WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

4105 WCF Jirasak

ขายฝากกับจำนองต่างกันอย่างไร แบบไหนเหมาะกับใคร

          คนจำนวนไม่น้อยสับสนระหว่างคำว่าขายฝากกับจำนองด้วยลักษณะธุรกรรมที่มีความคล้ายคลึงกัน โดยเป็นการนำเอาทรัพย์สินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโด ที่ดิน และสังหาริมทรัพย์ เช่น รถยนต์ ไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อแลกกับเงินก้อน อย่างไรก็ตาม ระหว่างสองสิ่งนี้ยังมีความแตกต่างที่คนทำธุรกรรมควรทำความเข้าใจก่อนทำสัญญา

          สำหรับการขายฝาก คือ การที่ผู้ขาย” (ผู้ขายฝาก) โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินของตัวเองให้แก่ผู้ซื้อ” (ผู้ซื้อฝาก) โดยมีข้อตกลงกันว่า ผู้ขายสามารถไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ตามเวลาที่กำหนด ดังนั้น ข้อพึงระวังที่คนทำธุรกรรมต้องเข้าใจ คือ ทรัพย์สินที่ขายฝากจะตกเป็นของผู้ซื้อทันทีที่ทำสัญญา

          นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ต้องระวัง คือสินไถ่หรือเงินที่ผู้ขายฝากจะต้องจ่ายให้กับผู้ซื้อฝากเมื่อครบกำหนดไถ่ทรัพย์สินคืน เพื่อเป็นผลตอบแทนให้กับผู้ซื้อฝาก หากไม่ได้ตกลงกันไว้ตั้งแต่ก่อนทำธุรกรรม กฎหมายกำหนดให้ไถ่คืนตามราคาที่ขายฝาก

          แต่หากราคาขายฝากหรือสินไถ่ที่กำหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงหรือจำนวนเงินที่ผู้ขายฝากรับไว้จริงจากผู้ซื้อฝากเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี กฎหมายกำหนดให้ไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริง รวมผลประโยชน์ตอบแทนไม่เกิน 15% ต่อปี

          อีกหนึ่งข้อที่ควรระวัง คือ การขายฝากที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม หรือที่อยู่อาศัย จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ที่กรมที่ดินเท่านั้น รวมถึงห้ามกำหนดสินไถ่เกินกว่าราคาขายฝาก บวกกับผลประโยชน์ตอบแทนไม่เกิน 15% ต่อปีของราคาขายฝาก

          สำหรับการจำนอง คือ การที่ผู้จำนองเอาทรัพย์สินไปตราโดยไม่ส่งมอบให้กับผู้รับจำนองเพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ โดยการจำนองทุกครั้งจะต้องทำสัญญาจำนองและจะต้องนำสัญญาดังกล่าวไปจดทะเบียนต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ หากไม่จดทะเบียนตามที่กฎหมายจะถือว่าการจำนองนั้นเป็นโมฆะ

          ในกรณีที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนจำนองที่สำนักงานที่ดินในเขตที่รับผิดชอบ ส่วนสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนไว้จะต้องไปจดทะเบียนจำนองที่สำนักทะเบียนของสังหาริมทรัพย์ชนิดนั้นๆ

          จุดที่แตกต่างกับการขายฝาก คือ ผู้จำนองจะไม่ส่งมอบทรัพย์สินให้กับผู้จำนอง และยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่จำนอง ดังนั้น เมื่อถึงกำหนดแล้วผู้จำนองไม่มาชำระหนี้ตามสัญญา ผู้รับจำนองจะต้องฟ้องร้องต่อศาลเพื่อบังคับจำนอง ก่อนนำทรัพย์สินไปขายทอดตลาดต่อไป

          อย่างไรก็ตาม การจำนองทรัพย์สินก็มีสิ่งที่คนทำธุรกรรมต้องพึงระวัง เช่น การมอบหมายให้บุคคลอื่นทำธุรกรรมจำนองแทน จะต้องเขียนใบมอบฉันทะหรือใบมอบอำนาจให้ชัดเจน ส่วนผู้รับจำนองก็มีข้อที่ต้องระวังเช่นกัน เช่น ทรัพย์สินที่นำมาจำนองอาจถูกนำไปจำนองซ้ำ หรือถูกนำไปโอนขาย เป็นต้น ซึ่งในกรณีนี้ เจ้าหนี้คนแรกมีสิทธิได้รับการชำระหนี้ก่อน ส่วนเจ้าหนี้คนหลังมีสิทธิได้ชำระหนี้เฉพาะส่วนที่เหลือ

          นอกจากนี้ คนที่ซื้อทรัพย์สินที่จำนองก็มีจุดที่ต้องระวัง เพราะการรับโอนทรัพย์สินที่ติดจำนอง จะต้องไถ่ถอนจำนอง หรือชำระหนี้ให้แก่เจ้านี้ ไม่เช่นนั้นเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับจำนอง ยึดทรัพย์ และนำทรัพย์สินนั้นขายทอดตลาดได้ต่อไป

          สำหรับคนที่ต้องการสภาพคล่อง แต่ยังไม่แน่ใจว่าการขายฝากหรือการจำนอง แบบไหนจะเหมาะกับความต้องการใช้เงินและสินทรัพย์ที่มี สามารถขอคำปรึกษาได้ที่เครดิตฟองซิเอร์ เวิลด์ ซึ่งมีบริการกู้ยืมสินเชื่อทั้งแบบขายฝากและจำนอง สำหรับรายละเอียด โทร. 02-678-3900 หรือแอดไลน์ : @worldcreditfoncier (มี @ นำหน้า)

 

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด

 

A11860

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!