WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

TRACHAT

‘ตราฉัตร’ จับมือชาวนา เปิดตัว New Segment ทางเลือกสดใหม่ของผู้บริโภค

    ‘ข้าวตราฉัตร’พลิกโฉมวงการข้าวไทย เปิดตัว New Segment’ข้าวสีสด’เทรนด์ใหม่ของการบริโภคข้าว ยึดคอนเซปต์’ข้าวสีสดจากตราฉัตร เชื่อในความมีชีวิต’เปิดตัวครั้งแรกที่ โซน Eathai ใน Central Embassy’นายสุเมธฯ’ เผยว่าคนไทยต้องการบริโภคข้าวคุณภาพมากขึ้น’ข้าวสีสด’ จึงตอบโจทย์ รับประกันความสดใหม่เหมือนเพิ่งเกี่ยวจากทุ่งนา มั่นใจในคุณภาพคัดเลือกจากแหล่งที่ดีที่สุดในภาคอีสาน ควบคุมทุกขั้นตอนการผลิต

    นายสุเมธ  เหล่าโมราพร  ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ (รับผิดชอบธุรกิจข้าวและอาหาร) เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า ข้าวตราฉัตรตระหนักและยึดมั่นปรัชญา 3 ประโยชน์ ของท่านประธานธนินท์  เจียรวนนท์  มาโดยตลอด ว่าจะทำธุรกิจสิ่งใด ทุกๆ ธุรกิจต้องก่อให้เกิดประโยชน์ 3 ประการ คือประโยชน์ต่อประเทศชาติประโยชน์ต่อประชาชน และประโยชน์ต่อบริษัทจึงร่วมมือกับชาวนาในโครงการส่งเสริมปลูกข้าวหอมมะลิ ปี 2556/57 เปิดตัว 'ข้าวสีสด'ถือเป็นครั้งแรกของเมืองไทยที่ผู้บริโภคจะได้รับประทานข้าวที่อุดมไปด้วยคุณค่าและความอร่อยที่แตกต่างจากข้าวสารทั่วไปเพราะเป็นข้าวที่ผ่านกระบวนวิธีการสีสดๆ และวิธีการจัดเก็บรักษาความสดใหม่ของข้าวเปลือก ที่จะทำให้ผู้บริโภครู้สึกเหมือนได้รับประทานข้าว ที่เพิ่งเก็บเกี่ยวมาจากรวงข้าว

   การเปิดตัวครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกของวงการข้าวไทย ที่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการข้าว คิด New Segment เพื่อเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การรับประทานข้าวในแบบเก่าๆ สู่แบบการรับประทานข้าวแบบใหม่ ที่เปี่ยมด้วยคุณภาพ จาก 'ข้าวสีสด หรือ Fresh Milling'โดยตั้งเป้าหมายยอดขายปิดสิ้นปี พ.ศ.2558 ด้วยมูลค่า 100 ล้านบาท

   เคล็ดลับของข้าวสีสดจากตราฉัตร เริ่มจากการคัดเลือกแหล่งเพาะปลูกที่ดีที่สุด ในแถบภาคอีสาน จากแปลงนาเกษตรกรสมาชิก ที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมปลูกข้าวหอมมะลิ กับทางบริษัท ทั้ง 4 พื้นที่นำร่อง ใน 4 อำเภอ 4 จังหวัด ได้แก่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ, อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี, อำเภอเสนางคนิคมจังหวัดอำนาจเจริญ และอำเภอเลิงนกทาจังหวัดยโสธร รวมกว่า 5,000 ไร่ในปีการผลิต 56/57บริษัทฯ ได้เข้ามาช่วยดูแลเรื่องของระบบการบริหารจัดการการเกษตร ตั้งแต่แปลงนา จัดหาเมล็ดพันธุ์พร้อมทั้งให้ความรู้ ขั้นตอนการปลูกข้าวหอมมะลิให้ได้ผลผลิตดี ราคาสูง ต้นทุนต่ำ อีกทั้งรับซื้อข้าวเปลือกคืนโดยตรงจากเกษตรกรสมาชิกทำให้ข้าวทุกเมล็ดที่ได้มา เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอนการผลิต

    โครงการส่งเสริมปลูกข้าวหอมมะลิ ในครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทฯ กับ ชาวนาผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ เพื่อสร้างความยั่งยืนร่วมกัน ประการสำคัญก็คือบริษัทฯ ต้องการที่จะมีแหล่งผลิตข้าวที่มั่นใจในคุณภาพของวัตถุดิบ เพราะจำเป็นต้องรักษามาตรฐานของข้าวตราฉัตรขณะเดียวกันก็ตระหนักถึงปัญหาด้านการตลาดของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวจึงมีแนวคิดที่จะรวมเอาจุดเด่นของเกษตรกร และความชำนาญของบริษัทฯ เข้าด้วยกัน นับเป็นการทำธุรกิจที่เกื้อกูลกัน

   ดังนั้น เมื่อทางบริษัทฯ เข้าไปส่งเสริมเกษตรกร และรับซื้อวัตถุดิบที่เป็นข้าวเปลือกจากเกษตรกรในราคาที่สูงกว่าราคาท้องตลาด จะทำให้เกษตรกรมีความมั่นใจมากขึ้นเพราะรู้ว่ามีตลาดรองรับผลผลิตที่แน่นอน และเพื่อให้เกิดความยั่งยืน บริษัทฯ จึงดำเนินการโครงการส่งเสริมฯ อย่างต่อเนื่อง และในปี 57/58 เพิ่มพื้นที่การเพาะปลูกเป็น 8,696 ไร่ พร้อมกันนี้ มีทีมงานวิชาการของบริษัทฯ ได้เข้าไปส่งเสริมการปลูกข้าวหอมมะลิ ด้วยการให้คำแนะนำกับเกษตรกร เริ่มตั้งแต่ การใช้เมล็ดพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพโดยจะเข้าไปให้คำแนะนำถึง ผลดีที่จะได้จากการเปลี่ยนมาใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ ให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยว่าควรจะใช้สูตรไหน ใช้อย่างไร ใช้เวลาไหน จึงจะส่งผลดีที่สุด ซึ่งจากการใช้เมล็ดพันธุ์ที่ดี ใช้ปุ๋ยที่ดี รวมถึงการจัดการพื้นนาให้มีการควบคุมวัชพืช การควบคุมน้ำในแปลงนาให้มีความเหมาะสม จะทำให้ได้ข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพดีขึ้นคาดว่าจะช่วยเพิ่มผลผลิตได้ราว 10-20%”นายสุเมธฯ กล่าว

    ส่วนกระบวนการผลิต ‘ข้าวสีสด’ เริ่มตั้งแต่ นำข้าวหอมมะลิของเกษตรกรสมาชิก ที่เพิ่งผ่านกระเทาะเปลือก และขัดสีเอารำข้าวออกสดๆ ใหม่ๆทำให้ข้าวที่ได้มีกลิ่นหอมกว่า และมีคุณประโยชน์มากกว่าข้าวสารที่อายุเท่ากัน แต่ผ่านการขัดสีมานาน ข้าวสีสด จึงมีความสดใหม่เหมือนเพิ่งเก็บเกี่ยวจากรวง เพราะยังคงมีผิวรำ และจมูกข้าว จึงยังคงมีคุณค่าทางโภชนาการสูง และมีรสชาติความอร่อยที่แตกต่างจากข้าวหอมมะลิทั่วไป หรือข้าวกล้อง

    เอกลักษณ์พิเศษของ ‘ข้าวสีสด’ เป็นข้าวที่ผ่านการคัดสดใหม่ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนจะนำมาผ่านกระบวนการ เพื่อรักษาคุณภาพให้คงความสดใหม่ เหมือนเพิ่งเก็บเกี่ยวจากรวง ด้วยเทคโนโลยีเก็บรักษาข้าวเปลือกไว้ใน Grain Cooler ที่อุณหภูมิคงที่ 25องศาเซลเซียส ก่อนจะนำมากะเทาะเปลือกให้เป็นข้าวกล้อง เพื่อบรรจุลงถุงภายใน 24 ชั่วโมงจากโรงสีของตราฉัตร แล้วจัดเก็บในตู้แช่ ณ จุดขายที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส

   “ข้าวสีสด จึงมีความแตกต่างจากข้าวทั่วไป ทันทีที่หุงสุก ข้าวสีสด จะเผยความหอมละมุน นุ่มเหนียวน่ารับประทาน มีรสชาติความหวานเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว นายสุเมธฯ กล่าว

    ขณะนี้ มีวางจำหน่ายที่โซน Eathai ในห้างชั้นนำของเมืองไทย Central Embassy ที่สำคัญ ลูกค้าที่ซื้อข้าวสีสด จะมีเครื่องสีข้าว Magic Mill เทคโนโลยีการสีข้าวแบบใหม่ สีข้าวกันหน้างานแบบสดๆ และสามารถกำหนดระดับการขัดสีข้าวได้ตามความต้องการ เลือกระดับการสี ได้ 2 แบบ ได้แก่ สีแบบข้าวขาวหอมมะลิสีสด หรือ ข้าวกล้องหอมมะลิสีสด (มีจมูกข้าว-Germ Rice) ได้อีกด้วย และภายในปี 2557 นี้ ทางบริษัทฯ มีแผนการขยายสาขาที่จำหน่ายข้าวสีสดร่วมกับ Tops จำนวน 16 สาขา ได้แก่ ปิ่นเกล้า, พระราม 2, รัตนาธิเบศร์, บางนา, พระราม 3, แจ้งวัฒนะ, ลาดพร้าว, ชิดลม, พระราม 9, ราชพฤกษ์, สุขาภิบาล 3, ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต, บางรัก, พุทธมณฑล, แฟชั่นไอแลนด์ และบางแค เป็นต้น

   จากสภาวะแวดล้อมในปัจจุบัน คนไทยมีไลฟ์สไตล์ในการบริโภคอาหารเปลี่ยนแปลงไป บางกลุ่มต้องการรับประทานข้าวที่มีคุณภาพสูง ข้าวสีสด จึงออกมาตอบสนองผู้บริโภคกลุ่มนี้ และในอนาคตมั่นใจว่า คนไทยส่วนใหญ่จะเปลี่ยนจากการบริโภคข้าวสารธรรมดาทั่วไป หันมานิยมเลือกรับประทานข้าวสีสด ที่อุดมด้วยคุณค่า และความอร่อยที่แตกต่าง อย่างไม่เคยได้สัมผัส

   ทั้งหมดนี้ บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพข้าวไทยให้มีคุณภาพดีที่สุด ชาวนาสามารถจำหน่ายข้าวเปลือกได้ในราคาสูงขึ้น ซึ่งจะยังผลให้ชาวนาไทย มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ส่วนบริษัทฯ ก็มั่นใจในวัตถุดิบข้าวเปลือกที่ได้มา เพราะสามารถควบคุมทุกขั้นตอนของการผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำสำหรับผู้บริโภค ก็จะได้รับประทานข้าวคุณภาพสูง ที่มีความสดใหม่ มั่นใจในคุณภาพ ในทุกกระบวนการผลิตที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ หรือจะเรียกทุกกระบวนการนี้ได้ว่า From Farm To Table (ดูแลตั้งแต่ ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ) ยังประโยชน์ให้ทุกฝ่ายที่กล่าวมาแล้วอย่างยั่งยืน

 
 

บริษัท ข้าว ซี.พี.จำกัด
โรงงาน :279  หมู่9  ถนนลำปลายมาศ – บุรีรัมย์

ตำบลแสลงพัน   อำเภอลำปลายมาศ  

จังหวัดบุรีรัมย์  31130

 

 

ชื่อ – สกุล ………………………………รหัสสมาชิก…………………......

ที่อยู่เลขที่………หมู่ที่..........ชื่อหมู่บ้าน......................ตำบล.................

 

อำเภอ.........................จังหวัด.......................รหัสไปรษณีย์...................

 

เบอร์โทรศัพท์.................................

