ ทำให้เกิดแอพพลิเคชั่นหลากหลาย เรามีเวนเจอร์แคปปิตอลที่จะสร้างแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ เข้ามา แล้วเราก็มีคลาวด์คอมพิวติ้ง นี่คือการ synergy ทั้งธุรกิจของกลุ่มอินทัช

    ดูเหมือนว่า ปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเวลานี้ จะเป็นจังหวะประจวบเหมาะที่ช่วยเกื้อหนุนให้ กลุ่มอินทัชสามารถ Breakthrough ธุรกิจทั้ง 5 ซึ่งด้วยกรอบระยะเวลาของธุรกิจที่ยาวนาน 15-20 ปี และขนาดที่ใหญ่ขึ้น จะทำให้กลุ่มอินทัชสามารถก้าวกระโดดไปอยู่อีกสถานะหนึ่งได้ และถ้าเป็นเช่นนี้ไปได้เรื่อยๆ นั่นหมายความว่า จะกลายเป็นองค์กรที่มีความยั่งยืน อย่างที่สมประสงค์กล่าวไว้ในตอนต้น

โฟกัสธุรกิจให้ชัดเจน

    ที่นี่เรามีความใกล้ชิดกัน ความสำเร็จของคนหนึ่งหมายถึงความสำเร็จของอีกคนหนึ่งด้วย ฉะนั้นอะไรที่สามารถสนับสนุนให้เอสไอเอส ไทยคมประสบความสำเร็จได้มากๆ ยิ่งต้องทำ อะไรที่เป็นจุดแข็งที่เราจะใช้ร่วมกันก็ทำไป

    แนวคิดของผม คือผลสำเร็จของคนข้างบนเกิดจากผลรวมของความสำเร็จของคนข้างล่าง ฉะนั้น จริงๆ เราต้องรับใช้เขา ทำอย่างไรถึงจะทำให้เขาประสบความสำเร็จเพื่อความสำเร็จจะกลับมาที่เรา

   ขณะเดียวกันการทำธุรกิจเราต้องโฟกัสให้ชัดเจนว่าเราจะทำอะไร แต่ก่อนมีความเชื่อเรื่องการ Diversification มีบริษัทต่างก็จะแตกแขนงธุรกิจออกไปเรื่อยๆ จนถึงจุดๆ หนึ่งพบว่าการกระจายธุรกิจออกไปมากๆ ทำให้ความสามารถทางการแข่งขันไม่เพียงพอ แทนที่จะดีกลับไม่ดี มีเงินอย่างเดียวไม่พอ ทำให้คนหันกลับมาดูว่าการ Diversification นั้นถูกต้องหรือไม่ จากนั้นก็พบว่าไม่ใช่ ฉะนั้น บริษัทจำนวนมากก็เริ่มลดทอนธุรกิจลง เปลี่ยนคำใหม่คือ โฟกัส

   ในตอนนี้เราก็ยังอยู่ในเรื่องโฟกัสธุรกิจ ซึ่งคิดว่าถูก คือเราจะทำธุรกิจอะไรถ้าไม่มีความรู้ความเข้าใจประสบการณ์ อย่าทำเลย อย่าคิดว่ามีเงินแล้วทำไปเรื่อยๆ แล้วยืมจมูกคนอื่นหายใจ ความคิดแบบนี้เป็นความคิดดั้งเดิม หลักการที่คิดไว้เราต้องมีองค์ประกอบ 3 ข้อ หนึ่งมีวิสัยทัศน์ที่ถูกต้อง สองมีความสามารถทางการแข่งขัน และสามมีเงิน และตอนนี้เราโฟกัสธุรกิจชัดเจนว่าเราจะทำเรื่อง เทเลคอม มีเดีย ไอที และดิจิทัลคอนเทนต์

ถอดรหัสก้าวกระโดดของกลุ่มอินทัช - MBA Magazine

 

 

วันที่ 17 กรกฎาคม 2555 01:00 โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ผ่าอาณาจักร 'อินทัช' สองแสนล้าน..เพิ่งเริ่มต้น!!!

     การกลับมาผงาดโดยไม่มีเงา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เกรียงไกรยิ่งกว่าเก่า!!! วันนี้อาณาจักร 'ชิน คอร์ปอเรชั่น' มูลค่ากิจการทะลุ 200,000 ล้านบาท เรียบร้อยแล้ว..ก้าวต่อไปน่าติดตาม!!!

