WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

สมาคมผู้ส่งออกฯเสนอคสช.ตั้งไรซ์บอร์ด จัดระบบข้าวไทยแบบยั่งยืน

     แนวหน้า : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ชงคสช. ตั้งไรท์บอร์ด ตรวจสต๊อกข้าว แก้ปัญหาข้าวทั้งระบบอย่างยั่งยืน เตรียมทวงคืนแชมป์ส่งออกข้าวจากอินเดีย เชื่อทั้งปีจะส่งออกได้กว่า 9 ล้านตัน

    ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่าสมาคมฯเตรียมเสนอกรอบการบริหารจัดการข้าวไทยอย่างเป็นระบบ ต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) หากมีการเรียกทางสมาคมฯเข้าไปหารือ เพื่อจัดการให้เกษตรกรมีรายได้ที่เหมาะสม และอุตสาหกรรมข้าวไทยพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยจะนำเสนอทั้งแผนมาตรการในระยะสั้น ทั้งการตรวจสอบสต๊อกข้าวของรัฐบาลทั่วประเทศ, การระบายบายข้าวผ่านการประมูลอย่างเปิดเผย โปร่งใส, การดูแลข้าวเปลือกไม่ให้ราคาตกต่ำกระทบต่อตลาดข้าว โดยควรเน้นบริหารจัดการข้าวเปลือกฤดูกาลใหม่ที่กำลังจะออกสู่ตลาดในช่วงตุลาคมนี้ และมาตรการระยะยาว คือการจัดตั้งคณะกรรมการข้าว(ไรซ์บอร์ด), การสนับสนุนธุรกิจ อุตสาหกรรมข้าวไทยสู่สากลอย่างสมบูรณ์ และการส่งเสริมรายได้ให้เกษตรกรโดยการปลูกข้าวแบบลดต้นทุน เพิ่มผลิตที่มีคุณภาพ

    ทั้งนี้ ยังมองว่าการที่มีการตรวจสอบสต๊อกข้าวของรัฐบาลทั่วประเทศ แยกปริมาณ ชนิด คุณภาพ จะเป็นผลดีต่อการบริหารจัดการข้าวของประเทศอย่างมีระบบ เนื่องจากปัจจุบันข้อมูลข้าวยังมีความสับสน แต่ละฝ่ายมีข้อมูลไม่ตรงกัน และข้อมูลที่แท้จริงอาจจะไม่มีใครมีข้อมูลเลยก็เป็นได้ การตรวจสอบสต๊อกข้าวจำเป็นต้องมีบุคคลที่ 3 เข้าร่วมตรวจสอบด้วย เช่น สำนักงานคณะกรรมการตรวจข้าว สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นต้น ขณะเดียวกันการตรวจสต๊อกข้าวจะช่วยให้การวางแผนระบายข้าวทำได้ง่ายขึ้น และหากมีการระบายข้าวอย่างโปร่งใส มีการจัดการบริหารจัดการข้าวเปลือกอย่างเหมาะสม อาจจะทำให้ราคาข้าวเปลือกในตลาดปรับขึ้นได้ถึงตันละ 8,000-9,000 บาท จากที่ปัจจุบันราคาไม่เกิน 7,500 บาทต่อตัน

    การระบายแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ให้ประเทศจีนที่มีสัญญา 1 ล้านตัน ตอนนี้กระทรวงพาณิชย์ได้ส่งมอบไปแล้วเพียง 1 แสนตัน ที่เหลืออีก 9 แสนตันต้องเร่งส่งมอบโดยเร็วที่สุด เพื่อผลักดันข้าวออกไป และที่สำคัญข้าวเก่าต้องค่อยๆ ระบายออก เพื่อเก็บไว้นานก็เสียหาย โดยมองว่าตอนนี้ข้าวในสต๊อกรัฐที่น่าจะมีประมาณ 15-16 ล้านตัน ข้าวสารอาจต้องใช้เวลากว่า 3-5 ปี ในการระบายให้หมด

    สำหรับ การจัดตั้งไรซ์บอร์ด ซึ่งในคณะกรรมการอาจประกอบด้วย เกษตรกร ผู้ประกอบการโรงสี ผู้ค้าข้าวภายในประเทศ และผู้ส่งออก รวมถึงอาจมีหน่วยงานของรัฐเข้าร่วมด้วย เป็นต้น การให้ผู้ที่มีส่วนได้เสียภาคเอกชนเข้ามามีสิทธิในการช่วยกำหนดและมาตรฐานต่างๆ ไปในทิศทางที่ถูกต้อง เหมาะสมกับตลาด ปฏิบัติได้จริง จะเป็นการช่วยแก้ปัญหาข้าวอย่างยั่งยืนให้กับข้าวของไทยได้

