WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

เกษตรกรคอนแทร็คฟาร์มมิ่ง ส่วนหนึ่งของผู้ผลิตอาหารปลอดภั

      หลายครั้งที่ได้ยินคนถามถึงระบบเกษตรพันธสัญญาหรือคอนแทร็คฟาร์มมิ่งว่ามีการเลี้ยงสัตว์ที่ใช้ยาปฏิชีวนะเป็นหลักจริงหรือ?  มีคนตรวจสอบหรือเปล่า? ถ้าเรากินข้าวกินปลาที่เลี้ยงโดยเกษตรกรในระบบเกษตรพันธสัญญาแล้วเราจะปลอดภัยมั้ย? ... ก็รู้สึกได้ว่ายังมีคนไม่เข้าใจการควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยในอาหารของเกษตรกรในระบบเกษตรพันธสัญญาอยู่ค่อนข้างมาก  จึงอยากนำข้อมูลมาแบ่งปันกันอีกครั้ง เพื่อความเป็นธรรมต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ให้ได้พ้นข้อกล่าวหาลอยๆเหล่านี้

   ส่วนหนึ่งของข้อกล่าวหาดังกล่าวมาจากคลิปเกษตรพันธสัญญาที่ชี้นำว่า “คนดื้อยาปฏิชีวนะมีจำนวนมากขึ้นและส่วนหนึ่งมาจากอาหาร” ซึ่งกรณีนี้ ดร.กัลปพฤกษ์ ผิวทองงาม จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เคยระบุไว้ว่า ในระบบการเลี้ยงปศุสัตว์ที่มีมาตรฐานการเลี้ยงที่ดี จะมีมาตรฐานความปลอดภัยทางอาหารควบคุมอยู่ เช่น 1.) ระบบโรงเรือนปิดที่ป้องกันไม่ให้สัตว์มีการติดเชื้อจากภายนอก คนและสิ่งของที่เข้าไปในโรงเรือนต้องผ่านการฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันการติดเชื้อ 2.) ระบบตรวจสอบย้อนกลับที่สามารถตรวจสอบกิจกรรมทุกอย่างในฟาร์มย้อนหลังได้ แปลว่าถ้ามีสารตกค้างจะระบุได้เลยว่าสารตกค้างนั้นมาจากที่ใด สัตว์กินอาหารอะไรไปอาหารสัตว์มาจากที่ใดใครเป็นผู้ส่งวัตถุดิบให้โรงงานบ้าง อาหารหรือยาผลิตเมื่อไรมีสารอะไรบ้าง 3.) ระบบการให้ยาโดยปกติจะต้องระบุว่าหากมีการให้ยาปฏิชีวนะจะต้องเลี้ยงต่อไปอีกกี่วัน เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อคนที่ใช้เป็นอาหาร ดังนั้น การชี้นำให้คนเข้าใจว่า อาหารจากระบบเกษตรพันธสัญญาทำให้เกิดเชื้อดื้อยานั้น จึงเป็นตรรกะที่ผิดเพี้ยนอย่างมาก และอันที่จริงต้องกล่าวว่า เกษตรกรในระบบเกษตรพันธสัญญาคือส่วนหนึ่งของผู้ผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อผู้บริโภคจึงจะถูกต้องมากกว่า

      นพฉัตร ปัญญาวชิโรภาส เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรายหนึ่งในระบบคอนแทร็คฟาร์มมิ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นอีกผู้หนึ่งที่ยืนยันได้ว่า ตนผลิตหมูขุนด้วยมาตรฐานความปลอดภัยทางอาหารสูงสุด เพราะไม่เพียงเป็นห่วงผู้บริโภค แต่เพราะเขาและทุกคนในครอบครัว ก็เป็นผู้บริโภคเนื้อหมูเช่นกัน หากเขาซึ่งเป็นผู้ผลิตไม่ดูแลให้อาหารปลอดภัยตั้งแต่ต้นทางย่อมกระทบถึงผู้บริโภคปลายทางแน่นอน ทั้งนี้ เขาเชื่อว่าการป้องกันย่อมดีกว่าการรักษา จึงปฏิบัติตามคำแนะนำของบริษัทคู่สัญญาและกรมปศุสัตว์อย่างเคร่งครัด โดยจะคอยสังเกตทั้งตัวหมูและสภาพแวดล้อม เช่น ช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงก็จะเริ่มให้วิตามินเพื่อป้องกันสุขภาพหมูไว้ก่อน ส่วนหมูที่เริ่มมีอาการซึม มีไข้ หรือกินอาหารน้อยลง ก็จะรีบแยกออกมาดูแลเป็นพิเศษ การทำแบบนี้ทำให้ไม่มีการใช้ยา หมูที่ผลิตได้จึงปลอดภัย ปัจจุบัน เขามีรายได้จากการเลี้ยงหมูในระบบเกษตรพันธสัญญาปีละประมาณ 2 ล้านบาท แต่อีก 2 ปีข้างหน้าเมื่อหมดภาระหนี้กับธนาคารเขาก็จะมีเงินเดือนถึงกว่า 160,000 บาททีเดียว 