     การเติบโตของ บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น (INTUCH) ในยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่มี บุญคลี ปลั่งศิริ เป็นแม่ทัพใหญ่นับว่าเกรียงไกรแล้ว แต่การเติบโตในยุคที่ไม่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และการเมืองหนุนหลัง ในยุค สมประสงค์ บุญยะชัย เป็นแม่ทัพใหญ่นับว่าเกรียงไกรยิ่งกว่า! ทั้งในแง่ "ราคาหุ้น" และ "มูลค่ากิจการ" ที่ทะยานทะลุ 200,000 ล้านบาทไปเรียบร้อยแล้ว

   เมื่อต้นปี 2549 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขายหุ้น SHIN ให้ "เทมาเส็ก โฮลดิ้ง" ของสิงคโปร์ ไปในราคาหุ้นละ 49.25 บาท ทำให้มีเงินสด 7.3 หมื่นล้านบาท แทนที่จะดี กลับทำให้ ครอบครัวชินวัตร ต้องพบกับวิบากกรรมนับตั้งแต่วันนั้น ก่อนที่ราคาหุ้นจะดำดิ่งลงมาต่ำสุด 13.80 บาทอย่างไร้อนาคต บริษัทต้องตัดใจสละธุรกิจบางส่วนออกไป อาทิ สายการบินไทยแอร์เอเชีย, ไอทีวี, แคปปิตอล โอเค จนเหลือเพียงแค่สองธุรกิจหลัก วันนี้ราคาหุ้น INTUCH ทะยานขึ้นไป 65 บาท โดยมีแผนขยายอาณาจักรออกไปอย่างกว้างขวาง

     อาจกล่าวได้ว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเทมาเส็ก โฮลดิ้ง ของสิงคโปร์ แอบ "ถอนทุนคืน" ไปจนหมดสิ้น ทั้งการจ่ายเงินปันผลออกมาอย่างมากมาย และมีการขายหุ้นบางส่วนเพื่อเพิ่ม Free float ในตลาด ทำให้ INTUCH มีคุณสมบัติเข้าไปโลดแล่นอยู่ในกลุ่ม SET50 ขณะที่กิจการในเครือก็กำลังโตวันโตคืน

    ทัพหลวง บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (AIS) ได้แรงฮึดกระแส 3G วันนี้มีมูลค่ากิจการทะลุ 600,000 ล้านบาทเข้าไปแล้ว บมจ.ไทยคม (THCOM) กำลังปรับโครงสร้างธุรกิจภายในมูลค่ากิจการวันนี้ 17,000 ล้านบาท ขณะที่ บมจ.ซีเอส ล็อกซอินโฟ (CSL) มูลค่ากิจการ 4,700 ล้านบาท แต่กลุ่มอินทัชไม่ได้หยุดเพียงเท่านี้ เส้นทางการเติบโตครั้งใหม่กำลังก่อตัวขึ้นอีกครั้ง

     สิ่งที่ สมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น (INTUCH) กำลังต่อจิ๊กซอว์อยู่ก็คือการเชื่อมโยงธุรกิจเทเลคอม ธุรกิจดาวเทียม และดิจิทัลมีเดีย เข้าด้วยกัน โดยไม่มีการแตกแถวลงทุนธุรกิจอื่นที่ต้องอาศัย การเมืองช่วยหนุนหลังเหมือนเช่นอดีต

     สมประสงค์ เปิดเผยกับกรุงเทพธุรกิจ BizWeek ว่า สี่ธุรกิจหลักที่กลุ่มอินทัชจะเข้าไปลงทุนคือ เทเลคอม, มีเดีย, ไอที และ ดิจิทัลคอนเทนท์ อะไรที่นอกจากเส้นทางนี้มากๆ "เรายังไม่ทำจังหวะก้าวต่อจากนี้ อินทัชยังคงบทบาท "โฮลดิ้ง คัมปานี" เช่นเดิม รายได้ 90% ยังคงมาจาก "เงินปันผล" จากบริษัทในเครือ ส่วนการลงทุนธุรกิจใหม่หลังจากนี้จะอยู่ภายใต้เงื่อนไขตามนี้...

    ข้อหนึ่ง..เป็นธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ถูกต้องหรือไม่! หมายถึงอุตสาหกรรมดังกล่าวจะมีโอกาสเจริญเติบโตไปพร้อมกับความต้องการของมนุษย์ในปัจจุบันหรือไม่! ถ้ามองไม่เห็นอนาคต "จะไม่ทำ" ข้อสอง..อยู่ในธุรกิจที่อินทัชมีความสามารถในการระดมบุคลากรมาได้หรือไม่! ข้อสาม..ดูธรรมชาติของธุรกิจที่จะลงทุนให้ผลตอบแทนอย่างไร? ขณะนี้คงมีข้อจำกัดแค่นี้ แต่อนาคตไม่แน่ถ้าหากมองเห็นช่องทางเพิ่ม

