WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

1Aเกษตรศาสตร์80

เกษตรศาสตร์ ฉลองครบรอบ 80 ปี เปิดคลังความรู้ KU Digital Day : ต้นแบบสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต สังคมและชุมชน ณ ลานชั้น 3 สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

      ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นประธานเปิดงาน KU Digital Day : ต้นแบบสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต สังคมและชุมชน  เฉลิมฉลองครบรอบ 80 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดคลังความรู้นำผลงาน Digital Platform ที่โดดเด่นและใช้งานได้จริงพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีในสาขาต่างๆ อาทิ Platform การบริการ,การเกษตร,ป่าไม้,ประมง,IT,การศึกษา,สุขภาพ นำเสนอแก่ผู้สนใจเป็นครั้งแรก รวมจำนวน 22 Digital Platform พร้อมกับนำชมระบบคลังความรู้ E-Books ซึ่งบรรจุข้อมูลกว่า 40 Digital Platform เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป

       ดร. จงรัก กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีองค์ความรู้ทั้งงานวิจัย นวัตกรรมที่หลากหลายสาขา กระจายอยู่ในคณะ สำนัก สถาบันในวิทยาเขตต่าง ๆ มากมาย ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นสร้างองค์ความรู้จากงานวิจัย นวัตกรรม และถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ  รวมทั้งสร้างต้นแบบสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต สังคมและชุมชน 

        ในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 80 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  จึงได้คัดเลือกและรวบรวมเฉพาะผลงานเกี่ยวกับ Digital Platform ของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผลงานที่มีส่วนช่วยส่งเสริม แก้ไขปัญหาสังคม ช่วยลดเวลาและขั้นตอนการปฏิบัติงานและสะดวกต่อการใช้งาน ฯลฯ มาจัดแสดงและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ผู้สนใจ ในงาน KU Digital Day เป็นครั้งแรก และเพื่อความสะดวกในการค้นหาคลังความรู้ดังกล่าว ตลอดจนเผยแพร่ให้สังคม ผู้สนใจทั่วไปได้นำองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายขึ้น จึงได้จัดทำเป็น E-Books ซึ่งบรรจุข้อมูลเชิงลึกสำหรับ Digital Platform จำนวนกว่า 40 ผลงาน ซึ่งผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ที่ https://ebook.lib.ku.ac.th/item/3/2022RG0018

       ภายในงานมีการจัดแสดงผลงาน Digital Platform จำนวน 22 ผลงาน การนำเสนอและสาธิตการใช้ Digital Platform ที่โดดเด่น และนำไปใช้งานได้จริง จำนวน 5 ผลงาน ได้แก่ ระบบ นิทรรศการแสดงผลลัพธ์การเรียนรู้นิสิตรูปแบบเสมือนจริง  โดย อ.ดร.สรีวัลย์ จึงเจริญนิรธร วิทยาลัยบูรณาการศาสตร์ ระบบนี้ เกิดจากภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัส โควิด-19 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดแสดงผลงานนิสิตในรูปแบบเสมือนจริง ทำให้ผู้ชมสามารถเข้าถึงผลงานของนิสิตได้โดยปราศจากการรวมตัวและลดการแพร่ระบาดได้ โดยยังสามารถคงไว้ซึ่งบรรยากาศเสมือนจริง

       นอกจากนี้ สื่อที่นิสิตสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการสื่อสารในอีกรูปแบบหนึ่ง ยังสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน การประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจที่ดีได้อีกด้วย ระบบ รู้เกษตร- AgriPro, iOS และ Android เพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนเพาะปลูกพืชหรือ เลี้ยงสัตว์ โดย รศ.ดร. ธานี ศรีวงศ์ชัย คณบดีคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

        'รู้เกษตร-Agri Pro'แอปพลิเคชันสำหรับวางแผนการผลิตพืช/เลี้ยงสัตว์/ประมง ใช้เพื่อการกำหนดขอบเขตฟาร์มบนแผนที่เพื่อคำนวนเป็นพื้นที่จริง สร้างแผนการผลิต บันทึกรายการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ และบันทึกรายรับ-จ่าย เพื่อสรุปเป็นโปรไฟล์ของการผลิตแต่ละครั้ง จึงทำให้เห็นภาพของรายรับ-จ่ายที่เกิดขึ้นของการผลิต

        นอกจากนี้ ยังเติมเต็มด้วยข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ได้แก่ ข้อมูลสภาพอากาศ ข้อมูลชุดดิน ร้านขายปัจจัยการผลิตและสถานที่รับซื้อผลผลิต ข้อมูลราคาสินค้าเกษตร ระบบการคำนวณปุ๋ยสั่งตัด และคลังความรู้การเกษตรในรูปแบบ e-book เพื่อการวางแผนการจัดการฟาร์มอย่างมีประสิทธิภาพ