ส่วนที่ 1

 คำแนะนำขั้นตอนปฏิบัติในการปลูกข้าวหอมมะลิ 105 ตามหลัก GAP

 

         1.การคัดเลือกพื้นที่ปลูกข้าว

  - สภาพดินควรเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีค่า ( pH~ 5.5 – 6.5 )

  - ควรมีการตรวจวิเคราะห์ดินภายใน  3  ปี อย่างน้อย 1 ครั้ง เพื่อปรับการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสม

   - ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี  มีความบริสุทธิ์ตรงตามสายพันธุ์

  - มีอัตราความงอกไม่ต่ำกว่า  80  เปอร์เซนต์

  - อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสม

  1. นาหว่านข้าวแห้ง
  2. ไถพรวน ผาน 3-6  ให้ลึกประมาณ  15-20  CM เพื่อ กลบตอซัง พลิกดิน และกำจัด  

     วัชพืช หลังจากนั้นปล่อยทิ้งไว้ประมาณ  2  อาทิตย์  (2) หว่านเมล็ดข้าวในอัตรา 15-20  กก./ไร่  โดยหว่านให้สม่ำเสมอและกระจายทั่วทั้งแปลง        (3) ใช้โรตารี่ ปั่นตีดิน  ในสภาพดินแห้ง ลึกประมาณ  15   CM  เพื่อกลบเมล็ดข้าวที่หว่าน

    ไว้ให้ แน่นพอเหมาะ และกระจายตัวสม่ำเสมอ                                                                        

      หรือ ใช้รถไถเดินตาม ผาน 2   ไถกลบเมล็ดข้าวที่หว่านไว้ แล้วจึงใช้ คราดเกลี่ยดินเพื่อ

      ให้ได้ระดับเดียวกัน เหมาะสมต่อการงอกของข้าว

  1. นาปักดำมือ การเตรียมแปลงตกกล้า
  2.            (
  3.            (
  4.            (

  1.            (
  2.            (
  3.            (
  4.            (

       - ให้ใส่ก่อนไถพรวน ผาน 3-6  โดยใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ในอัตรา  40-50  กก./ไร่      

        - หรือใส่ปุ๋ยอินทรีย์ หมอดิน ในอัตรา  40  กก./ไร่

        - นาหว่านข้าวแห้ง ควรใส่ในช่วงที่ข้าวเริ่มแตกกอ ( ต้นเดือน ส.ค.) โดยใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-8

          ในอัตรา 20–25  กก./ไร่ สำหรับนาดินทราย หรือสูตร 16-20-0 ( นาดินเหนียว )

        - นาปักดำมือ  ให้ใส่หลังปักดำ  10-12  วัน หรือในช่วงที่ข้าวเริ่มแตกกอ  โดยใช้ปุ๋ยสูตร

          16-16-8  ในอัตรา 20–25  กก./ไร่ สำหรับนาดินทราย หรือสูตร 16-20-0 ( นาดินเหนียว )

        - ให้ใส่ปุ๋ยก่อนข้าวออกดอกประมาณ  30  วัน (ประมาณวันที่ 20  ก.ย. ของทุกปี) โดยใช้

           ปุ๋ยสูตร  46- 0- 0 ในอัตรา  5 –10   กก./ไร่

     หมายเหตุ   ทุกครั้งที่จะทำการใส่ปุ๋ย  ในแปลงนาต้องมีน้ำขังประมาณ   3 - 8  เซนติเมตร

                        เพื่อข้าวสามารถใช้ปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  1. สามารถแบ่ง ได้ดังนี้

