WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

พูนพงษ์ นัยนาภากรณ์

สนค.เผยเทรดวอร์ ทำจีนเสียแชมป์แหล่งนำเข้าของสหรัฐฯ ไทยรุ่ง ส่งสินค้าไปขายแทนได้เพิ่ม

สนค.วิเคราะห์ผลความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ทั้งสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ความขัดแย้งในยูเครน ทำให้จีนเสียตำแหน่งแหล่งนำเข้าเบอร์ 1 ที่ครองมา 10 ปี ในตลาดสหรัฐฯ ให้กับเม็กซิโก ส่วนสินค้าสหรัฐฯ มีส่วนแบ่งในตลาดจีนลดลง สหภาพยุโรป นำเข้าจากรัสเซียลด นำเข้าจากจีนลด

แต่นำเข้าจากสหรัฐฯ เพิ่ม ด้านไทยได้ประโยชน์ส่งออกสินค้าไปขายทดแทนได้เพิ่มขึ้น ทั้งตลาดสหรัฐฯ และจีน แนะจับตาปัญหาทะเลแดง ความไม่สงบอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ภัยแล้ง เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวช้า เหตุกระทบต่อการค้าไทยได้

    นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สนค.ได้ติดตามประเด็นความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ พบว่า ส่งผลต่อการค้าโลก โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และจีน ตั้งแต่สงครามการค้า สงครามเทคโนโลยี ไปจนถึงความพยายามในการแบ่งแยกห่วงโซ่อุปทาน และสถานการณ์ความขัดแย้งในยูเครนที่เป็นตัวเร่งการแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจการค้าให้ชัดเจนขึ้น

            โดยในปี 2566 ทำให้จีนเสียตำแหน่งแหล่งนำเข้าอันดับ 1 ต่อเนื่อง 14 ปี ในตลาดสหรัฐฯ ให้แก่เม็กซิโก โดยส่วนแบ่งตลาดของจีนในตลาดสหรัฐฯ ลดลงถึง 7.7% ในช่วงการเกิดสงครามการค้า (ปี 2560-66) ในขณะที่ยังครองตำแหน่งแหล่งนำเข้าอันดับ 1 ในตลาดสหภาพยุโรปต่อเนื่อง 17 ปี แต่สัดส่วนของสินค้าจีนในตลาดสหภาพยุโรปลดลง 2% เหลือเพียง 20.4% จากระดับสูงสุดที่ 22.4% ในปี 2563 สำหรับสินค้าสหรัฐฯ ในตลาดจีน สัดส่วนลดลงถึง 1.9% ในช่วงการเกิดสงครามการค้า

         ทั้งนี้ เมื่อพิจารณารายละเอียดเจาะลึกเป็นรายตลาดตั้งแต่เกิดสงครามการค้า พบว่า ในตลาดสหรัฐฯ มูลค่าการนำเข้าจากจีนลดลงเฉลี่ย 2.8% และสัดส่วนสินค้าลดลง 7.7% จากระดับ 21.6% ในปี 2560 มาอยู่ที่ 13.9% (มีมูลค่า 427,229 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในปี 2566 ขณะที่มีการนำเข้าสินค้าจากภายในภูมิภาคอเมริกาเหนือเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยขยายตัวเฉลี่ย 6.6% ต่อปี ในช่วงปี 2560-2566

      โดยมูลค่านำเข้าจากเม็กซิโกและแคนาดาขยายตัวเฉลี่ย 7.2% และ 5.9% ตามลำดับ อีกทั้งสัดส่วนสินค้าจากเม็กซิโกเพิ่มขึ้น 2.1% แตะระดับ 15.4% (มีมูลค่า 475,607 ล้านเหรียญสหรัฐ) และสัดส่วนสินค้าจากแคนาดาเพิ่มขึ้น 0.9% ที่ระดับ 13.7% (มีมูลค่า 421,096 ล้านเหรียญสหรัฐ) และยังมีการนำเข้าสินค้าจากอาเซียนเพิ่มขึ้น ได้แก่ เวียดนาม สิงคโปร์ ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ขยายตัวเฉลี่ย 16.2% 13.0% 10.4% 4.8% และ 3.6% ตามลำดับ 

         สำหรับ ตลาดจีน แม้การนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ สูงกว่าก่อนเกิดสงครามการค้า แต่อัตราการขยายตัวเฉลี่ยต่ำที่ระดับ 1.8% โดยมูลค่าการนำเข้าเฉลี่ยของจีนในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 6.2% และส่วนแบ่งตลาดของสหรัฐฯ ลดลง 1.9% มาอยู่ที่ระดับ 6.5% (มีมูลค่า 166,085 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในปี 2566

      ขณะที่มีการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นจากสวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รัสเซีย แคนาดา และบราซิล โดยขยายตัวเฉลี่ย 33.1% 21.7% 20.9% 14.3% และ 13.2% และยังมีการนำเข้าสินค้าจากอาเซียนเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย ไทย และสิงคโปร์ โดยขยายตัวเฉลี่ย 17.4% 14.8% 11.2% 3.4% และ 1.1% ตามลำดับ

         ส่วนตลาดสหภาพยุโรป แม้จะไม่เห็นผลกระทบจากสงครามการค้าอย่างชัดเจน แต่พบว่าได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งในยูเครน โดยสัดส่วนการนำเข้าจากรัสเซียลดลง 5.1% จากระดับ 6.9% ในปี 2564 มาอยู่ที่ 1.8% (มีมูลค่า 47,998 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในปี 2566

      อีกทั้ง สัดส่วนการนำเข้าจากจีนลดลง 1.8% มาอยู่ที่ระดับ 20.4% ในช่วงเวลาเดียวกัน (มีมูลค่า 555,426 ล้านเหรียญสหรัฐ) ขณะที่สัดส่วนการนำเข้าจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึง 2.6% มาอยู่ที่ระดับ 13.5% (มีมูลค่า 366,392 ล้านเหรียญสหรัฐ)

     ขณะที่ไทย ถือเป็นประเทศหนึ่งที่ได้ประโยชน์จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จากการขยายตัวของการส่งออก ทั้งในตลาดสหรัฐฯ และจีน รวมถึงการขยายตัวของสินค้าเกษตรและอาหารตามมาตรการรักษาความมั่นคงทางอาหารของประเทศคู่ค้า โดยในปี 2566 แม้มูลค่าการนำเข้าในตลาดส่งออกหลักของไทยอย่างสหรัฐฯ จีน สหภาพยุโรป คิดเป็นสัดส่วนราว 37% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยในปี 2566 จะหดตัวที่ 4.9% 5.6% และ 14% ตามลำดับ แต่ภาพรวมหลายสินค้าของไทย สามารถส่งออกไปทดแทนสินค้าของสหรัฐฯ และจีน ที่มีปัญหาระหว่างกันได้เพิ่มขึ้น

       “จากนี้ ยังคงต้องติดตามความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานโลกและต้นทุนสินค้า โดยเฉพาะความตึงเครียดในทะเลแดงที่ยังไม่มีท่าทีจะจบลง ทำให้ต้องจับตาอย่างใกล้ชิดว่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออก นำเข้า ของไทยอย่างไร รวมถึงดำเนินการเชิงรุกในการรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

    โดย สนค. ได้ติดตามสถานการณ์ความไม่สงบอิสราเอล-ปาเลสไตน์ อย่างใกล้ชิดในทุกวัน และยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ ผลกระทบจากภัยแล้งในหลายพื้นที่ทั่วโลก และเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการค้าไทยในระยะข้างหน้า”นายพูนพงษ์กล่าว

 

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!