       ข้อมูลการผลิตสามารถสร้างเป็น QR code เพื่อแชร์ให้แก่ผู้ที่สนใจ ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สร้างเครือข่ายเกษตรกร นอกจากนี้การส่งข้อมูลเข้าส่วนกลางเพื่อการอัพเดทการผลิตของเกษตรกรแต่ละราย ข้อมูลที่ส่งเข้าส่วนกลาง จะถูกเก็บไว้ในรูปแบบธนาคารข้อมูล (data bank) เพื่อสะสมให้เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ทางการเกษตร(Agri-big data)ต่อไปได้

        นอกจากนี้ สามารถนำองค์ความรู้จากแอปพลิเคชันด้านการเกษตรมาใช้ในการบริหาร จัดการ วางแผนการผลิต และจัดการผลผลิตจะช่วยให้เกษตรกรสามารถใช้เป็นข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจได้มากกว่าการอิงประสบการณ์ เกษตรกรและนักวิชาการสามารถพัฒนาเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสามารถเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้านการผลิตเพื่อเป็นการขยายฐานข้อมูลเดิม รวมไปถึงข้อมูลจากแอปพลิเคชันที่ถูกรวบรวมอย่างเป็นระบบในรูปแบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่(big data) จะมีประโยชน์สำหรับภาครัฐหรือเอกชนสำหรับใช้การวางแผนการจัดการในเชิงนโยบายด้านการเกษตรต่อไป เพื่อการพัฒนาไปสู่การเกษตรแม่นยำในอนาคต

 

ระบบ FOA Drone Mapping Platform เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการวางแผนจัดการแปลงหรือฟาร์ม

โดย รศ.ดร. ธานี ศรีวงศ์ชัย  คณบดีคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

       การวางแผนการจัดการฟาร์มจากเดิมที่ต้องเดินสำรวจพื้นที่เพาะปลูกเพื่อติดตามการเจริญเติบโตของพืช หรือสัตว์ได้ถูกแทนที่ด้วยการใช้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรนบินสำรวจ(surveying drone)เป็นที่ เรียบร้อยแล้ว โดรนสำรวจมีหลากหลายรูปแบบ และหลายรุ่น ซึ่งในแต่ละรุ่นจะส่งผลต่อศักยภาพของโดรน ประสิทธิภาพในการบิน ความละเอียดของภาพ และความแม่นยำของพิกัดภาพที่แตกต่างกัน ข้อมูลที่ได้จากการบินถ่ายพื้นที่หลายๆ

       ภาพจะต้องนำมาประมวลผลผ่านโดรนแพลตฟอร์มของศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยี คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อต่อภาพถ่ายหลายๆ ภาพเข้าเป็นภาพเดียวกัน เกิดเป็นแผนที่ภาพออร์โธอากาศยานไร้คนขับ หรือ แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ แล้วนำมาใช้ประโยชน์ในลักษณะ แผนที่ภาพในรูปแบบแผนที่ดิจิทัล(digital orthophoto map)แผนที่ภาพถ่ายที่ประมวลผลแล้วสามารถนำมา ประเมินสภาพแปลง RGB ความสมบูรณ์ของต้นพืช ระดับความสูงต่ำของพื้นที่ DEM(digital elevation model)

       และเส้นแนวระดับการวัดขนาดพื้นที่ ระยะทางรอบแปลง และการวัดระยะ การประเมินดัชนีสุขภาพพืช GRVI(green red vegetation index) นับจำนวนต้น หรือการแบ่งกลุ่มชนิดพืชพรรณในแปลงด้วยค่าสีที่แตกต่างกัน การกำหนดจุดบนแผนที่แล้วเชื่อมโยงกันกับแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า'รู้เกษตร-Agri Pro'เพื่อการลงพื้นที่สำรวจในจุดที่ต้องการสำรวจ สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของพืช หากเกิดการระบาดของโรคหรือแมลงในแปลงจะได้เข้าแก้ไขได้ทันท่วงที ซึ่งจะมองภาพรวมของแปลงได้ครอบคลุม และเร็วมากกว่าการใช้แรงงานคน

