WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

Gจกรกฤศฏ พาราพนธกลกรมธนารักษ์ เผยเตรียมคลอดบ้านประชารัฐปีนี้ ประเดิมตอกเสาเข็มย่านวัดไผ่ตันเป็นที่แรก

   กรมธนารักษ์ เผยเตรียมคลอดบ้านประชารัฐปีนี้ ประเดิมตอกเสาเข็มย่านวัดไผ่ตันเป็นที่แรก ย้ำยังเป็นราคาเดิมคือ คอนโดฯ ไม่เกิน 5 แสนบ. บ้านเดี่ยว ไม่เกิน 7 แสนบ. ประเมิน 6 พื้นที่ จะสร้างที่อยู่อาศัยได้ทั้งสิ้น 3,400 ยูนิต พร้อมเตรียมเพิ่มกฎเกณฑ์เข้มงวด หวั่นเกิดการขายเปลี่ยนมือเหมือนแฟลตดินแดง

    นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมฯ อยู่ระหว่างการจัดหาที่ราชพัสดุ เพื่อมาสร้างอสังหาริมทรัพย์ในราคาถูกให้กับผู้ที่มีรายได้น้อย หรือ โครงการบ้านประชารัฐตามนโยบายของรัฐบาล โดยเบื้องต้นนั้นมีที่ราชพัสดุอยู่ทั้งสิ้น 6 แปลง ประกอบด้วย บริเวณวัดไผ่ตัน ที่จะสามารถเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ภายในปีนี้ โรงกษาปณ์เก่า ถนนประดิพัทธ์ เชียงใหม่บนเนื้อที่ 9 ไร่ ชะอำ 2 แปลง เชียงรายที่อยู่บริเวณใกล้บ้านผู้สูงอายุ โดยคาดว่าทั้ง 6 พื้นที่นี้จะสามารถสร้างที่อยู่อาศัยได้ทั้งสิ้น 3,400 ยูนิต และคาดว่าจะได้ข้อสรุปในช่วงเดือนก.พ.นี้

   สำหรับ ราคาบ้านในโครงการดังกล่าวนั้น ขณะนี้ยังคงเป็นไปตามที่กำหนดไว้ คือ คอนโดฯ ไม่เกิน 500,000 บาทต่อยูนิต ส่วนบ้านเดี่ยวไม่เกิน 700,000 บาทต่อยูนิต ซึ่งคาดว่าจะเป็นราคาที่เอกชนยอมรับได้ และทางกรมสรรพากร และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สศค. จะพิจารณาการลดหย่อนภาษี และสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ ส่วนเกณฑ์รายได้ผู้ที่มีสิทธิ์ สศค.จะกำหนดให้ผู้ที่สามารถซื้อที่อยู่อาศัยในโครงการดังกล่าวได้จะต้องมีรายได้สุทธิไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน ด้านการเคหะแห่งชาติกำหนดรายได้ไม่เกิน 22,000 บาทต่อเดือน ขณะที่ธนาคารอาคารสงเคระห์ หรือ ธอส.ได้กำหดให้รายได้ไม่เกิน 24,000 บาทต่อเดือน ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นการเช่าระยะยาว ซึ่งคาดว่าจะมีการหารือเพื่อหาข้อสรุปอีกครั้งหนึ่ง

    นายจักรกฤศฎิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะที่รูปแบบการขายคาดว่ามี 3 รูปแบบ คือ  แยกเป็นกรณีก่อสร้างบนที่ราชพัสดุ ของกรมธนารักษ์ โดยจะให้เช่าเซ้งแบบอยู่ได้สูงสุดไม่เกิน 30 ปี แต่ทางนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง ได้ให้ไปศึกษาเพิ่มเติม ในกรณีเรื่องรูปแบบการเช่าระยะสั้น เหมือนประเทศจีน และฮ่องกง ที่จะให้ผู้บริหารโครงการพิจารณาในรายละเอียดทั้งในส่วนของ รายได้และทรัพย์สินของผู้เช่า หากเกินหรือเริ่มมีรายได้ หรือทรัพย์สินสูงกว่าเกณฑ์จะต้องย้ายออกไปเพื่อเปิดทางให้ผู้มีรายได้น้อยคนอื่นได้เข้ามาอยู่อาศัย หรือ กรณีข้าราชการ ต้องกำหนดว่าเมื่อได้เลื่อนขั้นถึงระดับที่กำหนดก็ต้องออกไปหาบ้านที่อื่นอยู่ และห้ามขายเปลี่ยนมือ เพราะเกรงว่าจะซ้ำรอยกรณีแฟลตดินแดงที่ให้สิทธิเช่าระยะยาว เมื่อได้สิทธิแล้วก็ขายเปลี่ยนมือ

