WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1วิศักดิ์ วัฒนศัพท์

กบน.ตรึงราคาดีเซลลิตรละ 35 บาทต่อ บัญชีน้ำมันติดลบ 78,301 ล้านบาท ก๊าซ LPG ติดลบ 41,463 ล้านบาท

     ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) เพื่อทบทวนสถานการณ์ราคาน้ำมันประจำสัปดาห์สุดท้ายของเดือนสิงหาคม 2565 ยังคงมีมติตรึงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไว้ที่ลิตรละ 35 บาท โดยฐานะกองทุนน้ำมันติดลบ 1.19 แสนล้านบาท

     นายวิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) ได้พิจารณาทบทวนราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลประจำสัปดาห์ โดยมีมติให้คงราคาน้ำดีเซลไว้ที่ลิตรละ 34.94 บาท เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบด้านค่าครองชีพของประชาชนถึงแม้ราคาน้ำมันยังคงผันผวนปรับตัวเพิ่มขึ้น ราคาน้ำมันดีเซล (GAS OIL) วันนี้ (30 สิงหาคม 2565) ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 145.48 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล หรือเพิ่มขึ้น 10.75 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลจากสัปดาห์ก่อนหน้า (19 สิงหาคม 2565) ซึ่งราคาดีเซลอยู่ที่ 134.73 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล

     ปัจจัยหลักที่ทำให้ราคาน้ำมันผันผวน มาจากทั้งด้านกลุ่มประเทศโอเปกพลัส ที่อาจจะปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันได้ทุกเวลาเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่ท้าทาย ส่วนทางกลุ่มประเทศยุโรป มีความกังวลจากสถานการณ์ด้าน Supply ก๊าซธรรมชาติตึงตัวหลังจากบริษัท Gazprom ของรัสเซียยังคงหยุดส่งออกก๊าซธรรมชาติไปยังประเทศในยุโรปส่งผลให้ราคาก๊าซในยุโรปปรับตัวสูงขึ้นมาก ทำให้ผู้บริโภคหันมาใช้น้ำมันแทนก๊าซธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น

     นอกจากนี้ ด้านสหรัฐฯ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจจะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน รวมทั้งสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) ประกาศตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ที่ผ่านมา ปรับลดลง 3.3 ล้านบาร์เรล สู่ระดับที่ 421.7 ล้านบาร์เรล

     อย่างไรก็ดี ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565 ได้วางมาตรการอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลร้อยละ 50 ในส่วนที่ราคาขายสูงกว่าลิตรละ 35 บาทเป็นเวลา 3 เดือน (กรกฎาคม - กันยายน 2565) แต่มาตรการดังกล่าวยังไม่ได้นำมาปรับใช้แต่อย่างใด เนื่องจากต้องการบรรเทาผลกระทบให้ประชาชน ซึ่งปัจจุบันราคาน้ำมันดีเซลที่แท้จริงยังคงสูงกว่าราคาขายปลีกในประเทศที่ลิตรละ 35 บาท

     สำหรับ  ประมาณการฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงปัจจุบัน วันที่ 28 สิงหาคม 2565 ติดลบ 119,764 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นบัญชีน้ำมันติดลบ 78,301 ล้านบาท และบัญชีก๊าซ LPG ติดลบ 41,463 ล้านบาท

 

มติ กบง. ช่วยเหลือราคาค่าก๊าซหุงต้ม - ค่าไฟฟ้า บรรเทาผลกระทบประชาชน

     ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 65 ได้มีการพิจารณา ขยายระยะเวลามาตรการบรรเทาผลกระทบด้านราคา LPG โดยมีโครงการยกระดับความช่วยเหลือส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มแก่ผู้มีรายได้น้อย ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จาก 45 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน เพิ่มขึ้นอีก 55 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน เป็น 100 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน ซึ่งเดิมมีกำหนดสิ้นสุดโครงการฯ วันที่ 30 ก.ย. 65 แต่เนื่องจากราคา LPG ยังคงอยู่ในระดับที่สูง

     ที่ประชุม กบง. จึงมีมติเห็นชอบการขยายระยะเวลาโครงการฯ อีกประมาณ 3 เดือนโดยจะเริ่มประมาณกลางเดือนต.ค. ถึง ธ.ค. 65 โดยมอบหมายให้ กรมธุรกิจพลังงานนำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการเกี่ยวกับการขยายระยะเวลาโครงการฯ และจัดทำคำขอรับงบประมาณเพื่อใช้สำหรับดำเนินโครงการฯ เสนอสำนักงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป

     นอกจากนี้ จากสถานการณ์ราคาพลังงานโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าของไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทรวงพลังงานเห็นถึงความสำคัญที่จะต้องช่วยเหลือค่าไฟฟ้าเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนอย่างเร่งด่วน จึงได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบแนวทางช่วยเหลือกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัย ดังนี้

 1. กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน ให้ส่วนลดค่าไฟฟ้าจำนวน 92.04 สตางค์ต่อหน่วย เป็นเวลา 4 เดือน ตั้งแต่เดือน ก.ย. - ธ.ค. 65 (ประกอบด้วยส่วนลดจากการเพิ่มขึ้นของค่า Ft เดือน พ.ค. - ส.ค. 65 จำนวน 23.38 สตางค์ต่อหน่วย และส่วนลดจากการเพิ่มขึ้นของค่า Ft เดือน ก.ย. - ธ.ค. 65 จำนวน 68.66 สตางค์ต่อหน่วย)

     2. กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้าระหว่าง 301-500 หน่วยต่อเดือน ให้ส่วนลดจากการเพิ่มขึ้นของค่า Ft เดือน ก.ย. - ธ.ค. 65 แบบขั้นบันได ในอัตราร้อยละ 15 -75

     ทั้งนี้ การดำเนินมาตรการตามแนวทางช่วยเหลือทั้ง 2 กลุ่ม ซึ่งเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ของ กฟน. และ กฟภ. จะครอบคลุมผู้ใช้ไฟฟ้าประมาณร้อยละ 80 ของผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศ หรือคิดเป็นร้อยละ 89 ของผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย

     นอกจากนี้ จะดำเนินการให้ครอบคลุมบ้านที่อยู่อาศัยที่เป็นผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยของ กฟผ. และผู้ใช้ไฟฟ้าของกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้งบประมาณรวม 2,000 ล้านบาทต่อเดือน หรือประมาณ 8,000 ล้านบาทสำหรับ 4 เดือน โดย กบง. มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอรับสนับสนุนแหล่งงบประมาณในการดำเนินมาตรการดังกล่าวตามความเหมาะสมต่อไป.

 

Click Donate Support Web  

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!