WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa KAtsushi

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้ Mr. Atsushi Taketani ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น กรุงเทพฯ (JETRO Bangkok) และคณะผู้แทนหอการค้าญี่ปุ่น - กรุงเทพฯ (JCCB) เข้าพบ

         นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้ Mr. Atsushi Taketani ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น กรุงเทพฯ หรือ JETRO Bangkok และคณะผู้แทนหอการค้าญี่ปุ่น - กรุงเทพฯ หรือ JCCB เข้าพบ เพื่อรายงานผลการสำรวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย ช่วงครึ่งหลังของปี 2562 โดยมี นายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ นายวิรัช พิมพะนิตย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ นางสุขสมรวย วัทนียกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ นายชยธรรม์ พรหมศร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร นายองอาจ ฉัตรชัยพลรัตน์ โฆษกประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ และกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงฯ เข้าร่วม ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 15.30 น. ณ ห้องประชุมกระทรวงคมนาคม

      นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ กล่าวว่า ข้อมูลที่ทาง JCCB สำรวจจากบริษัทญี่ปุ่นที่เป็นสมาชิกของ JCCB เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ สามารถนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจเพื่อกำหนดนโยบายของรัฐบาลและการประกอบธุรกิจของญี่ปุ่น ซึ่งประเทศญี่ปุ่นและไทยเป็นพันธมิตรที่ดีต่อกัน แม้ว่าขณะนี้ไทยกำลังประสบปัญหาทั้งผลกระทบจากสงครามเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ปัญหาภัยแล้ง การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 และฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 แต่ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการดำเนินนโยบายของรัฐบาล ซึ่ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมทั้งดำเนินนโยบายเร่งรัดการลงทุนภายในประเทศ

     แม้จะประสบปัญหาเรื่องงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ที่อยู่ระหว่างการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คาดว่าวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 จะมีความชัดเจนว่าจะสามารถดำเนินการต่อไปได้หรือไม่ หากเป็นไปตามการคาดการณ์คือ สามารถประกาศใช้ พ.ร.บ.งบประมาณประจำปี 2563 ได้ กระทรวงฯ พร้อมเดินหน้าโครงการต่าง ๆ ทันที เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนผลการสำรวจฯ ที่บริษัทญี่ปุ่นให้ความสนใจการพัฒนาสาธารณูปโภคเชื่อมโยงพื้นที่ EEC นั้น รัฐบาลไทยได้ดำเนินการเรื่องดังกล่าวอย่างจริงและมีความคืบหน้า ทั้งการก่อสร้างท่าอากาศยานอู่ตะเภา ขณะนี้ประกาศผลผู้ชนะการประมูลแล้ว

     โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มีการลงนามในสัญญาแล้วเมื่อช่วงปลายปี 2562 และการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ขณะนี้ได้ผลการประกวดราคาผู้รับจ้างแล้ว สะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้าของ EEC และคาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมใช้งานได้ประมาณปี 2567 – 2568 ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการเพื่อสร้างความสะดวกให้นักลงทุน อาจจะเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนในพื้นที่ EEC ของบริษัทญี่ปุ่นต่อไป

        นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้ประชุมคณะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ และได้เห็นชอบกรอบแนวคิดการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ 4 พื้นที่ ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้มีการศึกษาให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี ทั้งนี้ ขอให้ JETRO และ JCCB พิจารณาเพิ่มความถี่การสำรวจดังกล่าวให้มากขึ้น เช่น รายไตรมาส 3 เดือน เนื่องจากข้อมูลเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง สามารถนำมาประกอบการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ทันต่อสถานการณ์ และสามารถกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับความต้องการของนักลงทุน เพราะคณะรัฐมนตรีมีการประชุมคณะต่างๆ เป็นประจำทุกเดือน ในส่วนของกระทรวงฯ จะนำข้อมูลในครั้งนี้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป             

