WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BTSสรพงษ เลาหะอญญายักษ์ใหญ่จับกลุ่มชิงรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน BTS-STEC-RATCH ทาบ PTT ร่วม,CK เจรจาพันธมิตรไทย-ตปท.

        นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) บริษัทย่อยของ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) เปิดเผยกับ"อินโฟเควสท์"ว่า กลุ่ม BSR ประกอบด้วย BTS (ถือหุ้นใหญ่ 75%) บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC) และบมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH) จะเข้าประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา)

       พร้อมกันนั้น กลุ่ม BSR ยังเจรจากับ บมจ.ปตท. (PTT) เพื่อให้เข้ามาร่วม เนื่องจาก ปตท.มีความชำนาญในพื้นที่ภาคตะวันออก และมีบุคคลากรที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะด้านวิศวกร อีกทั้งยังได้เจรจากับบริษัททั้งไทย และต่างประเทศมากกว่า 2 ราย ให้เข้ามาเป็นพันธมิตรร่วมประมูลโครงการนี้ เนื่องจากใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง

       อย่างไรก็ตาม คงต้องรอดูเงื่อนไขการเข้าประมูล (TOR) เสียก่อน และน่าจะเจรจาเสร็จเร็วก่อนที่จะยื่นเอกสารเข้าร่วมประมูล คาดว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะเปิดขายเอกสารประกวดราคาในเดือน พ.ค.นี้

       "เรากำลังคุยกับ ปตท.ซึ่งเขาก็ยังไม่ตกลง ปตท.เขาก็เป็นเจ้าพ่อภาคตะวันออกอยู่แล้ว และยังคุยกับหลายรายทั้งไทยและต่างประเทศ ส่วนที่ใครจะเป็น lead ก็ต้องมา TOR ซึ่งจะกำหนดเงื่อนไขเอาไว้ ยังบอกไม่ได้ว่าใครเป็น Lead ถ้า ปตท.เข้ามาร่วมเขาก็เป็นบริษัทใหญ่"นายสุรพงษ์ กล่าว

       ด้านแหล่งข่าวจากกลุ่ม บมจ.ช.การช่าง (CK) กล่าวว่า ทางกลุ่ม CK ซึ่งมี บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เป็นธุรกิจเดินรถไฟฟ้า จะเข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา) แต่เนื่องจากแพกเกจการประมูลในโครงการนี้มีทั้งเรื่องการเดินรถ งานก่อสร้างและการบริหารที่ดินซึ่งคงยากที่จะมีผู้ประกอบการรายเดียวทำได้เองหมด ประกอบกับต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องมีพันธมิตรเข้ามาร่วมมือด้วยกัน ซึ่งทางกลุ่ม CK ได้เจรจากับบริษัทพันธมิตรทั้งไทยและต่างชาติ

       อย่างไรก็ตาม ต้องเห็น TOR ออกมาเสียก่อนว่ารายละเอียดกำหนดอย่างไรบ้าง และคาดว่าคงใช้เวลาราว 1-2 เดือนที่จะรวมกลุ่มเข้ายื่นประมูล หรือพิจารณาดูว่าจะเข้าหรือไม่เข้าร่วมประมูลโครงการนี้หรือไม่

        อนึ่ง คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินนานาชาติ (สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม.ซึ่งถือเป็นแฟลกชิพของโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งจะทำให้ภาพลักษณ์ของ EEC เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดย ครม.อนุมัติให้เปิดการประมูลแบบ PPP Net Cost โดยอนุมัติกรอบวงเงินที่รัฐร่วมลงทุนกับเอกชนในโครงการดังกล่าวไม่เกิน 119,425.75 ล้านบาท

รฟท.คาดเปิดขายซองรถไฟเชื่อม 3 สนามบินกลาง พ.ค.,วงการเผยยักษ์ใหญ่สนใจทั้ง ซีพี-PTT-BTS-CK

        นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รักษาการผู้ว่าการ การรถไฟแห่ฝประเทศไทย (รฟท.) คาดว่า รฟท.จะเปิดขายเอกสารโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สุวรรณภูมิ – ดอนเมือง – อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. มูลค่าเกือบ 2 แสนล้านบาทได้ในสัปดาห์ที่ 2 ของเดือน พ.ค.61 โดยระหว่างนี้รอการแก้ไขรายละเอียดของร่าง TOR เพื่อต้องการให้เปิดกว้างให้มีผู้เข้ามมาร่วมประมูลมากราย และจะเป็นการเชิญชวนระดับนานาชาติ

      ด้านแหล่งข่าวจากวงการผู้รับเหมาก่อสร้าง กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้ประกอบการไทยรายใหญ่ให้ความสนใจเข้าร่วมประมูลโครงการดังกล่าวหลายราย ได้แก่ เครือซีพี บมจ.ปตท (PTT) บมจ.บีทีเอสโฮลดิ้งส์ กรุ๊ป (BTS) กลุ่มบมจ.ช.การช่าง (CK) ที่มี บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) อยู่ในเครือ

