WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1Aกรมเจ้าท่า

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในวันคล้ายวันสถาปนากรมเจ้าท่า ครบรอบ 163 ปี

      นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในวันคล้ายวันสถาปนากรมเจ้าท่า ครบรอบ 163 ปี และเปิดศูนย์ปฏิบัติการควบคุมความปลอดภัยและการจราจรทางน้ำ กรมเจ้าท่า

       นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในวันคล้ายวันสถาปนากรมเจ้าท่า (จท.) ครบรอบ 163 ปี พร้อมทั้งเปิดศูนย์ปฏิบัติการควบคุมความปลอดภัยและการจราจรทางน้ำ จท. เพื่อเป็นศูนย์อำนวยการบูรณาการข้อมูลสารสนเทศด้านการขนส่งทางน้ำของประเทศไทยอย่างเป็นระบบ และเตรียมความพร้อมมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางน้ำ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวในโอกาสที่ประเทศไทยเปิดรับนักท่องเที่ยวเข้าประเทศอย่างเต็มรูปแบบ

      โดยมี นางสุขสมรวย วันทนียกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมเจ้าท่า นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นางสาวดุจดาว เจริญผล ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม หัวหน้าหน่วยงานในสังกัด คณะผู้บริหาร บุคลากร และเจ้าหน้าที่ของ จท. เข้าร่วมพิธีฯ ในวันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม 2565 ณ จท.

      นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ กล่าวว่า ตามแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญกับการคมนาคมทุกมิติโดยได้มอบนโยบายให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ทางน้ำ ด้วยการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือมาบตาพุดที่มีปริมาณการขนส่งสินค้าเป็นจำนวนมาก เพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) การพัฒนาโครงการแลนด์บริดจ์ (Land brige) ชุมพร – ระนอง เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน

     ซึ่ง จท. จะต้องเร่งศึกษา พัฒนา และปรับปรุงระเบียบข้อกฎหมายต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสมและทันสมัย รวมทั้งนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้ เพื่อปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จท. ได้ปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงาน รวมทั้งพัฒนาภารกิจมาอย่างต่อเนื่อง สอดรับกับนโยบายของรัฐบาล มุ่งสู่ “MD NEXT 2023” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ได้รับความสะดวก ทั่วถึง และปลอดภัย

      อาทิ การพัฒนาศักยภาพการขนส่งทางน้ำ การพัฒนามาตรการความปลอดภัยของการขนส่งทางน้ำและการพาณิชยนาวี การพัฒนาและบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานทางน้ำ การพัฒนายกระดับท่าเรือโดยสาร (Smart Pier) ในแม่น้ำเจ้าพระยา และการผลิตบุคลากรด้านพาณิชยนาวีให้มีคุณภาพ รวมทั้งการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทางน้ำ ทั้งแม่น้ำ คูคลอง และชายฝั่งทะเล

       จนเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาประชาชนว่า จท. ได้มุ่งมั่นและพัฒนา เพื่อยกระดับการบริการที่ดี ตอบสนองความต้องการของประชาชนและประเทศชาติมาโดยตลอด กลไกสำคัญที่ทำให้หน่วยงานสามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างราบรื่นและเข้มแข็ง คือ ผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ จท. ทุกคนที่ต้องมีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ ทุ่มเทกำลังกายและความสามารถ ในการผลักดันกระบวนการภารกิจต่าง ๆ ให้สัมฤทธิ์ผล เพื่อพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศก้าวสู่ปีต่อไปอย่างมั่นคง

      ปัจจุบัน จท. ได้ปรับปรุงและพัฒนาทั้งด้านการบริหารงาน สถานที่ และบุคลากรให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์เป็นองค์กรที่ตื่นตัวในการพัฒนาด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง นับเป็นหน่วยงานที่เป็นตัวอย่างที่ดีในการนำองค์กรสู่ความสำเร็จในอนาคต

       ทั้งนี้ จท. ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการควบคุมความปลอดภัยและการจราจรทางน้ำ ภายใต้โครงการระบบตรวจการณ์ชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่างและอันดามัน (VTS 3) เพื่อเป็นศูนย์อำนวยการบูรณาการข้อมูลสารสนเทศด้านการขนส่งทางน้ำของประเทศไทยอย่างเป็นระบบ ยกระดับมาตรฐานการรักษาความปลอดภัย การตรวจตรา ดูแล และติดตามเส้นทางการเดินเรือทั้งในและต่างประเทศ ป้องกันการกระทำผิดกฎหมายในทะเล และเป็นศูนย์กลางในการประสานระบบสื่อสารทางทะเล พร้อมบูรณาการข้อมูลสารสนเทศด้านการขนส่งทางน้ำเพื่อประโยชน์ของประเทศ

            รวมทั้งช่วยสนับสนุนศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ในการปกป้องผลประโยชน์ของชาติทางทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มศักยภาพเส้นทางการขนส่งสินค้าทางเรือ เชื่อมโยงเศรษฐกิจของประเทศไทยและสนับสนุนการพัฒนาประเทศ สอดคล้องตามอนุสัญญาความตกลงระหว่างประเทศ ที่ประเทศไทยให้สัตยาบันเป็นภาคีในอนุสัญญาต่าง ๆ กับองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization : IMO) โดยมีสถานีลูกข่ายในชายฝั่งอ่าวไทย 12 สถานี สถานีลูกข่ายในชายฝั่งอันดามัน 11 สถานี และศูนย์ปฏิบัติการระบบตรวจการณ์ 2 แห่ง เมื่อเชื่อมโยงกับระบบตรวจการณ์เดิมในระยะที่ 1 และ 2 ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เฉพาะอ่าวไทยตอนบน และมีสถานีลูกข่าย 10 สถานี จะทำให้มีสถานีลูกข่ายตรวจการณ์เป้าในทะเลของประเทศ รวมทั้งสิ้น 33 สถานี และศูนย์ปฏิบัติการฯ รวม 3 แห่ง

      ซึ่งศูนย์ปฏิบัติการฯ ดังกล่าว จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับอุตสาหกรรมการเดินเรือและการขนส่งสินค้าทางน้ำของประเทศไทย ด้านการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยอย่างเต็มระบบ รวมทั้งสร้างโอกาสในการแข่งขันของประเทศ โดยในปี 2566 ประเทศไทยจะเข้ารับการตรวจการปฏิบัติตามพันธกรณีที่ประเทศไทยให้สัตยาบันไว้กับ IMO ซึ่งความพร้อมในระบบต่าง ๆ ของศูนย์ปฏิบัติการฯ จะแสดงให้ผู้ตรวจสอบได้เห็นว่า ประเทศไทยได้นำระบบมาใช้กำกับ ติดตาม และตรวจสอบการปฏิบัติของเรือ ท่าเรือ และการตรวจสอบมาตรฐานคนประจำเรืออย่างต่อเนื่อง ตามมาตรฐาน IMO

      และในโอกาสที่ประเทศไทยกำลังเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก จท. ได้เตรียมความพร้อมของระบบและมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางน้ำ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุให้กับนักท่องเที่ยว โดยศูนย์ปฏิบัติการฯ จะสร้างเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยทางน้ำให้กับประชาชน และนักท่องเที่ยวพร้อมสร้างความอุ่นใจในการแจ้งเตือนภัย และเป็นศูนย์อำนวยการในการบริการ กำกับ ติดตาม ด้านความปลอดภัยในการคมนาคมขนส่งทางน้ำของประเทศ

 

 Click Donate Support Web  

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!