      สมเกียรติ เดชสนธิ เกษตรกรในระบบคอนแทร็คฟาร์มมิ่งอีกคนหนึ่งในจังหวัดลพบุรี ก็กล่าวในทิศทางเดียวกันว่า อาชีพเลี้ยงหมูในระบบเกษตรพันธสัญญาทำให้ครอบครัวของเรามีความเป็นอยู่ดีขึ้น ลูกได้เรียนจบปริญญา ที่สำคัญคือความภูมิใจที่เราเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างอาหารปลอดภัยให้กับผู้บริโภคด้วยการเอาใจใส่ดูแลหมูทุกๆตัวอย่างดี ไม่ใช่เพียงแค่มีมาตรฐานฟาร์มและมาตรฐานของบริษัทเป็นตัวกำหนด แต่เพราะเราคิดว่าตัวเองก็คือผู้บริโภคคนหนึ่ง สิ่งที่จะกินเข้าไปก็ต้องมั่นใจว่าปลอดภัยจริงๆ

     สมเกียรติ อธิบายถึงขั้นตอนการเลี้ยงที่ไม่ยุ่งยากว่า เริ่มจากบริษัทส่งหมูมาให้เลี้ยงโดยมีโปรแกรมการให้อาหารมาตรฐาน และมีการทำวัคซีนตามที่สัตวแพทย์ประจำฟาร์มกำหนด เกษตรกรจะดูแลหมูต่อไปประมาณ 5 เดือน เมื่อน้ำหนักประมาณ 100 กิโลกรัม สัตวแพทย์ของกรมปศุสัตว์จะทำการตรวจสอบและรับรองว่าสุกรมีมาตรฐานปลอดโรค ปลอดสาร และปราศจากยาปฏิชีวนะทุกชนิด บริษัทจึงจะจับหมูเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อหมูปลอดภัยสู่ผู้บริโภคต่อไป ปัจจุบันสมเกียรติยังคงเลี้ยงหมูในระบบและมีรายได้ที่มั่นคงอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับบทบาทการสร้างอาหารปลอดภัยที่ตนภูมิใจ

     ส่วน วันเพ็ญ คงสุข เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อในระบบคอนแทร็คฟาร์มมิ่งในจังหวัดชลบุรี ระบุว่าแม้การเลี้ยงไก่จะไม่ใช่เรื่องยาก แต่สิ่งที่เกษตรกรต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษคือ การเข้มงวดด้านการป้องกันโรค การเข้า-ออกฟาร์มและโรงเรือนเลี้ยงไก่  การผ่านน้ำยาฆ่าเชื้อทุกครั้งก่อนเข้าสู่โรงเรือน  เรียกว่าต้องให้ความสำคัญกับเรื่องความสะอาดอย่างสูงสุด โดยมีเป้าหมายเพื่อการผลิตไก่ที่มีคุณภาพดีสู่ผู้บริโภค

      ทั้งหมดนี้  เป็นเรื่องจริงของเกษตรกรคอนแทร็คฟาร์มมิ่ง ที่ต่างออกมายืนยันว่าพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของผู้ผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อผู้บริโภคชาวไทยและชาวโลก ... มีมาตรฐานและการตรวจสอบอย่างเข้มงวดจากทั้งบริษัทคู่ค้าและภาคราชการ...นอกเหนือไปจากความมั่นคงทางอาชีพที่ยั่งยืนของพวกเขา ....

       มันถึงเวลาหยุดเชื่อถือคำกล่าวให้ร้ายลอยๆที่ปรากฏตามโซเชี่ยลมีเดียหรือยัง? เพราะมันไม่เป็นธรรมต่อเกษตรกรไทยที่ตั้งใจผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อผู้บริโภคเลย....

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!