WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บอร์ดรฟม.อนุมติ ลงทุน 5.5 หมื่นล. บริหารจัดการเอง รถไฟสายสีเหลือง

    แนวหน้า : นางสาวรัชนี ตรีพิพัฒน์กุล ประธานกรรมการ(บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า บอร์ด รฟม.มีมติอนุมัติในหลักการให้ รฟม.ทำหน้าที่ให้บริการเดินรถใน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง(ลาดพร้าว-สำโรง)เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรถไฟฟ้ามหานคร พ.ศ.2535 และพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ.2543 ระบุว่าหนึ่งในภารกิจสำคัญของ รฟม.คือการให้บริการเดินรถไฟฟ้า

    ทั้งนี้ มองว่า รฟม.ควรให้บริการเดินรถอย่างน้อย 1 เส้นทาง เพื่อให้บุคลากรของ รฟม. มีโอกาสได้รับการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีในการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และโอกาสดีที่จะเป็นจุดเริ่มต้นในการให้บริการเดินรถในโครงการต่อไปของ รฟม. และในอนาคตหากมีการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อระดมทุน การทำหน้าที่เดินรถจะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน ซึ่งจะต้องศึกษารายละเอียดแนวทางการเดินรถเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่พิจารณาอนุมัติ

    นางสาวรัชนี กล่าวว่า สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองนั้นจะเป็นระบบไฟฟ้ารางเดี่ยว(Monorail)  ซึ่งข้อดีของรูปแบบดังกล่าวคือ โครงสร้างโปร่ง วงเลี้ยวแคบ งบก่อสร้างน้อย และเวนคืนที่ดินน้อยกว่ารูปแบบอื่น  รวมถึงสามารถขนส่งผู้โดยสารได้ 10,000-40,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง มีความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยใช้งบลงทุนโครงการฯประมาณ 5.5 หมื่นล้านบาท

     ในส่วนของแนวเส้นทางจะเริ่มต้นบริเวณจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่แยกรัชดา-ลาดพร้าว ไปตามถนนลาดพร้าวจนถึงทางแยกบางกะปิ หลังจากนั้นจะเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนศรีนครินทร์ โดยมีจุดเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชน 2 สาย คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี ที่แยกลำสาลี และโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ บริเวณทางแยกต่างระดับพระราม 9 จากนั้นจะตรงไปตามถนนศรีนครินทร์ ผ่านแยกพัฒนาการจนถึงแยกศรีเทพา ก่อนจะเลี้ยวเข้าสู่ถนนเทพารักษ์ ผ่านจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่สถานีสำโรง มีสถานีรถไฟฟ้ารวม 23 สถานี

    ด้านนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รักษาการรมว.คมนาคม กล่าวว่า สำหรับโครงการรถไฟฟ้าที่ล่าช้าเนื่องจากยังไม่มีรัฐบาลใหม่ ซึ่งรอการกอนุมัติจากรัฐบาลใหม่ เช่น สายสีชมพู เส้นทาง จากมีนบุรี ไปยังศูนย์ราชการถนนแจ้งวัฒนะ และสายสีส้มจาก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ไปยังมีนบุรี โดยโครงการได้ผ่าน ผลศึกษาด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือEIA หมดแล้ว

     ส่วนโครงการอื่นที่ยังคงเดินหน้าต่อไปเพราะรัฐบาลอนุมัติไปแล้วได้แก่ เช่น โครงการสายสีเขียวเหนือเป็นส่วนต่อขยายจากสถานีหมอชิต เซ็นทรัลลาดพร้าว ไปยังคูคต ลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ซึ่งขณะนี้ยังรอประมูลอยู่

บอร์ด รฟม.ไฟเขียวสร้างโมโนเรล

      บ้านเมือง : น.ส.รัชนี ตรีพิพัฒน์กุล ประธานกรรมการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. มีมติอนุมัติในหลักการให้ รฟม.ทำหน้าที่ให้บริการเดินรถในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าวสำโรง ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร วงเงินลงทุนประมาณ 5.5 หมื่นล้านบาท สาเหตุที่มีมติให้ รฟม.ทำหน้าที่ให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีเหลืองเพราะพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรถไฟฟ้ามหานคร พ.ศ.2535 และพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ.2543 ระบุว่าหนึ่งในภารกิจสำคัญของ รฟม.คือการให้บริการเดินรถไฟ

     สำหรับ รูปแบบโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองจะเป็นระบบไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) สามารถขนส่งผู้โดยสารได้ 10,000-40,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง มีความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง แนวเส้นทางเริ่มต้นบริเวณจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล ที่แยกรัชดา-ลาดพร้าว ไปตามถนนลาดพร้าวจนถึงทางแยกบางกะปิ หลังจากนั้นจะเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนศรีนครินทร์ โดยมีจุดเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชน 2 สาย คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี ที่แยกลำสาลี และโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงค์ บริเวณทางแยกต่างระดับพระราม 9 จากนั้นจะตรงไปตามถนนศรีนครินทร์ผ่านแยกพัฒนาการจนถึงแยกศรีเทพา ก่อนจะเลี้ยวเข้าสู่ถนนเทพารักษ์ ผ่านจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่สถานีสำโรง มีสถานีรถไฟฟ้ารวม 23 สถานี

บอร์ดไฟเขียวรฟม.เดินรถสายสีเหลือง รอครม.ชุดใหม่เคาะ

   ไทยโพสต์ : พระราม 9 * บอร์ดไฟเขียว รฟม.นำร่อง เดินรถไฟฟ้าสายสีเหลือง มูลค่า 5.5 หมื่นล้านบาท แต่ต้องรอ ครม.ชุดใหม่อนุมัติโครงการ