   นโยบายเรื่องข้าวมักถูกใช้เป็นเครื่องมือหาเสียง และถูกกำหนดโดยพรรคการเมือง ทำให้เมื่อนักการเมืองเปลี่ยนมือนโยบายก็ต้องเปลี่ยนไปตามด้วย สร้างความสับสนในระบบข้าวพอสมควร แต่มองว่าการตั้งไรท์บอร์ด เพื่อกำหนดนโยบายให้รัฐบาลใดก็ตามเข้ามาบริหารจัดการข้าว เชื่อว่าจะทำให้ไม่เกิดความเสียหายต่อข้าวทั้งระบบเช่นที่ผ่านๆ มา และน่าจะเป็นผลดีต่อระบบข้าวไทยในระยะยาว

    อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ส่งออกข้าวไทยในช่วงที่ผ่านมา จนถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 ไทยสามารถส่งออกข้าวได้เป็นอันดับ 1 ของโลก ที่ปริมาณ 3.93 ล้านตันข้าวสาร ตามด้วยอินเดีย 3.74 ล้านตันข้าวสาร และเวียดนาม 2.4 ล้านตันข้าวสาร ทำให้มองว่าทั้งปี 2557 ไทยอาจส่งออกข้าวได้ถึง 9 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มเป้าหมายเดิมที่เคยคาดว่าจะส่งออกข้าวได้ 7.5 ล้านตันข้าวสารด้วย และหากไทยส่งออกข้าวได้ตามที่คาดการณ์ไว้อาจทำให้ไทยกลับมาเป็นแชมป์ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลกได้อีกครั้ง แต่ทั้งนี้ไทยก็ยังต้องเผชิญกับสถานการณ์ราคาข้าวตกต่ำ โดยราคาข้าวไทยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 390 เหรียญสหรัฐ ขณะที่อินเดียอยู่ที่ 430 เหรียญสหรัฐต่อตัน และเวียดนามอยู่ที่ 400 เหรียญสหรัฐต่อตัน

    นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า แนวโน้มการส่งออกข้าวของไทยในช่วงครึ่งปีหลังจะดีขึ้น และเชื่อว่าไทยจะแซงอินเดียกลับมาเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ได้อีกครั้ง เพราะราคาข้าวไทยยังต่ำกว่าคู่แข่ง อย่างอินเดีย และเวียดนามอยู่พอสมควร  ประกอบกับไทยยังมีการแย่งคืนตลาดข้าวจากอินเดียได้ อีกทั้งจีนมีความต้องการนำเข้าข้าวมากขึ้น อินเดียอาจทบทวนนโยบายส่งออกข้าว และสภาพอากาศของโลกยังมีโอกาสเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทำให้ข้าวไทยมีแนวโน้มส่งออกได้มากขึ้น ในส่วนราคาข้าวไทยหลังจากนี้อาจปรับขึ้นได้บ้างเพียง 10-20 เหรียญสหรัฐต่อตัน และมีโอกาสน้อยมากที่จะปรับสูงไปอีก 100-200 เหรียญสหรัฐต่อตัน

    กระทรวงเกษตรของสหรัฐ(USDA) คาดการณ์ว่าปี 2557 อินเดียจะส่งออกข้าวได้ปริมาณ 10 ล้านตัน ไทยจะส่งออกข้าวได้ 9 ล้านตัน และเวียดนามจะส่งออกข้าวได้ 6.5 ล้านตัน ซึ่งการคาดการณ์ดังกล่าวตรงกับที่สมาคมฯคาดไว้ว่าไทยจะส่งออกข้าวได้ 9 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 4,750 ล้านเหรียญฯ หรือ 150,000 ล้านบาท แต่ในส่วนของอินเดียนั้น อาจจะส่งออกได้น้อยกว่านั้น เพราะนโยบายความมั่นคงด้านอาหารฉบับใหม่ของอินเดียอาจทำให้อินเดียมีการทบทวนการส่งออกข้าว รวมถึงปรากฏการณ์เอลนิโญ่ ที่อินเดีย อาจต้องเผชิญ

    นางสาวกอบสุข เอี่ยมสุรีย์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า รูปแบบของการตั้งไรซ์บอร์ด นอกจากจะมีตัวแทนจากภาคเอกชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาร่วมกำหนดทิศทางแล้ว ก็ให้ภาครัฐเข้ามาร่วมเป็นกรรมการด้วย ซึ่งอาจจะยุบคณะกรรมการข้าวแห่งชาติ(กขช.) ไปเพราะไม่จำเป็นหากไม่มีโครงการรับจำนำข้าว แล้วให้มาเป็นกรรมการในชุดนี้แทน