              - ใช้สารเคมีประเภท ยาคุมหญ้าพ่นหลังหว่านข้าว 3-7  วัน โดยสารเคมีจะไปทำลาย

                 วัชพืชทางส่วนของเมล็ด ราก และยอดอ่อน ใต้ดิน สารกำจัดวัชพืช ประเภทนี้ได้แก่

                 บิวทาคลอร์ , เพรททิลาคลอร์ , อ๊อกซาไดอะซอน

           - ใช้สารเคมีประเภท ยาฆ่าหญ้าพ่นหลังจากวัชพืชงอกเกิน 10 วันขึ้นไป โดยพ่นให้

              สัมผัสส่วนของวัชพืชให้มากที่สุด สารกำจัดวัชพืชประเภทนี้ได้แก่ โปรปานิล

                 ฟิโนซาพรอบ-พี-เอทิล และ 2,4-ดี

              - ใช้แรงงานกำจัดวัชพืช  โดยกำจัดไม่ให้วัชพืชขึ้นรบกวนในช่วงวิกฤต ประมาณ 30  วัน

              หลังข้าวงอกหรือปักดำ

  1. ควรสำรวจต้นข้าวใน  2  ระยะ คือ

              - โดยตรวจดูลักษณะการแตกกอ , การชูใบ , ขนาดความสูงของใบ  หากพบ

                 ต้นผิดปกติให้ถอนทิ้งทันที

              - โดยตรวจดูความสูงของต้นข้าวในระยะออกดอก , การออกดอกก่อนหรือหลัง ,

                 ลักษณะของดอก สี ขนาดของเกสรตัวผู้  ถ้าพบต้นผิดปกติ ให้ตัดทิ้งทันที

  1. ได้แก่ โรคไหม้ , โรคขอบใบแห้ง , โรคใบจุดสีน้ำตาล

          วิธีการแก้ไข  

              - ไม่ใส่ปุ๋ย ไนโตรเจนในอัตราสูงเกินไป

              - หมั่นสำรวจแปลงนาเป็นประจำ เพื่อจะได้เห็นความผิดปกติของต้นข้าวได้เร็ว

              - ถ้าอาการของโรครุนแรง  ก็ให้ใช้สารเคมีในการพ่นกำจัด ตามคำแนะนำของ

                 เจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ

  

  1. ได้แก่ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล , หนอนกอ

          วิธีการแก้ไข

              - ไม่ใส่ปุ๋ย ไนโตรเจนในอัตราสูงเกินไป เพราะจะทำให้ใบข้าวงามเกินไป

              - หมั่นสำรวจแปลงนาเป็นประจำ เพื่อดูว่า พบแมลงดังกล่าว เริ่มเข้าทำลายเมื่อใด

                 เพื่อจะได้จัดการได้อย่างทันท่วงที

              - ถ้าพบ การระบาดรุนแรง  ก็ให้ใช้สารเคมีในการพ่นกำจัด ตามคำแนะนำของ

                 เจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ

        - บันทึกวันออกดอก ( เมื่อข้าวออกดอกร้อยละ 80  ของแปลง )

        - กำหนดวันเก็บเกี่ยว โดยนับจากวันออกดอกไปไม่น้อยกว่า 25  วัน และไม่เกิน  35  วัน

        - การเก็บเกี่ยวในช่วงเวลาที่เหมาะสม จะทำให้ได้น้ำหนักเมล็ดสูง เปอร์เซนต์ข้าวเต็มเมล็ด

           ดี และมีคุณภาพการสีดี

         - ก่อนทำการเก็บเกี่ยว ประมาณ 10  วัน ควรมีการระบายน้ำออกจากแปลงนา

           ( ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ )  เพื่อให้ข้าวสุกแก่พร้อมกัน

         - เก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องจักรที่เหมาะสม  จะทำให้ข้าวร่วงหล่นน้อย  โดยตรวจสอบประวัติ

            รถเกี่ยวก่อน  ถ้าเกี่ยวพันธุ์อื่นมา ให้ทำความสะอาดรถเกี่ยวเพื่อกำจัดพันธุ์อื่นที่ตกค้าง

            ให้หมดก่อน

         - เก็บเกี่ยวโดยใช้แรงงานคน   ต้องมีการวางแผนเรื่องแรงงานให้เหมาะสมกับปริมาณของ

            งาน   และควรเก็บเกี่ยวให้เสร็จภายในเวลาอันสั้น

              - เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวด้วยมือ แล้วให้ทำการรวบเป็นกำ ที่พอเหมาะ (ฟ่อน)

              - หลังจากนั้นทำการมัดฟ่อน  แล้วตากข้าวไว้ประมาณ 2-3 แดด โดยหมั่นกลับกองข้าว

                เพื่อให้ แห้งสม่ำเสมอ

              - เมื่อข้าวแห้งแล้ว  จึงนำไปกองรวมกันไว้ในที่ร่ม  รอการนวด

   - แนะนำให้นวดข้าวโดยใช้ เครื่องนวดข้าว เพราะสะดวกและรวดเร็ว ทันเวลา 

   - ก่อนนวดข้าว ต้องทำความสะอาดเครื่องนวดข้าวก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันพันธุ์ปน