       ขณะที่นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมต์(ITD) กล่าวว่า โครงการนี้เป็นลักษณะ PPP ซึ่งต้องใช้วงเงินลงทุนสูง ขณะที่บริษัทมีความพร้อมด้านงานก่อสร้าง ออกแบบ และสามารถจัดหาผู้เดินรถให้พร้อมที่สามารถเดินรถได้ในต้นทุนต่ำ โดยได้เข้านำเสนอไปยังเครือซีพี และ ปตท.แล้ว

บอร์ด PTT ให้เข้าซื้อซองรถไฟเชื่อม 3 สนามบินศึกษาความเป็นไปได้ แต่ยังไม่มีแผนร่วมมือพันธมิตรเข้าประมูล

       นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานกรรมการ บมจ.ปตท. (PTT) เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริษัทอนุมัติให้กลุ่ม ปตท.เข้าซื้อเอกสาร

      เชิญชวนประมูล (TOR) ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา) เพื่อนำมาศึกษาความเป็นไปได้การลงทุน เนื่องจากเห็นว่าเป็นโครงการที่น่าสนใจ แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจที่จะลงทุน และยังไม่มีการพิจารณาที่จะร่วมกับพันธมิตรรายใดในการเข้ายื่นประมูล

       "ให้ไปซื้อ TOR เพื่อมาศึกษาความเป็นไปได้ เพราะเป็นอะไรที่น่าสนใจ แต่ยังไม่มีเรื่องการร่วมทุนกับใคร เรื่องนี้ยังห่างไกล"นายปิยสวัสดิ์ กล่าว

       อนึ่ง PTT อยู่ระหว่างมองหาธุรกิจใหม่ ๆ ในห่วงโซ่ธุรกิจไฟฟ้า (Electricity Value Chain) รองรับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค ทั้งในเรื่องการผลิตไฟฟ้า ระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) สถานีอัดประจุไฟฟ้า (EV) หรือ EV Charge ตลอดจนยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น

       สำหรับ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สุวรรภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กิโลเมตร (กม.) มูลค่าราว 2 แสนล้านบาท คาดว่าการจัดทำ TOR จะแล้วเสร็จเร็ว ๆ นี้ ก่อนเปิดให้เอกชนยื่นความจำนง และคาดว่าจะสามารถคัดเลือกบริษัทผู้ได้รับการประมูลได้ในราวเดือน พ.ย.61 ขณะที่กำหนดโครงการแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี 66

        นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและวิศวกรรม และว่าที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ PTT กล่าวว่า คณะกรรมการ ปตท.อนุมัติให้ซื้อ TOR ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจลงทุน หรือร่วมทุนกับพันธมิตรรายใดในโครงการดังกล่าว ซึ่งหลังจากศึกษาแล้วหากมีการตัดสินใจอย่างไรก็จะเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทและแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯต่อไป

PTT แจงให้เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์-GPSC เข้าซื้อซองประมูลรถไฟเชื่อม 3 สนามบินเพื่อศึกษาความเป็นไปได้

     นายประเสริฐ สลิลอำไพ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารชื่อเสียงองค์กรและกิจการเพื่อสังคม บมจ.ปตท. (PTT) เปิดเผยว่า ตามที่ คณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติให้ ปตท. เข้าซื้อเอกสารเชิญชวนประมูล (ทีโออาร์) ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสนามบินทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง และ อู่ตะเภา นั้น เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน เนื่องจากโครงการดังกล่าวมีความน่าสนใจ แต่ขณะนี้ยังไม่มีการพิจารณาร่วมลงทุนกับพันธมิตรอื่นๆ แต่อย่างใด

       ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมอบหมายให้บริษัทในกลุ่มที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับโครงการนี้ 2 บริษัท คือ บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ และ บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC) ซึ่งดำเนินธุรกิจด้านผลิตไฟฟ้า ร่วมซื้อซองประมูลเพื่อนำมาศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนด้านที่เกี่ยวข้อง

        อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการบริษัทยังมีความเห็นว่า บริษัทอื่นๆ ในกลุ่ม ปตท. ที่มีศักยภาพสามารถเข้าซื้อซองเพื่อศึกษาได้เช่นกัน โดยให้นำผลการศึกษามานำเสนอต่อคณะกรรมการฯ พิจารณา ก่อนตัดสินใจดำเนินการอื่นใด ซึ่งหากมีการตัดสินใจลงทุนจริง จะต้องดำเนินการแจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ต่อไป

      "ปตท. พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างศักยภาพของประเทศตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ Thailand 4.0 โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ พร้อมทั้งเป็นโอกาสในการศึกษาห่วงโซ่ธุรกิจไฟฟ้า เช่น การผลิตไฟฟ้า ระบบกักเก็บพลังงาน สถานีอัดประจุไฟฟ้า หรือ อีวี รวมถึงยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อรองรับเทคโนโลยีของโลกและความต้องการของประชาชนในประเทศที่เปลี่ยนไป" นายประเสริฐ กล่าว

              อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!