ไทยทวงแชมป์ส่งออกข้าวทีดีอาร์ไอแนะทำบัญชีตรวจเช็คสต๊อกโกดังข้าว

    บ้านเมือง : เผยในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ไทยทวงแชมป์ส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลกคืนได้สำเร็จ ขณะที่ "ทีดีอาร์ไอ" เสนอทำ "บัญชีรวม" โครงการจำนำข้าวเพื่อตรวจเช็คสต๊อกที่ชัดเจน เชื่อหนุนราคาตลาดโลกขึ้นหากสต๊อกจริงออกมาตามคาด

   ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยปริมาณ 3.93 ล้านตัน ตามด้วยอินเดีย 3.74 ล้านตัน และเวียดนาม 2.4 ล้านตัน แต่ก็ต้องเผชิญกับสถานการณ์ราคาข้าวตกต่ำ โดยราคาข้าวไทยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 390 เหรียญสหรัฐต่อตัน

    ด้านนายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวถึงแนวโน้มการส่งออกข้าวในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเชื่อว่าไทยอาจจะแซงอินเดียได้ เนื่องจากราคาข้าวไทยยังต่ำกว่าคู่แข่ง กล่าวคือ ราคาข้าวอินเดียอยู่ที่ 420-430 เหรียญสหรัฐ ส่วนราคาข้าวเวียดนามอยู่ที่ประมาณ 400 เหรียญสหรัฐ ประกอบกับจีนมีความต้องการนำเข้าข้าวมากขึ้น อินเดียอาจทบทวนนโยบายส่งออกข้าว และสภาพอากาศของโลกยังมีโอกาสเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทำให้ข้าวไทยมีแนวโน้มส่งออกได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การที่ไทยยังมีสต๊อกมากถึงเกือบ 10 ล้านตัน ทำให้ราคาข้าวไทยอาจจะปรับขึ้นได้เพียง 10-20 เหรียญสหรัฐต่อตันเท่านั้น มีโอกาสน้อยมากที่จะเห็นข้าวไทยราคาเพิ่มขึ้นไปถึงร้อยเหรียญสหรัฐ และน่าจะทำให้ไทยกลับมาเป็นผู้ส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งได้ในปีนี้

    ขณะที่กระทรวงเกษตรของสหรัฐ คาดการณ์ภาวะการค้าข้าวของโลกในปีนี้จะมีปริมาณรวม 40.79 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.64 เมื่อเทียบกับปีก่อน และคาดว่าไทยจะส่งออกเป็น

   เปิดเผยถึงสถานการณ์ส่งออกข้าวไทยว่า แม้จะมีข่าวดี กล่าวคืออันดับที่ 2 ที่ปริมาณ 9 ล้านตัน ส่วนแชมป์ส่งออกข้าวอันดับ 1 คาดว่าจะเป็นอินเดีย ส่งออกได้ที่ปริมาณ 10 ล้านตัน ตามด้วยเวียดนาม 6.5 ล้านตัน สอดคล้องกับการคาดการณ์ของสมาคม ผู้ส่งออกข้าวไทย ที่คาดว่าปีนี้ไทยจะส่งออกข้าวได้ 9 ล้านตัน มูลค่า 4,750 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 150,000 ล้านบาท ซึ่งจีนยังนำเข้าข้าวมากที่สุดในโลกที่ปริมาณ 3.2 ล้านตัน หรืออาจจะมากถึง 5 ล้านตัน เพราะยังมีข้าวผ่านแดนหลายล้านตันที่ไม่ได้ถูกบันทึกในรายการนำเข้าของจีน

   ทั้งนี้ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยเสนอแนวทางบริหารจัดการข้าวไทยให้กับผู้มีอำนาจในบ้านเมือง โดยระยะสั้นควรเร่งตรวจสต๊อกข้าวทั่วประเทศ เพื่อใช้เป็นข้อมูลวางแผนระบายข้าว และควรมีบุคคลที่ 3 เข้าร่วมตรวจสอบด้วย เช่น สำนักงานคณะกรรมการตรวจข้าว สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ ยังควรระบายข้าวผ่านการประมูลข้าวอย่างเปิดเผย และเน้นบริหารจัดการข้าวเปลือกฤดูใหม่ที่กำลังจะออกสู่ตลาดเพื่อป้องกันไม่ให้ราคาตกต่ำ ส่วนระยะยาวควรจัดตั้งคณะกรรมการข้าวภาคเอกชน ซึ่งประกอบด้วย เกษตรกร ผู้ประกอบการโรงสี ผู้ค้าข้าวและผู้ส่งออก ให้มีสิทธิ์ในการกำหนดนโยบายและมาตรฐานต่างๆ ให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดและทำได้จริง ตลอดจนควรส่งเสริมการแข่งขันเสรีที่มีความยุติธรรม ปลอดจากอิทธิพลทางการเมือง และส่งเสริมให้ชาวนาเพิ่มรายได้โดยการเพิ่มผลผลิต

