WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

CBเสาวณย ไทยรงโรจน e5b5bแผนกระตุ้นช่วยศก.กระเตื้อง ประชาชน-นักธุรกิจพอใจช่วยเพิ่มกำลังการบริโภค

     บ้านเมือง : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน และนักธุรกิจต่อนโยบายเศรษฐกิจรัฐบาล พบว่า ส่วนใหญ่พอใจกับนโยบายด้านเศรษฐกิจ จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง และเพิ่มกำลังการใช้จ่ายของประชาชนแต่ไม่มากนัก เนื่องจากไทยยังต้องเผชิญปัญหาหลายด้าน พบประชาชนบางกลุ่มไม่รู้เรื่องแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล แนะเดินสายประชาสัมพันธ์

     นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงผลสำรวจทัศนะต่อการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งสำรวจประชาชน 1,200 ตัวอย่าง และผู้ประกอบการ 600 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 9-13 กันยายน 2558 พบว่า ประชาชนและผู้ประกอบการส่วนใหญ่ตอบรับนโยบายเศรษฐกิจรัฐบาลในเชิงบวก โดยประชาชนร้อยละ 68.8 และ ผู้ประกอบการ ร้อยละ 75.4 คาดว่า นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้มาก สำหรับนโยบายเศรษฐกิจ เฟส 1 พอใจในนโยบายปล่อยกู้กองทุนหมู่บ้าน และการจัดสรรเงินให้เปล่าตำบลละ 5 ล้านบาท ด้านความพึงพอใจต่อนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล พบว่า ประชาชนร้อยละ 63.5 พอใจมาก ขณะที่ผู้ประกอบการร้อยละ 73.7 พอใจมาก

     ส่วนสถานภาพประชาชนในปัจจุบันเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน พบว่า ด้านการใช้จ่ายในครัวเรือนส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 58.3 เห็นว่า ไม่เปลี่ยนแปลง ขณะที่ร้อยละ 30 ตอบว่า แย่ลง มีเพียงร้อยละ 10.9 ตอบว่า ดีขึ้น ด้านการออมและความเป็นอยู่ ผลการสำรวจก็ได้คำตอบในทิศทางเดียวกัน คือ ส่วนใหญ่เห็นว่ายังไม่เปลี่ยนแปลง ด้านหนี้สิน พบว่าส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 40.4 เห็นว่า ไม่เปลี่ยนแปลง หนี้สินลดลงร้อยละ 24.6 ส่วนที่ตอบว่าหนี้สินจะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 35

    สำหรับ การคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้จ่าย เมื่อนโยบายเศรษฐกิจดำเนินการแล้ว พบว่า ประชาชนที่มีรายได้ในช่วง 5,000-10,000 บาท มากถึงร้อยละ 70 ระบุว่า การใช้จ่ายจะไม่เปลี่ยนแปลง ขณะที่ร้อยละ 26.5 ระบุว่า จะจ่ายเพิ่มขึ้น มีเพียงร้อยละ 2.9 ที่ระบุว่า จะจ่ายลดลง ส่วนรายได้ 30,001-40,000 บาท ส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 72.7 ระบุว่า จะใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ขณะที่ร้อยละ 27.3 ระบุว่า ไม่เปลี่ยนแปลง และไม่มีการจ่ายเงินลดลง

    นายธนวรรธน์ พลวิชัย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและ ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ว่า กระแสตอบรับน่าจะออกมาเชิงบวก โดยระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทั้งประชาชนและธุรกิจ โดยคาดว่าจะช่วยกระตุ้นยอดขายและรายได้ และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในระดับมาก แต่เนื่องจากเศรษฐกิจต้องเผชิญปัจจัยเชิงลบหลากหลาย ปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรหลายตัวค่อนข้างจะมีราคาต่ำ และปัญหาเศรษฐกิจโลกยังคงมีอยู่ จึงทำให้ยังคงมีความเห็นว่า โดยภาพรวมแล้วมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะยังไม่เห็นผลได้เต็มที่นัก ส่วนใหญ่เห็นว่าช่วยเศรษฐกิจได้ในระดับปานกลางเท่านั้น

     อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่ ยังระบุว่ายังไม่ค่อยรับรู้รายละเอียดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมากนัก แต่ทราบเกี่ยวกับการเพิ่มกองทุนหมู่บ้าน หากรัฐบาลจัดทำโรดโชว์น่าจะช่วยให้ประชาชนมีความหวัง แต่หลายคนยังไม่ชัดเจนว่ารัฐบาลจะเริ่มใช้จ่ายเงินออกมาได้เมื่อใด ทำให้บางหน่วยงานเริ่มมองว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้น่าจะโตได้ใกล้ ร้อยละ 3 แต่จะเกินหรือไม่ขึ้นกับเม็ดเงินที่จะลงสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยกระทรวงการคลังและศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ

    คาดว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลวงเงินรวมเกือบ 200,000 ล้านบาท จะทำให้เศรษฐกิจไทยโตได้ร้อยละ 3-3.1 ขึ้นไป ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และหน่วยงานอื่นๆ ยังมองว่าเม็ดเงินอาจจะลงไม่เร็วพอ เศรษฐกิจไทยปีนี้อาจจะโตไม่ถึงร้อยละ 3 แต่ถ้าหากรัฐบาลดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเร็ว น่าจะทำให้เศรษฐกิจโตเกินร้อยละ 3 ได้แต่ประชาชนยังต้องการให้ดูแลเรื่องค่าครองชีพ กระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ดูแลส่งออก และขจัดการคอรัปชั่น และสิ่งที่ประชาชนน่าจะพอใจมากที่สุดคือ มาตรการดูแลค่าครองชีพ ลดราคาสินค้า

    นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในการสัมมนาวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำปี 2558 เรื่อง "เศรษฐกิจไทยกับบริบทใหม่ทางเศรษฐกิจ" ว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจการเงินโลก ซึ่งจะเป็นบรรทัดฐานใหม่ที่จะมีผล กระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น ประเทศไทยจะต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับการส่งออกที่ขยายตัวลดลงด้วยการปรับโครงสร้างการส่งออก เน้นการผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น

    นอกจากนี้ ภาครัฐจำเป็นต้องเร่งพัฒนาการทำงานของรัฐวิสาหกิจที่มีขนาดใหญ่ เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบขนส่ง ที่เป็นพื้นฐานสำคัญของเศรษฐกิจ ซึ่งที่ผ่านมาการทำงานของรัฐวิสาหกิจค่อนข้างมีปัญหาถูกแทรกแซงจากการเมืองและประสบภาวะขาดทุน จึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน เพื่อให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ในอนาคต

รัฐถกเอกชนหนุนการค้า-ลงทุน หวังเวิลด์แบงก์ทบทวนเพิ่มเรตติ้ง

    แนวหน้า : นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ เปิดเผยภายหลังการประชุม "Business Easing" ว่า ได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการลงทุน รวมถึงภาคเอกชน หารือเพื่อแก้ไขในส่วนของการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศให้มีความสะดวกมากขึ้น หลังจากปัจจุบันพบว่า การจัดอันดับการอำนวยความสะดวกการค้าการลงทุน ของธนาคารโลก หรือเวิลด์แบงก์ ได้จัดอันดับไทยอยู่ที่ 26 ของโลก

    ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน การประชุมระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อหาข้อสรุปในเรื่องดังกล่าว โดยจะมีการประชุมอีกครั้งในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า ก่อนรายงานความคืบหน้าให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีรับทราบต่อไป

   "เวิลด์แบงก์ได้จัดอันดับซึ่งประเทศไทยไม่ค่อยกระเตื้องขึ้นเลย เราจึงต้องมาแก้ไขให้ดีขึ้น และเชื่อว่าจะทำได้ดี เช่น การแก้ไขในส่วนของการจดทะเบียนธุรกิจใหม่ให้มีความรวดเร็วมากขึ้น" นายสมคิด กล่าว

    นอกจากนี้ ในที่ประชุมภาคเอกชนยังได้รายงานถึงปัญหาของเอกชน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการติดต่อกับหน่วยงานราชการที่ต้องผ่านกระบวนการหลายอย่าง หลายกระทรวง ทำให้เกิดความล่าช้า เช่น การขอจัดตั้งบริษัท และกฎหมายบางเรื่องยังไม่เอื้ออำนวยต่อการค้าการลงทุนด้วย