   ในแง่ผลตอบแทนเรามีแนวคิดว่าจะต้องสร้างกระแสเงินสดในรูปเงินปันผลประมาณ 10% ต่อปี ถึงจะลงทุน รูปแบบการลงทุนเราจะมีทั้งระยะยาว และระยะสั้นแล้วแต่ธรรมชาติของธุรกิจ ถ้าเป็นไปได้เรามองธุรกิจที่สามารถเชื่อมโยงกับธุรกิจที่เรามีอยู่แล้วได้ด้วย

    สำหรับการตัดสินใจก่อตั้งกองทุนร่วมลงทุน (เวนเจอร์ แคปปิตอล) เพื่อสนับสนุนเงินลงทุนให้กับผู้ประกอบการที่มีไอเดียทางธุรกิจโทรคมนาคม, ไอที, ซอฟต์แวร์ รวมถึงดิจิทัลคอนเทนท์ และซอฟต์แวร์ต่างๆ ซีอีโอกลุ่มอินทัช เล่าเหตุผลว่า ได้แนวคิดมาจากต่างประเทศบริษัทใหญ่ๆ อย่าง เฟซบุ๊ค, อินสตาแกรม, ซิงก้า ล้วนประสบความสำเร็จมาจากกองทุนร่วมลงทุน คนไทยเองมีความสามารถสูง และมีผู้ประกอบการฝีมือดีมีความคิดสร้างสรรค์ เราจะเข้าไปสนับสนุนเงินทุนให้พวกเขา เมื่อธุรกิจสำเร็จในฐานะผู้ถือหุ้นก็ได้ประโยชน์ไปด้วย

    ทั้งนี้ บริษัทตั้งงบลงทุนเบื้องต้นปีนี้ 200 ล้านบาท สำหรับร่วมลงทุนแต่ละบริษัทขั้นต่ำ 5 ล้านบาทขึ้นไป ในระยะ 3-5 ปี พร้อมทั้งได้เตรียมความพร้อมด้านทีมงานที่เชี่ยวชาญในการเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจ, เครื่องมืออำนวยความสะดวกเช่น สถานที่, เว็บไซต์ รวมถึงสร้างกระบวนการทำงานเพื่อให้ธุรกิจเติบโตได้ ภายใต้เครือข่ายและซัพพลายเชนที่กลุ่มอินทัชมีอยู่

    "เบื้องต้นเราตั้งเงินกองทุนไว้ปีละ 200 ล้านบาท และต้องอยู่ในสี่ประเภทที่ผมบอกไว้ ผลตอบแทนก็จะมาจาก 2 ส่วน คือ แคปปิตอลเกน กับเงินปันผล"

     ส่วนแผนลงทุนธุรกิจ "ดิจิทัล ทีวี" ซึ่งกลุ่มอินทัชสนใจจะทำช่อง "ฟรีทีวี" ราว 2-3 ช่อง คาดว่าจะใช้งบลงทุนช่องละ 2-3 พันล้านบาท สมประสงค์ บอกว่า ดิจิทัล ทีวีจะเปลี่ยนภาพของการทำธุรกิจทีวีไปโดยสิ้นเชิง ปัจจุบันเรามีช่องโทรทัศน์อะนาล็อก 6 ช่อง (3,5,7,9,11,ไทยพีบีเอส) แต่อนาคตจะมีดิจิทัล ทีวี 50 ช่อง ทำให้มีโอกาสเสนอรายการได้หลากหลายยิ่งขึ้น ที่สำคัญยังสามารถนำธุรกิจที่เราลงทุนผ่านเวนเจอร์ แคปปิตอล เชื่อมโยงกันได้ด้วย

    เขาบอกว่า รูปแบบการลงทุนคงจะตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาบริหาร เงินลงทุนใช้ไม่สูงมากนักเพราะเป็นเพียงการลงทุนสตูดิโอเท่านั้น หากเทียบกับการส่งดาวเทียมและวางโครงข่ายโทรคมนาคมถือได้ว่าเงินเล็กน้อยมาก ความเป็นไปได้ 90% เราจะขยายธุรกิจในประเทศเป็นหลัก การซื้อกิจการถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ทางธุรกิจ แต่สำหรับบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ยังไม่อยู่ในความสนใจ