      การให้บริการ แพลตฟอร์มนี้ มีตั้งแต่การบินถ่ายภาพด้วยโดรน การประมวลและวิเคราะห์ผลภาพถ่าย และอัพโหลดข้อมูลเข้า แพลตฟอร์มเพื่อการใช้งาน ซึ่งปัจจุบันได้มีผู้ใช้บริการจริงแล้ว ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เช่น ใช้นับจำนวนต้น และตรวจสอบการระบาดของหนอนที่เข้าทำลายใบในแปลงปาล์มน้ำมัน บินติดตามการเจริญเติบโตและสุขภาพพืช ของข้าว และบินสำรวจพื้นที่เพื่อใช้ในการวางแผนจัดการแปลง เป็นต้น

 

Care Support Application เพื่อส่งเสริมการใช้ชีวิตที่ไม่เป็นอุปสรรคแก่ผู้พ้นโทษ

โดย ผศ.ดร. เปรมฤดี เพ็ชรกูล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

     งานวิจัยเรื่องนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเครื่องมือที่ให้ความช่วยเหลือผู้พ้นโทษให้สามารถมีช่องทางในการขอรับบริการความช่วยเหลือ หางานทำ มีสถานศึกษา และที่อยู่อาศัย รวมไปถึงสร้างกระบวนการในการถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้แอปพลิเคชันให้แก่กลุ่มผู้กระทำผิดที่กำลังได้รับการปล่อยตัว

        นอกจากผู้พ้นโทษมีช่องทางในการเข้าถึงการหางานทำและการขอรับสวัสดิการที่สะดวกและไม่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตแล้ว เจ้าหน้าที่สามารถนำเครื่องมือทางออนไลน์ไปประยุกต์ใช้เพื่ออำนวยประโยชน์ให้การทำงานในการช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้พ้นโทษมีประสิทธิภาพมากขึ้น หน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้องก็ยังได้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือด้านสวัสดิการต่างๆ แก่กลุ่มผู้พ้นโทษได้ตามเป้าหมาย

       ทั้งนี้ ผลจากการพัฒนาแอปพลิเคชัน จะดำเนินการส่งต่อระบบแอปพลิเคชันให้แก่สำนักงานส่งเสริมสัมมาชีพและผลิตภัณฑ์เพื่อการพัฒนาพฤตินิสัย กระทรวงยุติธรรม(สมภพ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้โครงสร้างการบริหารขององค์การส่งเสริมการกลับคืนสู่สังคม ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเพื่อนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายและพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป

 

ระบบ เพื่อนจากใจ เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะให้แก่นิสิต

       โดย ดร.มนธีร์ จิตต์อนันต์ และคณะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เยาวชนมีแนวโน้มการฆ่าตัวตายเพิ่มสูงขึ้น โดยในปี 2560 กลุ่มเยาวชนอายุ 20-24 ปี มีอัตราการฆ่าตัวตายที่ 4.94 ต่อประชากรแสนคน และในปี 2561 เพิ่มขึ้นเป็น 5.33 ต่อประชากรแสนคน กลุ่มเยาวชนโทรศัพท์เข้ามาปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น ซึ่งปัญหาที่พบมากที่สุดในกลุ่มเด็กและเยาวชน คือ ปัญหาความเครียดหรือ วิตกกังวล ปัญหาทางจิตเวช ปัญหาความรัก ปัญหาซึมเศร้า และปัญหาครอบครัว

       ปัญหาความเครียดของนิสิตที่บางครั้งเผชิญปัญหา และรู้สึกว่า ไม่มีที่พึ่ง จึงตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสม และบางคนเลือกจบชีวิตของตนเอง จึงได้พัฒนาแอปพลิเคชั่นเพื่อให้นิสิตได้เข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้ง่าย และไม่เสียค่าใช้จ่าย สอดคล้องกับธรรมชาติการใช้ชีวิตของนิสิตนักศึกษาที่จะใช้โทรศัพท์มือถือกันมาก ซึ่งเปิดโอกาสให้ใช้แอปพลิเคชันมากขึ้น

       แอปพลิเคชั่นที่พัฒนาส่วนใหญ่ จะเป็นการให้ข้อมูลทางด้านสุขภาพจิตเท่านั้น บางแอปพลิเคชั่นถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อให้บริการปรึกษาเชิงจิตวิทยา แต่ไม่ได้ให้ข้อมูลทางด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมทั้งแอปพลิเคชั่นสบายใจที่ถูกพัฒนาโดยกรมสุขภาพจิตประเทศไทย มีฟังก์ชั่นให้สามารถพูดคุยปรึกษาปัญหาทางสุขภาพจิตได้

      ดังนั้น จะเห็นได้ว่า แอปพลิเคชั่น เพื่อนจากใจมีความครอบคลุมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิตและสุขภาพกาย รวมทั้งมีบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยาด้วย

ข่าวโดย ผกามาศ ธนพัฒนพงศ์ หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 

 

 Click Donate Support Web  

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!