WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

'ประภัสร์ จงสงวนปรับโครงสร้างบริหาร ลดหนี้-เพื่ออนาคตรถไฟ

    ไทยโพสต์ : ก่อนหน้านี้แม้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)  ได้รับความเห็นชอบจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 เม.ย.53 ในแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของ ร.ฟ.ท. ระยะเร่งด่วน 5 ปี ระหว่างปี 53-57 ในวงเงิน 176,808 ล้านบาท แต่ก็พบว่ามีหลายโครงการที่ยังดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ไม่สำเร็จ ทำให้ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ขณะที่ ร.ฟ.ท.มีหนี้สะสมอยู่ประมาณ 8 หมื่นล้านบาท  ดังนั้น หาก ร.ฟ.ท.ยังบริหารงานอย่างไร้ทิศทาง ความเสี่ยงจากการแบกรับภาระหนี้ก็จะสูงด้วยเช่นเดียวกัน

    นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ระบุว่า มีแนวคิดในการปรับโครงสร้างรถไฟใหม่ โดยแบ่งโครงสร้างการบริหารงานออกเป็น  4 ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ โดยมีรองผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ดูแลในแต่ละภาค และแยกบัญชีรายได้ รายจ่าย การเดินรถ การซ่อมบำรุง ออกจากกันอย่างชัดเจน

    สำหรับ จุดประสงค์ของการปรับโครงสร้างรถไฟใหม่  เพื่อให้แต่ละภาคได้ทำงานและบริหารจัดการได้อย่างเต็มที่ และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยแต่ละภาคจะทำแผนการใช้จ่ายเพื่อเสนอของบประมาณในแต่ละปี และมีตัวชี้วัดประสิทธิภาพการทำงาน (เคพีไอ) ของแต่ละภาค หากภาคใดบริหารจัดการดี และมีรายได้น่าพอใจก็สามารถจ่ายโบนัสให้ตัวเองได้

   สำหรับ โครงสร้างในปัจจุบันนั้น ศูนย์อำนาจอยู่ที่ส่วนกลาง ผ่านรองผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ที่มีถึง 7 คน ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาในการทำงาน ก็จะทำให้เกิดเป็นปัญหาของรถไฟในภาพรวม และไม่สามารถบอกได้ว่า ต้นเหตุที่แท้จริงของปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากส่วนไหน บกพร่องจุดไหน ส่วนรูปแบบโครงสร้างแยกหน่วยธุรกิจ ด้านเดินรถด้านซ่อมบำรุงด้านบริหารทรัพย์สิน ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั้น พบว่าไม่ประสบความสำเร็จ ขณะที่โครงสร้างใหม่จะเห็นการทำงานในแต่ละส่วนได้ชัดเจนมากขึ้น

  ทั้งนี้ นายประภัสร์กล่าวว่า แนวคิดปรับโครงสร้างใหม่นี้ได้นำไปหารือในที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. ที่มีนายบุญสม เลิศหิรัฐวงศ์ เป็นประธานแล้ว โดยบอร์ดได้สั่งให้ทำการศึกษาให้ชัดเจน ซึ่งขณะนี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อยู่ระหว่างดำเนินการ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเร็วๆ นี้ จากนั้นจะนำเสนอให้บอร์ดพิจารณาอีกครั้ง ก่อนส่งไปยังกระทรวงคมนาคม และ ครม.ต่อไป

   "โครงสร้างแบ่งการบริหารเป็นภาคนั้น จะเหลือรองผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.เพียง 4 คน จากปัจจุบันมี 7 คน โดยรองผู้ว่าฯ  ร.ฟ.ท. ซึ่งถือเป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์กรที่เป็นพนักงานประจำ จะเป็นผู้กำกับดูแลการทำงาน ไม่ใช่ไปหลบซ่อนอยู่ตามซอกแบบที่เป็นอยู่ รองผู้ว่าฯ ต้องมีความแข็งแกร่ง มีความรับผิดชอบมากขึ้น ทุกภาคจะแข่งกันทำงาน มีกำไรจะได้โบนัสเหมือนกับรถไฟญี่ปุ่นที่แยกเป็น JR West, JR East ซึ่งกว่าจะประสบความสำเร็จได้กำไรต้องใช้เวลา 26 ปี สุดท้ายจะแปรรูปเป็นบริษัทมหาชนได้โดยไม่มีปัญหา  รูปแบบนี้จะทำให้ทุกคนกระตือรือร้นในการทำงานมากขึ้น ยืนอยู่ได้ด้วยตัวเอง ส่วนผู้ว่าฯ ซึ่งมาจากการสรรหา ควรมีหน้าที่ในการวางนโยบาย ประสานงานทุกฝ่ายทั้งกับพนักงาน กับนโยบายระดับกระทรวงและรัฐบาล กำหนดเส้นทาง กำหนดค่าโดยสาร ซื้อรถเพิ่มเติม ตรวจสอบการทำงานระบบบัญชี ในภาพรวมไม่ควรไปยุ่งกับเรื่องปฏิบัติ" นายประภัสร์กล่าว