     นอกจากนี้ ซีอีโออินทัช ยังฉายภาพอุตสาหกรรมโทรคมนาคมให้ฟังด้วยว่า ธุรกิจการสื่อสารไร้สายจะเป็น อนาคตของประเทศไทยอย่างแน่นอน สิ้นปี 2555 เราจะมี 3G จากนั้นจะมี 4G เรามี WiFi ต่อไปจะมี WiMAX ดาวเทียมก็จะมีความสำคัญทำให้ผู้คนเข้าถึงช่องทางสื่อสารได้มากขึ้น สิ่งที่พูดถึงจะเคลื่อนมาเร็วมากไม่ต้องรอนานอีกต่อไป

     ถามว่าหลังจากนี้หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีจะมีการเติบโตมากใช่หรือไม่!! เขาตอบทันทีว่า…"ใช่ครับ!!" อุตสาหกรรมนี้จะเติบโตสอดคล้องกับชีวิตของมนุษย์ที่เปลี่ยนไป จากเดิมเราเคยใช้ "ฟิล์ม" ตอนนี้ก็เปลี่ยนเป็น "ดิจิทัล" หมดแล้ว แม้ไม่เคยมีสิ่งใหม่ๆ อย่าง 3G ธุรกิจนี้ก็สามารถเติบโตได้เพราะผู้ประกอบการมีการเสนอบริการใหม่ๆ ตลอดเวลา

     การมี กสทช.อย่างเต็มตัวน่าจะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้อุตสาหกรรมนี้ วงจรธุรกิจน่าจะเป็นการเปลี่ยนยุค แม้โอกาสแห่งอนาคตจะไม่มาในทันทีแต่มาแน่นอน!!! เป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการได้เสนอสิ่งใหม่ให้ลูกค้าและสร้างรายได้ใหม่ๆ ขึ้น อย่างกลุ่มอินทัชต่อไปจะทำหน้าที่ทั้ง "ผู้สื่อสาร" โดยเป็นเจ้าของสถานีและมี "คอนเทนท์" เป็นของตัวเองทั้งผลิตเองและรับจากคนอื่น

    ถามถึงอนาคตของ AIS สมประสงค์ มั่นใจว่า จะยังคงรักษาตำแหน่ง "ผู้นำ" ในธุรกิจได้แน่นอน เพราะธุรกิจมีความพร้อมด้านประสบการณ์ คอนเทนท์ ที่สำคัญคือ "เรามีเงิน" (ตั้งงบลงทุน 3G ราว 5 หมื่นล้านบาท ภายใน 3 ปีจากนี้) แม้คู่แข่งจะอ้างว่าเขามีคอนเทนท์ในมือเป็นตัวนำ แต่ AIS ก็หาคอนเทนท์พวกนั้นมาเสนอให้ลูกค้าได้เช่นกัน

    เขากล่าวอีกว่า แม้การเข้าร่วมประมูลไลเซ่น 3G ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ทุกคนจะเริ่มสตาร์ทพร้อมกัน แต่ AIS ก็ยังคงเป็นผู้นำได้ต่ออยู่ดี ตอนนี้ AIS มีรายได้จาก "นอนวอยซ์" หรือการใช้งานอินเทอร์เน็ตสัดส่วน 20% จากเมื่อสิบปีก่อนมีไม่ถึง 1% เชื่อว่าหลังได้ 3G มาตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นไปอีก ถ้าดูตามสถิติบริษัทมือถือญี่ปุ่นมีสัดส่วนรายได้นอนวอยซ์ 40% เชื่อว่าไม่นานไทยก็จะสามารถไปถึงตรงนั้นได้โอกาสเติบโต (ของกำไร) จึง "สูงมาก" แต่ "วอยซ์" อัตราการเติบโตจะน้อยลง นี่คือ ทิศทางอนาคตของธุรกิจ

     ผู้บริหารรายนี้ ประเมินว่า หลังประมูล 3G เสร็จ เชื่อว่าลูกค้า AIS จำนวนมากพร้อมเปลี่ยนมาใช้ 3G ทันที เพราะขณะนี้คนไทยใช้โทรศัพท์มือถือที่รองรับ 3G แล้วเป็นล้านๆ เครื่อง และภายใน 4-6 เดือน ลูกค้า AIS จะสามารถใช้ 3G ในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ได้ทั่วประเทศ เมื่ออนาคตอยู่ที่ "นอนวอยซ์" มาร์จิ้นธุรกิจจะเพิ่มขึ้นได้มากแค่ไหนจะขึ้นกับลักษณะของคอนเทนท์ ซึ่งเราได้เปรียบที่รู้ว่าลูกค้าชอบอะไร ส่วนภาพรวมเชื่อว่าธุรกิจมือถือยังคงเติบโตแม้ประชากรจะไม่เพิ่มขึ้นแต่คนจะใช้งานมากขึ้น เช่น เดิมมีหนึ่งเครื่องก็ใช้เพิ่มเป็นสองเครื่อง เป็นต้น