    -ควรตากบนวัสดุที่สะอาดและแห้ง เช่น ผ้าใบ ผ้าตาข่าย  ไม่ควรตากกับพื้นซีเมนต์ที่ร้อนจัด

       โดยตรงเพราะจะทำให้เมล็ดข้าวแตกหักได้ง่าย

    - เกลี่ยข้าวให้มีความหนา ประมาณ   5 เซนติเมตร  ควรกลับข้าวทุกๆ  2- 4 ชั่วโมง และ

       ในช่วงเวลา กลางคืนให้โกยข้าวมากองรวมกัน  แล้วใช้ผ้าใบคุมเพื่อกันน้ำค้าง

    -ควรตากข้าวให้มีความชื้นเหลือ  ประมาณ 12 – 14 %

ส่วนที่ 2

     แบบบันทึกข้อมูล : ระบบการจัดการคุณภาพ

 

      

      1.ข้อมูลประวัติ

  1. ชื่อ – สกุล เกษตรกร………………………………………………………………

       ที่อยู่เลขที่………หมู่ที่..........ชื่อหมู่บ้าน...........................ตำบล......................

       อำเภอ.........................จังหวัด..............................รหัสไปรษณีย์.....................

       เบอร์โทรศัพท์.................................

  1. ที่ตั้งแปลงนา หมู่ที่…………ชื่อหมู่บ้าน...........................ตำบล........................

       อำเภอ.........................จังหวัด.........................…………………………………

           1.3     พื้นที่ทำนาทั้งหมด................ไร่ , พื้นที่เข้าร่วมโครงการ.....................ไร่

           1.4    แผนที่ตั้งแปลง   แสดงเส้นทางคมนาคม และสถานที่ใกล้เคียงเพื่อการเดินทางเข้า                

                     ไปยังแปลง

 
   

                                                                                                             ทิศเหนือ

       2.เมล็ดพันธุ์

ชื่อพันธุ์

 แหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์

วัน/เดือน/ปี

ที่ได้มา

  ปริมาณ

( กิโลกรัม)

  อัตราที่ใช้

  ( กก./ไร่ )

         
         

การปฏิบัติ

วัน / เดือน / ปี

พื้นที  ( ไร่ )

ข้อสังเกต

   -ปั่นโรตารี่

     
     

   -ไถกลบ+คราดเกลี่ยดิน

     
     

การปฏิบัติ

วัน / เดือน / ปี

พื้นที  ( ไร่ )

ข้อสังเกต

   -ไถพรวนผาน 3-6 ครั้งที่ 2

     
     

   -คราดเกลี่ยดินให้ละเอียด

     
       

   -ไถพรวนผาน 2

     

   -คราดเกลี่ยดินให้ละเอียด

     

การปฏิบัติ

วัน /เดือน /ปี

ข้อสังเกต

     
     

   -การตกกล้า

 

เมล็ดพันธุ์          กก./ไร่

 

   -การปักดำ

 

อายุกล้า            วัน

จำนวน.......ต้น/กอ

      

       5.การใส่ปุ๋ยที่เหมาะสม

รายการ

สูตรปุ๋ยที่ใช้

อัตราที่ใช้จริง

( กก./ไร่ )

     วันที่

 กำหนดไว้

วันที่

ใส่จริง

         

    -ใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 1

    -ใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 2

   

 5 -10 ส.ค.

 
   

     20 ก.ย.

 

    -ใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 1

    -ใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 2

   

 5 -10 ส.ค.

 
   

     20 ก.ย.

 

รายการ

ชื่อสามัญ

อัตราการใช้

แหล่งที่มา

       
       
       
       
       
       
       
       

 

การปฏิบัติ

วัน / เดือน / ปี

จำนวนข้าวปน

( ต้น / ไร่ )

ข้อสังเกต

       

   -ครั้งที่ 1

     

   -ครั้งที่ 2

     
       

   -ครั้งที่ 1

     

   -ครั้งที่ 2

     

รายการ

 วัน/เดือน/ปี

ข้อสังเกต

     
     
   

      เหลืองทั้งรวง       เหลือง3/4ของรวง

   