    และลดต้นทุน เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ใน AEC และควรมีการปรับการบังคับใช้มาตรฐานข้าวมะลิไทยฉบับใหม่ ที่กำหนดชนิดข้าวหอมมะลิเพิ่มเติมสูงกว่าร้อยละ 98 ขึ้นมาอีก ทำให้ข้าวหอมมะลิไทยมี 2 มาตรฐาน สร้างความสับสนให้กับประเทศคู่ค้าและในตลาดส่งออกทำได้ยาก จึงควรปรับแนวทางดังกล่าวกันต่อไป

    นายนิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยที่ไม่ต้องใช้เงินจำนวนมากในการอุดหนุนเกษตรกรหรือชาวนาขณะนี้ คือ การเร่งทำบัญชีรวมของโครงการรับจำนำข้าว เพื่อตรวจสอบสต๊อกข้าวที่ชัดเจนว่าขณะนี้มีจำนวนเท่าไร โดยเฉพาะการทำบัญชีระบายข้าวทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นแบบรัฐต่อรัฐ หรือรัฐกับเอกชน

   "ต้องทำบัญชีในแต่ละโกดังเลยว่า เข้ามาเท่าไร ออกไปเท่าไร และเหลือเท่าไร ในจำนวนนี้เป็นข้าวเก่าเท่าไร ข้าวใหม่เท่าไร หลังจากนั้นก็ทำบัญชีตรวจสอบ โดยใช้มืออาชีพในการเข้าตรวจสอบ ซึ่งคนตรวจสอบต้องเป็นหน่วยงานอิสระ" นายนิพนธ์ กล่าว

    ดังนั้น ถ้าทำได้แบบนี้จะได้สต๊อกข้าวที่ชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าไร หากจำนวนที่ออกมาน้อยกว่าที่ตลาดคาดหวังเอาไว้ เช่น สมมติว่าตลาดคาดว่าจะมีสต๊อกข้าวประมาณ 16-17 ล้านตัน แต่พอตรวจนับสต๊อกข้าวจริงๆ แล้ว อาจจะมีที่สูญหายไปบ้าง หรือเสียบ้าง ทำให้เหลือสต๊อกจริงแค่ 10 ล้านตัน ในกรณีแบบนี้ถ้าตลาดรับรู้ เชื่อว่าราคาข้าวในตลาดโลกก็คงปรับขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งวิธีนี้น่าจะช่วยแก้ปัญหาแบบเฉพาะหน้าได้โดยที่ไม่ต้องใช้เงินอุดหนุนจำนวนมาก

ทีดีอาร์ไอเสนอคสช.เช็คข้าวคงเหลือ,ระงับการส่งออก-หวังดันราคา

    นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย แนะหากต้องการยกระดับราคาข้าวต้องหยุดส่งออกข้าว-ตรวจเช็กสต๊อกทำบัญชีทั้งหมด

    นายนิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เผยว่า หากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องการจะยกระดับราคาข้าวในขณะนี้ต้องประกาศให้ตลาดรับรู้ว่าจะหยุดขายข้าวส่งออกไปถึงสิ้นปี 2557 หลังจากนั้นต้องมาตรวจเช็กสต๊อกข้าวทั้งหมดเพื่อทำบัญชีรวมทั้งประเทศใหม่ อาจจ้างบริษัทเซอร์เวเยอร์มืออาชีพมาตรวจและให้เจ้าหน้าที่ทหารเข้าคุมโกดังข้าวทุกแห่ง เพื่อให้ทราบว่า ข้าวเก่าก่อนโครงการรับจำนำมีปริมาณเท่าไหร่ และข้าวในโครงการรับจำนำที่มี 16 ล้านตันนั้น เป็นข้าวเน่า ข้าวหาย และข้าวปกติ ปริมาณเท่าไหร่ จากนั้นก็ทำลายข้าวเน่าทั้งหมด

   หลังตรวจแล้วปริมาณสต๊อกข้าวที่แท้จริงในมือรัฐบาลหลังจากหักข้าวเน่าและข้าวหายแล้ว อาจเหลือเพียง 9-10 ล้านตันก็ได้ ถ้าทำได้เชื่อว่าราคาข้าวในตลาดจะปรับตัวสูงขึ้นนายนิพนธ์ กล่าว

                อินโฟเควสท์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!