    นายสมคิด กล่าวว่า สิ่งที่รัฐบาลพยายามดำเนินการ คือ การสร้างจุดบริการเพียงจุดเดียว หรือ วันสตอปเซอร์วิส เพื่อให้มีความรวดเร็วในการจดทะเบียน นอกจากนี้ยังมีในเรื่องอื่นๆที่ต้องเร่งแก้ไข ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนก่อนเดือนเมษายน 2559

    ด้านนายอภิศักดิ์ กล่าวว่า ในการประชุมร่วมกันฝ่ายเอกชนได้แสดงถึงข้อจำกัดต่างๆที่ในการทำธุรกิจ และเป็นข้อเสนอแนะให้ทางราชการ ด้านหน่วยงานราชการก็มีความพร้อม ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทำการบ้านมาว่าจะมีการดำเนินการในการแก้ไขต่างๆอย่างไรต่อไป

    อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า ทุกคนมีกระบวนการที่จะปรับปรุง มีทั้งทำกระบวนการใหม่ และหากการทำงานนั้นติดขัดในเรื่องของกฎหมาย ก็จะมีกฎหมายใหม่ เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานให้มีความสะดวกและง่ายมากขึ้น

    "การประสานงานภาครัฐและเอกชน จะทำให้การทำงานได้ง่าย ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็รับงานกลับไป และกลับมาคุยกันใน 2 อาทิตย์ และจะสรุปให้ได้ภายใน 1 เดือน"นายอภิศักดิ์ กล่าว

    ขณะที่นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรมได้เร่งดำเนินการ เช่น ลดขั้นตอน รวมถึงแก้กฎหมายเกี่ยวกับใบอนุญาตจัดตั้งโรงงาน เพื่อให้มีความสะดวกรวดเร็วขึ้น ส่วนอุปสรรคอื่นๆนั้นจะมีการหารือต่อไปในการประชุม

สมคิด หารือทีมศก.-เอกชน สั่งเร่งสรุปแนวทางแก้อุปสรรคธุรกิจ-ปรับขั้นตอน

    นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุม Business Easing ร่วมกับนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง ,นางอรรชกา สีบุญเรือง รมว.อุตสาหกรรม ,นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมช.พาณิชย์ และภาคเอกชนว่า รัฐบาลจะต้องดูแลอำนวยความสะดวกในด้านการค้าและการลงทุนให้กับภาคเอกชน เพื่อทำให้ต่างชาติมั่นใจว่าไทยเป็นฐานการลงทุนที่ไม่แพ้เวียดนามหรือเอเชีย โดยมอบหมายให้กระทรวงการคลังเป็นแม่งาน จัดการประชุมติดตามรับฟังความเห็นเกี่ยวกับข้ออุปสรรคด้านการค้าการลงทุนจากภาคเอกชน ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ในอีก 2 สัปดาห์หน้า และเสนอข้อสรุปเบื้องต้นให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พิจารณาใน 1 เดือน

   ทั้งนี้ ในที่ประชุมได้รับฟังข้อเสนอจากภาคเอกชนหลายเรื่องที่พบว่ายังล่าช้า เช่น บริษัทผลิตยาที่ต้องขอใบอนุญาตผลิตยาในประเทศบางรายการ การจดทะเบียนธุรกิจใหม่ ที่พบว่ายังล่าช้ากว่าประเทศสิงคโปร์อยู่มาก การทำสัญญาว่าจ้าง (work permit) ระหว่างกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงแรงงานที่ยังล่าช้า หรือกระบวนการชำระภาษี แสดงพิกัดภาษีศุลกากร เป็นต้น

   ที่ผ่านมา ประเทศไทยถูกจัดอันดับการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน (Doing Business) โดยธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ในปี 2558 ไทยอยู่อันดับที่ 26 จึงจำเป็นต้องปรับปรุงกระบวนการสนับสนุนการค้าและการลงทุน เริ่มตั้งแต่การขออนุญาต เริ่มต้นทำธุรกิจ ไปจนถึงขั้นตอนประกาศล้มละลาย และบังคับคดี ซึ่งที่ผ่านมามีความล่าช้า สาเหตุมาจาก 1.ขั้นตอนราชการเกี่ยวข้องกับหลายกรม กระทรวง และ 2.บางขั้นตอนก็ยังมีกระบวนการที่ไม่จำเป็น ที่ต้องแก้ไขหรือตัดทอนออก เช่น กฎระเบียบ หรือกฎหมายบางอย่าง เป็นต้น

     อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!