   นายประภัสร์ย้ำว่า โครงสร้างใหม่ที่นำเสนอจะไม่เกิดการต่อต้านหรือแรงกระเพื่อมภายใน เพราะได้หารือรูปแบบโครงสร้างดังกล่าวกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ร.ฟ.ท.แล้ว ซึ่งสหภาพฯ แสดงความเห็นด้วย โดยระบุว่า  เคยนำเสนอโครงสร้างเช่นนี้กับผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.คนที่ผ่านๆ มาแล้ว แต่ไม่มีใครเห็นด้วย เนื่องจากเกรงว่าจะสูญเสียอำนาจบริหารงาน ดังนั้น มั่นใจว่าถ้าทุกคนอยากเห็นรถไฟพัฒนามากกว่านี้ และเป็นการกระทำเพื่ออนาคตของ ร.ฟ.ท. ที่จะไม่ตกอยู่ในสภาพขาดทุนอีก แต่ก็มีความกังวลว่าเมื่อครบวาระปี 58 อาจจะไม่มีการสานต่อ

  ทั้งนี้ นายประภัสร์ได้ระบุว่า ประเดิมการปรับโครงสร้างนั้นคือ สิ้นปีงบประมาณ 2557 นี้ จะมีรองผู้ว่าฯ ทยอยเกษียณอายุในหลักการและจะไม่ตั้งเพิ่ม

    "การใช้โครงสร้างแบ่งการทำงานเป็น 4 ภาค และการดำเนินโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพรถไฟตามแผน ต้องอยู่บนเงื่อนไขว่า ครม.อนุมัติให้ ร.ฟ.ท.รับบุคลากรเพิ่ม ซึ่งขณะนี้ยังขาดกำลังคนด้านช่างกล โยธา เดินรถ ประมาณ 1 หมื่นคน เนื่องจากมติ ครม.ห้ามรับบุคลากรเกิน 5% จากจำนวนผู้เกษียณอายุในแต่ละปี ทำให้บุคลากรรถไฟลดลงจาก 2.6 หมื่นคน เหลือ 1.1-1.2 หมื่นคนเท่านั้น" นายประภัสร์กล่าว

    นายประภัสร์ กล่าวต่อว่า กรณีที่โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้งบประมาณ 2 ล้านล้านบาท ถูกพับเก็บไป โครงการต่างๆ ที่สำคัญระดับประเทศ ก็ต้องมาเริ่มต้นใหม่หมด แม้ว่าโครงการที่อยู่ภายใต้การดูแลของ ร.ฟ.ท.มีความสำคัญทั้งหมด และสามารถดำเนินการต่อได้  แต่ต้องรอเพียงรัฐบาลใหม่เป็นผู้ตัดสินใจว่าจะดำเนินการต่ออย่างไร ซึ่งทาง ร.ฟ.ท.มีความพร้อมที่จะเสนอรัฐบาลใหม่ทุกโครงการเช่นเดิม

    นอกจากเร่งปรับโครงสร้างการบริหารงานของ ร.ฟ.ท.แล้ว สิ่งที่นายประภัสร์ต้องดำเนินการต่อคือ การขนส่งทางรถไฟ จะขนส่งได้ทีละ 40 ตู้คอนเทนเนอร์ แต่ขนส่งด้วยรถบรรทุกเพียงคันละ 1 ตู้ ถ้าจะขนส่งได้ 40 ตู้ต้องใช้รถบรรทุก 40 คัน ปัญหาเรื่องต้นทุนสูง และยังก่อให้เกิดปัญหาจราจรตามมาอีก และถ้าไทยไม่รีบทำ ประเทศที่ต้องการส่งสินค้าทางรางมากๆ อย่างประเทศจีนหันไปตั้งกองเรือแทน ถึงเวลานั้นการสร้างระบบรางก็จะไม่เกิดประโยชน์

    "ประเทศจีนใช้ระบบรางขนส่งสินค้าไปยังยุโรปมาแล้ว แต่มีเงื่อนไขคือ ต้องเปลี่ยนหัวลากจากประเทศนั้นๆ ซึ่งได้ผลและได้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งประเทศไทยก็ต้องดำเนินการเช่นนั้น เช่น ขนส่งจากไทย พอไปมาเลเซียก็เปลี่ยนหัวลากของมาเลเซียวิ่งต่อไปยังสิงคโปร์ ก็เปลี่ยนรถหัวลากประเทศนั้นๆ ถ้าเราไม่มีตรงนี้ จีนจะหันไปขนส่งทางเรือแทน และจีนจะตั้งกองเรือขึ้นมา แต่กองเรือจะใช้งบประมาณสูงมาก ถ้าจีนทำจริงทุกอย่างคงเจ๊งหมด และถ้าจีนสร้างขึ้นมาแล้วเราเพิ่งมาเริ่มทำระบบราง ก็ไม่เกิดประโยชน์เช่นกัน"

   ส่วนความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ แม้ว่าโครงการจะชะงักไปบ้าง แต่การลงทุนโครงการรถไฟทางคู่ 5 สายเร่งด่วน 797 กิโลเมตร เงินลงทุน 118.034 ล้านบาท จะกลับไปใช้กรอบวงเงิน 1.76 แสนล้านบาท ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติเมื่อปี 2553 ได้แก่ สายลพบุรี-ปากน้ำโพมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระชุมทางถนนจิระขอนแก่นนครปฐม-หนองปลาดุกหัวหิน และประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร สายแรก ที่จะดำเนินการคือ ชุมทางจิระ-ขอนแก่น อย่างไรก็ดี ตนพร้อมสู้เพื่ออนาคตของรถไฟไทยก่อนเกษียณอายุราชการในปี 2558.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!