    ส่วนกรณี ที่มีการก่อสร้างบนพื้นที่ของเอกชน ให้ใช้วิธีสร้างแล้วขายขาดเลย แต่ทาง สศค. ต้องการให้เอกชน ตั้งทีมบริหารโครงการต่อไป เหมือนเป็นกิจการเพื่อสังคม เพื่อดูแลเรื่องการเก็บค่าเช่ารายเดือน ทำหน้าที่เหมือนนิติบุคคล เพื่อดูแลความเรียบร้อยของโครงการตลอดไป เพราะเกรงว่าผู้มีรายได้น้อยจะมีปัญหาเรื่องการผ่อนค่าเช่าที่ไม่ตรงเวลา แต่ทางเอกชนเสนอว่าต้องการทำโครงการแบบขายขาด แล้วให้ผู้ที่ซื้อ หรือเช่าบ้านไปจัดตั้งนิติบุคคลกันเอง

    สำหรับ แหล่งที่มาของเงิน ทั้งการปล่อยกู้ให้ผู้ประกอบการเพื่อก่อสร้างบ้าน หรือคอนโด และการปล่อยกู้ให้ผู้มีรายได้น้อยซื้อบ้านหรือคอนโด ทาง ธอส. เสนอรับดูแลเรื่องนี้ทั้งหมด โดยในส่วนของการปล่อยกู้ให้ผู้มีรายได้น้อย ทาง   ธอส. จะทำหน้าที่ในการคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติ มีอาชีพ มีรายได้ที่แน่นอน เพราะป้องกันการปล่อยกู้ไปแล้วเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอล ในอนาคต

   “รูปแบบก่อสร้างต้องให้ภาคเอกชนกำหนดว่าจะสร้างเชิงราบ หรือสูง เพราะที่ราชพัสดุเกือบทั้งหมดเป็นติดข้อกฎหมายเรื่องการสร้างอาคารสูงมากไม่ได้เพราะเป็นที่สีน้ำเงิน ยกตัวอย่างกรณีที่ดินตรงวัดไผ่ตัน ถ้าจะสร้างเป็นอาคารชุด หรือคอนโดก็คงจะสร้างได้ไม่กี่ชั้น หากตกลงกันได้ก็จะเริ่มตอกเสาเข็มภายในปี 59 เพื่อสร้างที่นี้เป็นโมเดลแห่งแรก ซึ่งกำหนดขนาดพื้นที่ใช้สอยกรณีสร้างเป็นห้องชุด หรือ คอนโด จะไม่เกิน 23 ตร.ม. แต่ถ้ากรณีที่เชียงใหม่ เชียงราย อาจสามารถสร้างเป็นบ้านเดี่ยว ซึ่งจะมีเนื้อที่ไม่เกิน 70 ตร.ม.นายจักรกฤศฎิ์ กล่าว

   นายจักรกฤศฎิ์ กล่าวถึงความคืบหน้าโอนที่ย่านมักกะสันใช้หนี้ของการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. คิดเป็นวงเงินทั้งสิ้น 61,000 ล้านบาท จากจำนวนหนี้ทั้งหมด 120,000 ล้านบาทนั้น เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้หารือกับ ร.ฟ.ท. เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับการโอนในระยะเวลา 2 ปี ซึ่งร.ฟ.ท.ต้องดำเนินการให้ได้ตามกำหนด โดยในวันที่ 10 ก.พ.นี้ จะนัดหารือรายละเอียดการส่งมอบอีกครั้ง

   สำหรับ เบื้องต้นพื้นที่ที่สามารถดำเนินการโอนได้เลยในปี 2559 คือ บริเวณสถานีมักกะสัน รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิ้งค์ สถานีอู่ซ่อม เนื่องจากสถานีอู่ซ่อมของ ร.ฟ.ท.มี 4 แห่งทั่วประเทศ ทำให้ภายใน 2 ปีที่ต้องส่งมอบ สามารถบริหารจัดการไปซ่อมที่อื่นได้ จากเดิมที่กำหนดส่งภายใน 5 ปี รวมถึงพิพิธภัณฑ์ พื้นที่สีเขียวที่อาจย้ายไปอยู่หัวลำโพง ซึ่งจะส่งผลให้มีความรวดเร็วมากขึ้น

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!