     สำหรับ JETRO และ JCCB มีความร่วมมือกับกระทรวงฯ มาอย่างต่อเนื่อง โดย JCCB ได้สำรวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนในประเทศไทยเป็นประจำทุกปี ปีละ 2 ครั้ง เพื่อสะท้อนสภาพธุรกิจของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทยอย่างครอบคลุม ซึ่งจากการสำรวจแนวโน้มฯ โดยส่งแบบสอบถามไปยังบริษัทสมาชิก JCCB สอบถามในประเด็นต่าง ๆ ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2562 มีแนวโน้มเศรษฐกิจหรือ DI อยู่ที่ –19 ในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 ส่วนช่วงครึ่งหลังของปี 2562 ปรับตัวมาอยู่ที่ –38 และตัวเลขคาดการณ์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 อยู่ที่ -18 ส่วนในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2562 เศรษฐกิจไทยเกิดการชะลอตัว เนื่องมาจากหลายสาเหตุ เช่น การแข็งค่าของเงินบาท ส่งผลให้ดัชนี DI ยังคงอยู่ในแดนลบอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงครึ่งแรกของปี 2562

ส่วนในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 ค่าดัชนี DI มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการยังคงมีความวิตกกังวลกับสภาวะความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก การแข็งค่าของเงินบาท และมีข้อเรียกร้องให้รัฐบาลไทย รวมทั้งกระทรวงฯ อาทิ ให้รัฐบาลไทยส่งเสริมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการสาธารณูปโภค เพื่อให้การนำเข้า – ส่งออกสินค้าของญี่ปุ่น สะดวกมากยิ่งขึ้น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล การพัฒนาปรับปรุงระบบการบังคับใช้ระบบศุลกากร พิธีการศุลกากร และการรักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น

ส่วนผลการสำรวจเกี่ยวกับพื้นที่ EEC มีบริษัทญี่ปุ่นให้ความสนใจลงทุนในพื้นที่ EEC ถึง 129 บริษัท เพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีความสนใจ 81 บริษัท ทั้งนี้ การดำเนินการของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทยจะประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี ส่วนหนึ่งต้องได้รับการผลักดันด้านนโยบายจากกระทรวงฯ

              

คมนาคม เล็งสร้างอุโมงค์ทางลอด"ถ.นราธิวาส-สำโรง 'แก้จราจร'สาทร-สีลม

  ก.คมนาคม หารือญี่ปุ่น ศึกษาความเหมาะสมก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดถนนนราธิวาส – สำโรง แก้ไขปัญหาการจราจรบริเวณสาทร สีลม คาดผลศึกษาแล้วเสร็จ มี.ค.63

  นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หารือร่วมกับ Mr.Hirai Hideki ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (MLIT) พร้อมรายงานการดำเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อน (Steering Committee) เกี่ยวกับโครงการศึกษาความเหมาะสมการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดถนนนราธิวาส – สำโรง

  สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ร่วมกับ MLIT ดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสมการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดถนนนราธิวาส – สำโรง เพื่อบรรเทาและแก้ไขปัญหาการจราจรบริเวณสาทร สีลม บางรัก พระราม 4 และบริเวณใกล้เคียง ซึ่งจากการศึกษาเบื้องต้นรูปแบบโครงสร้างเป็นอุโมงค์ใต้ดิน ระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร จำนวน 4 ช่องจราจรไป – กลับ จุดที่เสนอเป็นจุดเชื่อมต่ออุโมงค์ทางลอด คือ เชื่อมต่อทางพิเศษเฉลิมมหานครกับถนนนราธิวาสและเชื่อมต่อทางพิเศษเฉลิมมหานครกับสี่แยกบางนา สำหรับเนื้อหาของการศึกษาประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้

  1) การสำรวจกายภาพของถนน ได้แก่ การศึกษาภาพตัดขวางของถนน เส้นทางในแนวราบและแนวดิ่งและจุดเชื่อมต่อ

  2) การประมาณการต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง

  3) การดำเนินการตรวจสอบผลกระทบที่มีต่อการจราจร ทั้งปริมาณจราจรปัจจุบันและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

  4) แนวทางการนำโครงการไปดำเนินการ เช่น การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership : PPP)

  เมื่อการศึกษาความเหมาะสมโครงการฯ เสร็จสมบูรณ์ MLIT จะเสนอรายงานให้ สนข. เพื่อทราบ และนำเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณา คาดว่าการศึกษาจะแล้วเสร็จและส่งรายงานให้กระทรวงฯ ได้ภายในเดือนมีนาคม 2563 ซึ่ง MLIT มีความยินดีให้ความร่วมมือและสนับสนุนเพื่อผลักดันให้โครงการเกิดขึ้นจริงต่อไป

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!