สภาพนา            แห้ง           ชื้น/น้ำขัง

   

         แดดจัด             แดดปานกลาง

         ครื้มฟ้าครื้มฝน            ฝนตก

   

ได้จำนวน................. กอง

   

สภาพเครื่อง            สะอาด

                           นวดพันธุ์เดียวกัน

                           นวดล้างเครื่องก่อน

           8.2 ใช้รถเกี่ยวนวดข้าว

รายการ

 วัน/เดือน/ปี

ข้อสังเกต

     
     
   

     เหลืองทั้งรวง        เหลือง3/4ของรวง

   

สภาพนา            แห้ง           ชื้น/น้ำขัง

   

         ทำความสะอาดก่อนเกี่ยว

         เกี่ยวนวดพันธุ์เดียวกัน

   

         เกี่ยวนวดรอบนอกออกก่อน

รายการ

 วัน/เดือน/ปี

ข้อสังเกต

        พื้นดิน         ซีเมนต์        ถนน

 

    

 ตากข้าวหนา......................เซนติเมตร

        ผ้าใบ          ตาข่าย / ผ้าลี่

           อื่นๆ

 

    

 
   

         แดดจัด             แดดปานกลาง

         ครื้มฟ้าครื้มฝน            ฝนตก

   

         จำนวนครั้ง......................ครั้ง

         ตากข้าว..........................วัน

                                                                                                                         ลงชื่อ...........................................................

                                                                                                                                     (.............................................)

                                                                                                                                                          ผู้บันทึก

ส่วนที่ 3

 ตารางเบิกปัจจัยการผลิต : โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวหอมมะลิ 105

 

         

รายการ

จำนวน

(กระสอบ)

ราคา/หน่วย

( บาท )

รวมเป็นเงิน

( บาท )

ลายมือชื่อ

เกษตรกร

วันที่

รับของ

           

    - พันธุ์มะลิ 105

         
           

    - สูตร 16-16-8

         
           

    - สูตร 46-46-0

         

รวม

         

ส่วนที่ 4

 ตารางบันทึก ต้นทุน – ค่าใช้จ่าย

 

  

รายการ

ค่าใช้จ่าย / ไร่

( บาท )

ค่าใช้จ่าย / แปลง

( บาท )

หมายเหตุ

 1. การเตรียมพื้นที่

     

    1.1 นาหว่าน 

      - ค่าไถพรวน ผาน 3-6

     

      - ค่าปั่นโรตารี่

     

      - ค่าไถกลบ ผาน 2 + ค่าคราดเกลี่ยดิน

     

    1.2 นาปักดำมือ

      - ค่าไถพรวน ผาน 3-6

     

      - ค่าไถพรวน ผาน 3-6 หรือ ผาน 2

     

      - ค่าคราดเกลี่ยดิน

     

      - ค่าเตรียมแปลงตกกล้า

     

 2. การปลูก

     

     - ค่าหว่าน

     

      - ค่าปักดำมือ

     

 3. ปัจจัยการผลิต

     

     - เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105

     

      - ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 1

     

      - ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 2

     

      - สารเคมีที่ใช้ 1................................

     

      - สารเคมีที่ใช้ 2...............................

     

   4. ค่าแรง

     

      - การหว่านปุ๋ย

     

      - การดูแลรักษา ( อื่นๆ )

     

   5. ค่าเก็บเกี่ยว + ค่าขนส่ง

     

รวมค่าใช้จ่ายลงทุน

     

เผยแพร่ข่าวในนาม บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด (ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าข้าวและเส้นตราฉัตร)

ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ กรุณาติดต่อ :

นางสาวศิริรัตน์  ทูลธรรม (เจ้าหน้าที่สื่อสารและประชาสัมพันธ์องค์กร) : โทร.092-426-5041

นางสาวกนกพร  ตรีสุคนธรัตน์ (ผู้จัดการแผนกสื่อสารและประชาสัมพันธ์องค์กร)

โทร :              0-2646-7162                                                                                                              

มือถือ :           081-256-0800                                                                                                                                                    

อีเมล์ :            kanokporn.tri@cpintertrade.com       

เว็บไซต์ :         www.cpthairice.com

Facebook :    www.facebook.com/KhaoTraChat

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!