    น.ส.รัชนี ตรีพิพัฒน์กุล ประธานกรรมการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.มีมติอนุมัติในหลักการให้ รฟม.ทำหน้าที่ให้บริการเดินรถในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร วง เงินลงทุนประมาณ 5.5 หมื่นล้านบาท โดยต้องรอเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่เพื่ออนุมัติโครงการตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรถไฟฟ้ามหานคร พ.ศ.2535 และ พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ.2543 ระบุว่า หนึ่งในภารกิจสำคัญของ รฟม.คือ การให้บริการเดินรถไฟฟ้า

   นอกจากนี้ เห็นว่าโครงการ รถไฟฟ้าสายสีเหลืองยังมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก จึงเป็นโอกาสดีที่ รฟม.จะทำหน้าที่เดินรถในเส้นทางดังกล่าว เพื่อเป็นการนำร่องไปสู่การเดินรถในโครงการอื่นต่อไป และในอนาคตหาก รฟม.จะจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อระดมทุน จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนได้

   "รฟม.ควรให้บริการเดิน รถอย่างน้อย 1 เส้นทาง เพื่อให้ บุคลากรมีโอกาสได้รับการถ่าย ทอดความรู้และเทคโนโลยี การเดินรถสายสีเหลือง จึงเป็นโอกาสดีที่จะเป็นจุดเริ่มต้น ซึ่งหลังจากนี้ รฟม.จะต้องศึกษารายละเอียดแนวทางการเดินรถเพื่อเสนอ ครม.ชุดใหม่พิจารณาอนุมัติต่อไป"นางรัชนีกล่าว

    สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เป็นระบบไฟฟ้าราง เดี่ยว (Monorail) มีข้อดีคือ โครง สร้างโปร่ง วงเลี้ยวแคบ ค่าก่อ สร้างต่ำ และเวนคืนที่ดินน้อยกว่า สามารถขนส่งผู้โดยสารได้ 10,000- 40,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง มีความ เร็วสูงสุด 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง

    เส้นทางเริ่มต้นบริเวณจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่แยกรัชดาลาดพร้าว ไปตาม ถ.ลาดพร้าว จนถึงทางแยกบางกะปิ จากนั้นจะเลี้ยวขวาเข้าสู่ ถ.ศรีนครินทร์ โดยมีจุดเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชน 2 สาย คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี ที่แยกลำสาลี และโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์ บริเวณทางแยกต่างระดับพระราม 9 จากนั้นจะตรงไปตาม ถ.ศรีนครินทร์ ผ่านแยกพัฒนาการจนถึงแยกศรีเทพา ก่อนจะเลี้ยวเข้าสู่ ถ.เทพารักษ์ ผ่านจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่สถานีสำโรง มีสถานีรถไฟฟ้ารวม 23 สถานี.

บอร์ด รฟม.ไฟเขียวเดินรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีเหลือง มูลค่า 5.5 หมื่นลบ.

     นางสาวรัชนี ตรีพิพัฒน์กุล ประธานกรรมการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ รฟม.วานนี้มีมติอนุมัติในหลักการให้ รฟม.ทำหน้าที่ให้บริการเดินรถในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร วงเงินลงทุนประมาณ 5.5 หมื่นล้านบาท

    สาเหตุที่มีมติให้รฟม.ทำหน้าที่ให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เพราะพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรถไฟฟ้ามหานคร พ.ศ.2535 และพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ.2543 ระบุว่าหนึ่งในภารกิจสำคัญของ รฟม.คือการให้บริการเดินรถไฟฟ้า

     นอกจากนั้น โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองยังมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก จึงเป็นโอกาสดีที่รฟม.จะทำหน้าที่เดินรถในเส้นทางดังกล่าวเพื่อเป็นการนำร่องไปสู่การเดินรถในโครงการอื่นต่อไป และในอนาคตหาก รฟม.จะจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อระดมทุนนั้น การทำหน้าที่เดินรถจะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน

     “รฟม.ควรให้บริการเดินรถอย่างน้อย 1 เส้นทาง เพื่อให้บุคลากรมีโอกาสได้รับการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีในการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองจึงเป็นโอกาสดีที่จะเป็นจุดเริ่มต้นในการให้บริการเดินรถ หลังจากนี้รฟม.จะต้องศึกษารายละเอียดแนวทางการเดินรถเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่พิจารณาอนุมัติต่อไป"นางสาวรัชดี กล่าว

     สำหรับรูปแบบโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองจะเป็นระบบไฟฟ้ารางเดี่ยว(Monorail) ซึ่งมีข้อดีคือโครงสร้างโปร่ง วงเลี้ยวแคบ ค่าก่อสร้างต่ำ และเวนคืนที่ดินน้อยกว่า สามารถขนส่งผู้โดยสารได้ 10,000-40,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง มีความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง

     แนวเส้นทางเริ่มต้นบริเวณจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่แยกรัชดา-ลาดพร้าว ไปตามถนนลาดพร้าวจนถึงทางแยกบางกะปิ หลังจากนั้นจะเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนศรีนครินทร์ โดยมีจุดเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชน 2 สาย คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี ที่แยกลำสาลี และโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ บริเวณทางแยกต่างระดับพระราม 9 จากนั้นจะตรงไปตามถนนศรีนครินทร์ ผ่านแยกพัฒนาการจนถึงแยกศรีเทพา ก่อนจะเลี้ยวเข้าสู่ถนนเทพารักษ์ ผ่านจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่สถานีสำโรง มีสถานีรถไฟฟ้ารวม 23 สถานี

                อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!