    ถามถึงการลงทุนในต่างประเทศรองรับ AEC สมประสงค์ กล่าวว่า ชิน คอร์ปอเรชั่นไปลงทุนในลาว และกัมพูชามา 20 ปี เมื่อก่อนเคยไปลงทุนที่อินเดีย และฟิลิปปินส์ แต่ขายไปแล้ว คิดว่าการมี AEC ไม่ใช่ประเด็นที่บริษัทต้องไปลงทุน เราคิดมาก่อนนานแล้ว ตอนนี้พม่ากำลังอยู่ในความสนใจของเรา ซึ่งเคยติดต่อไปแล้วรอเพียงความชัดเจนทางรัฐบาลพม่าเท่านั้น ส่วนตัวเชื่อว่าไทยมีศักยภาพพอที่จะให้บริการโทรคมนาคมในภูมิภาคนี้ได้

   สำหรับเป้าหมายการเติบโตของ AIS ปีนี้ คงเหมือนเดิมตั้งไว้ที่ 4-5% เพราะเรามีฐานที่สูง ส่วนปี 2556 ยังไม่ได้ทำแผนแต่การมี 3G น่าจะทำให้มีโอกาสสร้างรายได้มากกว่านี้ได้ ส่วน บมจ.ไทยคม ถือเป็นเรือธงสำคัญใน "ธุรกิจบอร์ดแคสต์" ของกลุ่ม

   สมประสงค์ เล่าว่า แผนระยะยาวของไทยคม คือการส่งดาวเทียมใหม่อีก 4 ดวง ได้แก่ ไทยคม 6,7,8,9 ภายใน 3 ปีจากนี้ เร็วที่สุดไทยคม 6 น่าจะขึ้นสู่วงโคจรได้ในปี 2556 ส่วนไทยคม 7 ได้ใบอนุญาตมาแล้ว ธุรกิจนี้ยังคงมีความต้องการสูงมาก ดาวเทียมจะยังคงอยู่กับชีวิตมนุษย์อีกนาน เพราะผู้คนต้องการบริโภคข่าวสาร ชมความบันเทิง ส่วนของไทยคม 6 ตอนนี้สามารถเซ็นสัญญากับลูกค้าได้ 30% แล้ว คาดว่าภายใน 1-2 ปี จะเซ็นสัญญาได้ครบ 100% ขอบเขตการให้บริการของไทยคม 6 ถือว่า "ไกลมาก" ไปถึงทวีปแอฟริกา ยิ่งการที่เราจะประมูลดิจิทัล ทีวี ไทยคมจะมีบทบาทมากขึ้นด้วย

     ผมเชื่อว่าผลประกอบการของไทยคมจะดีแน่นอน ตามความต้องการของทีวีดาวเทียมที่เติบโตสูงมาก และปีหน้าจะดีกว่าปีนี้ เพราะมีรายได้จากไทยคม 6 เข้ามา ส่วนเรื่องการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นจากตอนนี้ประมาณ 41% ยังไม่ได้ตัดสินใจ

    สำหรับ บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น มีการลงทุนในธุรกิจใหม่ในเร็วๆ นี้ จะให้บริการ Cloud Computing ส่วนตัวเชื่อมั่นว่าหลังจากนี้ไม่ต้องมีการเมืองคอยหนุนบริษัทก็ยังคงเดินหน้าไปได้ ภาพที่คนภายนอกมองเข้ามาก็ดีขึ้นมากหลังผ่านมาแล้ว 5 ปีเต็ม ส่วนประเด็นการขายหุ้น INTUCH ของผู้ถือหุ้นใหญ่ "เทมาเส็ก โฮลดิ้ง" หลังจากที่ได้ขายหุ้นไปจำนวนหนึ่งแล้ว ส่วนเขาจะขายอีกหรือไม่!…"ไม่รู้..เขายังไม่บอกผม"

     เรื่องการขายหุ้นเป็นเรื่องของผู้ถือหุ้นไม่ใช่เรื่องการบริหาร ที่ผ่านมาเขาก็ไม่ได้มายุ่งอะไรกับเราแค่ส่งบอร์ดมานั่งหนึ่งคน เวลาจะทำอะไรเราก็ตัดสินใจเอง เทมาเส็กเป็นนักลงทุนระยะยาวเขาคงไม่คิดขายหุ้นเราหมดในเร็วๆ นี้ ไม่แน่ในอนาคตเราอาจได้ร่วมงานกับเขาก็เป็นได้สมประสงค์ กล่าวทิ้งท้าย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!