WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

แผงวงจรพิมพ์

พาณิชย์ แนะผู้ผลิตแผงวงจรพิมพ์ คุมก๊าซเรือนกระจก ทำธุรกิจยั่งยืน รับเทรนด์สีเขียว

สนค.ติดตามแนวโน้มสถานการณ์ตลาด ‘แผงวงจรพิมพ์ (PCB)’ พบมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง จากความต้องการใช้ในอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยเฉพาะยานยนต์ไฟฟ้า เผยไทยเป็นประเทศเป้าหมายในการย้ายฐานการผลิต เหตุมีความพร้อมทั้งการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ ค่าแรงมีประสิทธิภาพ โครงสร้างพื้นฐานพร้อม แต่มาพร้อมการคุมเข้มปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการทำธุรกิจยั่งยืนตามกรอบ ESG แนะต้องปรับตัว รับเทรนด์กติกาโลก ป้องกันหลุดการเป็นซัปพลายเออร์ให้บริษัทชั้นนำ

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดแผงวงจรพิมพ์ (PCB) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเครื่องใช้ไฟฟ้า มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานต่างๆ ของอุปกรณ์ไฟฟ้า มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีข้อมูลจาก Precedence Research ผู้ให้บริการชั้นนำด้านข้อมูลตลาดเชิงลึก ระบุว่า ในปี 2023 อุตสาหกรรมแผงวงจรพิมพ์ทั่วโลกมีมูลค่า 868,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

และคาดการณ์ว่าจะเติบโตต่อเนื่อง 5.8% ต่อปี จนมีมูลค่า 1,525,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2033 จากอุปสงค์ยานยนต์ไฟฟ้าทั้งรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (HEV) และรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) ที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะแผงวงจรพิมพ์ถือเป็นชิ้นส่วนสำคัญที่ควบคุมระบบการทำงานต่างๆ ในยานยนต์ไฟฟ้า

 ทั้งนี้ ในส่วนของไทย พบว่า เป็นประเทศเป้าหมายในการย้ายฐานการผลิตของผู้ผลิต PCB ระดับโลก เพราะปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ทำให้กลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลายเป็นฐานการผลิตใหม่ และไทยยังมีความพร้อมในหลายด้าน

อาทิ ภูมิรัฐศาสตร์ของไทยเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค ต้นทุนการผลิตที่ต่ำและค่าแรงที่ไม่สูงมาก แรงงานในอุตสาหกรรมที่มีประสบการณ์มากกว่า 50 ปี โครงสร้างพื้นฐานที่มีความพร้อม ทั้งการคมนาคมและโทรคมนาคม ซึ่งในปัจจุบันมีบริษัทชั้นนำมากกว่า 20 บริษัท ได้ประกาศแผนการลงทุนการผลิตในเมืองไทย

      อย่างไรก็ตาม การย้ายฐานการผลิต PCB มาที่อาเซียนและไทย ไม่ได้นำพาแค่โอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไทย ในการเข้าเป็นซัปพลายเออร์ให้กับบริษัทผู้ผลิตระดับโลก แต่ยังมาพร้อมกับการบังคับใช้ข้อกำหนดและมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ที่ถือเป็นความท้าทายใหม่ของภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย เนื่องจากกระแสสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในฝั่งผู้บริโภค เช่น การแยกขยะและการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากสีเขียวต่าง ๆ แต่ยังขยายวงกว้างไปสู่ภาคการเงินและภาคธุรกิจ เห็นได้จากมูลค่าหุ้นของบริษัทที่ประกอบธุรกิจอย่างยั่งยืนตามหลักของ ESG ได้รับความสนใจจากนักลงทุน และสถาบันการเงินเป็นอย่างมาก

       โดยในส่วนของบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำของโลก เช่น Apple , Microsoft และ NVIDIA ได้ออกข้อบังคับสำหรับการตรวจสอบการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการลดการใช้พลังงานในการผลิต ที่จะบังคับใช้กับทุกบริษัทที่เกี่ยวข้องในทุกจุดของขั้นตอนการผลิต ส่งผลให้ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าในช่วงปี 2025–2030 บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่สามารถทำตามหลักของ ESG และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ จะโดนตัดออกจากเครือข่ายซัปพลายเออร์ 

     “ผู้ประกอบการแผงวงจรพิมพ์ไทย ควรให้ความสำคัญกับการศึกษากฎระเบียบ ข้อกำหนด และมาตรการเหล่านี้ เพื่อปรับเปลี่ยนการทำธุรกิจให้สอดคล้องกับหลักของ ESG ซึ่งเป็นมาตรฐานสำคัญของโลกในยุคนี้ เพื่อเสริมสร้างความน่าเชื่อถือของบริษัท และสร้างโอกาสในการเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายซัปพลายเออร์ของบริษัทอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ระดับโลก โดยหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนสามารถบูรณาการความร่วมมือกัน ทั้งด้านการสนับสนุนข้อมูลและการให้ความรู้ผู้ประกอบการเกี่ยวกับข้อกำหนดมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อรักษาความเป็นผู้นำในการเป็นฐานการผลิตแผงวงจรพิมพ์ในภูมิภาคอาเซียน”นายพูนพงษ์กล่าว

      ปัจจุบัน ส่วนแบ่งตลาดแผงวงจรพิมพ์โลกแบ่งตามภูมิภาค 3 อันดับแรก ได้แก่ เอเชียแปซิฟิก มีสัดส่วน 47.14% รองลงมา อเมริกาเหนือ สัดส่วน 27.14% และยุโรป สัดส่วน 18.2% ส่วนด้านการผลิต ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นแหล่งผลิตหลัก คิดเป็นสัดส่วนกว่า 90% ของจำนวนแผงวงจรพิมพ์ทั้งหมดในโลก

      โดยมีผู้ผลิตแผงวงจรพิมพ์รายใหญ่ อาทิ ไต้หวัน จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ โดยไต้หวัน ถือเป็นผู้ผลิตแผงวงจรพิมพ์อันดับหนึ่งของโลก มีความพร้อมในด้านเทคโนโลยีและกำลังการผลิตมากที่สุด สำหรับไทย ในปี 2023 มีมูลค่าการส่งออกแผงวงจรพิมพ์ 9,700 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.3% โดยส่งออกไปที่ฮ่องกง มากที่สุด มูลค่า 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ

      ขณะที่ไทยนำเข้าชิ้นส่วนเพื่อมาประกอบในประเทศจาก ไต้หวัน มากที่สุด มูลค่า 7,300 ล้านเหรียญสหรัฐ และจากข้อมูลของสมาคมแผงวงจรไต้หวัน (TPCA) พบว่า ในปี 2023 ไทยมีการผลิตแผงวงจรพิมพ์ คิดเป็นสัดส่วน 3.8% ของกำลังการผลิตรวมของโลก คาดการณ์ว่า สัดส่วนจะเติบโตขึ้นเป็น 4.7% ในปี 2025 จากการลงทุนของผู้ผลิตแผงวงจรพิมพ์ระดับโลก

 

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!