WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

SCBสทธาภา อมรววฒนSCB เอกชนชู R&D หนุนปรับโครงสร้างศก. ยกระดับแข่งขัน,วอนรัฐปรับกม.ลดความซับซ้อน

      ภาคเอกชนเห็นพ้องการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยสู่ความมั่งคั่งในระยะยาว ควรหันเน้นงานวิจัยและพัฒนา(R&D) และทำการผลิตและจำหน่ายสินค้านวัตกรรม เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ลดความผันผวนจากปัจจัยภายนอก ขณะที่ภาครัฐควรสร้างความชัดเจนทั้งในด้านกฎหมายเพื่อความซับซ้อนและสร้างความมั่นใจให้ภาคเอกชนเกิดการลงทุนมากขึ้น

     นางสุทธาภา อมรวิวัฒน์ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) กล่าวในงานเสวนา"ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย สู่ความมั่งคั่งระยะยาว"ว่า  ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจเปิด ทำให้ได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในปัจจุบันที่หลายๆประเทศมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินกันมาก ส่งผลกระทบการใช้ Supply Chain ในตลาดเปลี่ยนไป รวมไปถึงประเทศไทยด้วย

        อย่างไรก็ตาม ภาวะความผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้น ส่งผลให้ประเทศไทยจะต้องลดการพึ่งพิงการส่งออกให้ลดลง และปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ของโลก ประกอบกับหันมาเน้นการลงทุนในประเทศให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง โดยภาครัฐจะต้องสร้างความชัดเจนให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะกฏหมายของประเทศที่ยังคงมีความซับซ้อนอยู่ โดยหากรัฐบาลสามารถลดหรือแก้ไขความซับซ้อนของกฏหมายได้นั้น มองว่าจะทำให้ภาคเอกชนมีความมั่นใจมากขึ้นในการลงทุน

      นอกจากนี้ ประเทศไทยยังจะต้องหันมาเน้นการผลิตและจำหน่ายสินค้าที่เป็นสินค้านวัตกรรมเอง และนำเข้าสินค้าประเภททุนเพื่อมาลงทุน ซึ่งจะสร้างความได้เปรียบทางการค้า จากปัจจุบันที่ประเทศไทยมีการผลิตสินค้าที่ล้าสมัย และพึ่งพิงการนำเข้าวัตถุดิบในการผลิตที่ไม่ใช่สินค้าทุนค่อนข้างมาก ทำให้ประเทศไทยเกิดการเสียเปรียบทางการค้า อีกทั้งยังมองว่าการเปิดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยอย่างมาก เป็นผลเสียและจะเป็นสิ่งเสพติดใหม่กับประเทศ เพระพึ่งพิงความรู้และความสามารถในการผลิตของต่างชาติมากเกินไป ประเทศไทยควรหันมาพัฒนาความสามารถในการเรื่องนวัตกรรมและความสามารถในการผลิตเป็นของตัวเอง

     นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บล.ซีแอลเอสเอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ประเทศไทยเผชิญปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 4% มา 3 ปีซ้อน เนื่องจากปัญหาภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว รวมถึงเศรษฐกิจในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัว นอกจากนี้ประเทศไทยยังไม่สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ ประกอบกับภาครัฐก็ยังไม่ได้ผลักดันการลงทุนต่างๆในประเทศให้เห็นเป็นรูปธรรม ทำให้ความเชื่อมั่นของภาคเอกชนลดลง

       ทั้งนี้ สำหรับการเปลี่ยนแปลงแนวคิดต่างๆ เพื่อปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยนั้นควรปรับเปลี่ยนด้านความคิดและมุมมองต่างๆทางสังคม โดยเฉพาะการปรับปรุงความคิดและการปฏิบัติงานของหนทวยงานราชการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนภาคเอกชนนั้นควรจะหันมาทำการวิจัยและพัฒนาให้มากขึ้น เพื่อสร้างสินค้าที่เป็นนวัตกรรม ซึ่งอาจจะนำเงินปันผลที่จ่ายให้กับผู้ถือหุ้นส่วนหนึ่งใช้เป็นงบที่ไช้สำหรับการทำ R&D แต่อย่างไรก็ตามภาครัฐจะต้องเป็นผู้สนับสนุนแนวความคิดดังกล่าวด้วย 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!