WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

FTIสรพงษ ไพสฐพฒนพงษค่ายรถเจอมรสุมรุมรอบด้าน ฉุดเป้ายอดผลิตในปีนี้

    แนวหน้า : ค่ายรถเจอมรสุมรุมรอบด้าน ฉุดเป้ายอดผลิตในปีนี้ สอท.ชี้เหลือ 2 ล้านคัน

    ผู้บริหารสภาอุตฯ ระบุปัจจัยลบในอุตสาหกรรมยานยนต์ เจอทั้งภัยแล้ง เกษตรกรไม่มีกำลังซื้อ เศรษฐกิจชะลอ สถาบันการเงินเข้มเงินกู้ ต้องปรับเป้าผลิตรถยนต์ในปีนี้ แต่ยังโชคดีที่ตลาด “อีโคคาร์” ต่างประเทศยังขยายตัวได้

    นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยว่า ผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจภายในประเทศที่ซบเซา ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ส่งผลต่อกำลังซื้อภาคประชาชนชะลอตัว หนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น ประกอบกับการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ โดยส่วนตัวประเมินว่า ยอดผลิตรถยนต์เพื่อขายในประเทศปีนี้ อาจไม่เป็นไปตามเป้าที่ได้มีการปรับประมาณการล่าสุดอยู่ที่ 850,000 คัน เหลือเพียง 800,000 คันเท่านั้น ส่วนการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกยังคงเป้าหมายเดิมที่ 1,200,000 คัน ทำให้เป้าการผลิตรถยนต์ในปีนี้จะอยู่ที่ 2 ล้านคัน โดยต่อจากนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สอท.จะขอติดตามถึงภาวะตลาดในประเทศช่วงเดือนกันยายน 2558 อีกครั้ง

    ก่อนที่จะปรับประมาณการอย่างเป็นทางการอีกครั้ง เนื่องจากต้องรอดูผลการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ การลงทุนโครงสร้างต่างๆ ของภาครัฐ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน สร้างเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ รวมถึงราคาสินค้าเกษตรที่ขณะนี้ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งหากราคาสินค้าเกษตรปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะประชาชนรากหญ้าที่มีความต้องการรถยนต์ประเภทกระบะ และรถยนต์นั่ง

    ทั้งนี้ แม้ว่าตลาดในประเทศจะหดตัวมาก แต่การที่ได้ตลาดต่างประเทศมาทดแทน ส่งผลให้ภาพรวมการส่งออกยังขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะตลาดยุโรป ที่เติบโตกว่า 72% เพิ่มขึ้นจากเดิมที่เติบโต 65% ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกรถยนต์นั่งประเภทอีโคคาร์มากขึ้น รองลงมาคือ ออสเตรเลียเติบโตกว่า 20% เอเชียที่เติบโต 23% และตะวันออกกลาง ที่ช่วยผลักดันให้การส่งออกรถของไทยขยายตัว

    “ยังมีความเชื่อมั่นว่า อุตสาหกรรมยานยนต์จะสามารถช่วยพยุงเศรษฐกิจของประเทศในปีนี้ได้ หากการส่งออกเป็นไปตามเป้าที่ 1,200,000 คัน ซึ่งจะทำให้มีสัดส่วน 15% ของการส่งออกทั้งหมด และจะช่วยหนุนการติดลบด้านการส่งออกได้บ้าง เช่นเดียวกับปี 2555 ที่การส่งออกรถยนต์แตะที่ 1 ล้านคันเป็นปีแรก รวมถึงทำให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องเติบโตได้ เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก ชิ้นส่วนยานยนต์ หนัง กระจก ยางล้อ และปิโตรเคมี เป็นต้น”

    นายสุรพงษ์กล่าวอีกว่า แม้ตลาดส่งออกรถยนต์อีโคคาร์จะเติบโตอย่างโดดเด่น แต่การที่ตลาดในประเทศชะลอตัวอย่างรุนแรง ได้ส่งผลกระทบต่อภาพรวมเงื่อนไขการผลิตรถยนต์อีโคคาร์ 1 ที่ระบุว่า บริษัทรถยนต์ที่เข้าร่วมโครงการจะต้องผลิตรถอีโคคาร์ ให้ได้บริษัทละ 1 แสนคันต่อปี ภายในปีที่ 5 ทำให้หลายค่ายต้องมีการผ่อนผันเงื่อนไขดังกล่าวออกไปนั้น มองว่า ถือเป็นเรื่องที่ดีที่มีการผ่อนผัน เป็นการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการร่วมมือกันขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ให้เดินหน้าต่อไปได้ หลังจากเศรษฐกิจภายในประเทศและเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัวมากนัก โดยประเมินว่าการผลิตรถยนต์อีโคคาร์ในปีที่ 5- ปีที่ 8 ค่ายรถยนต์จะสามารถผลิตรถอีโคคาร์รวมกันได้ 4 แสนคัน

    ส่วนเป้าหมายการผลิตรถยนต์ให้ได้ 3 ล้านคัน ในปี 2560 นั้น อาจต้องเลื่อนออกไปเป็นปี 2562-2563 หลังจากที่มีการผลิตรถยนต์อีโคคาร์ เฟส 2 ออกมาแล้ว เนื่องจากที่ผ่านมาไทยเผชิญกับปัญหาปัจจัยลบหลายด้าน ทั้งการเมืองภายในประเทศ เศรษฐกิจที่ชะลอ รวมถึงสถานการณ์ภัยแล้งและอุทกภัย โดยเอกชนหวังว่า ภาครัฐจะเร่งติดตามส่งเสริมนโยบายการลงทุน ดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มมากขึ้น การดูแลประสิทธิภาพของพลังงานในประเทศ การดูแลอัตราค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่ากว่าประเทศอื่นในภูมิภาค รวมถึงเรื่องของปัญหาแรงงานที่ขณะนี้ไม่เพียงพอ อีกทั้งยังมีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!